การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ทางสังคมและอารมณ์เพื่อเสริมสร้างทัศนคติและแรงจูงใจที่มีต่อการ สื่อสารภาษาอังกฤษธุรกิจของนักศึกษาที่ไม่ได้เรียนภาษาอังกฤษเป็นวิชาเอก

Main Article Content

Maricel Nacpil Paras

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้นำเสนอการเรียนรู้ทางสังคมและอารมณ์ในบรรยากาศทางวิชาการเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้แก่นักศึกษาที่ไม่ได้เรียนภาษาอังกฤษเป็นวิชาเอกให้มุ่งเน้นว่าจะเรียนรู้ได้อย่างไรและจะเรียนรู้เพื่ออะไร ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้กรณีศึกษาโดยมีกลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 20 คน ซึ่งมีภูมิหลัง ประสบการณ์ทำงาน และอายุที่แตกต่างกัน งานวิจัยนี้ต้องการศึกษาว่ากลยุทธ์สนับสนุนทางสังคมและอารมณ์สามารถเพิ่มพูนทัศนคติและแรงจูงใจของนักศึกษาทั้ง 20 คนในฐานะที่เป็นผู้เรียนที่พึ่งพากันและผู้เรียนที่อ่อนไหวได้หรือไม่ วัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ (1) เพื่อนำเสนอการสนับสนุนการเรียนรู้ทางสังคมและอารมณ์ให้แก่นักศึกษาในบรรยากาศทางวิชาการ และ (2) เพื่อพัฒนาทัศนคติเชิงบวกของนักศึกษาที่ไม่ได้เรียนภาษาอังกฤษเป็นวิชาเอกผู้ซึ่งเรียนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารธุรกิจเพื่อให้อาจารย์ปรับรูปแบบการสอนให้เหมาะสมต่อการเรียนในชั้นเรียนขนาดเล็ก ผู้วิจัยได้สำรวจปัญหาของผู้เรียนทั้งปัญหาการสื่อสารแบบปากเปล่าและปัญหาการสื่อสารแบบเขียนโดยใช้กลยุทธ์ในการสื่อสารประกอบด้วย การควบคุมภาษา การตรวจสอบและการยืนยัน และการสะท้อนและการปฏิบัติซ้ำ จากการวิจัย ผู้วิจัยได้ค้นพบว่านักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนในชั้นเรียนขนาดเล็กและมีอารมณ์เชิงบวกซึ่งเพิ่มพูนกระบวนการเรียนรู้ทางภาษาของพวกเขา และการนำการเรียนรู้ทางสังคมและอารมณ์มาดำเนินการในชั้นเรียนเป็นทักษะการเรียนรู้และการใช้ชีวิตที่มีประสิทธิผลในศตวรรษที่ 21

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

Maricel Nacpil Paras, Southeast Bangkok College

Maricel Nacpil Paras is a full time lecturer in the Department of Business English for the Faculty of Liberal Arts with a specialization in English for Academic/Specific Purposes and Teaching Methodologies at Southeast Bangkok College. She is interested in innovation in English language teaching and learning. Most of her academic research deal with developing strategies for overcoming language barriers, effective teaching methodologies in small versus large classes, adapting problem-based learning method and classroom interactional approach, integration of technologies and applications on language learning, gender analysis, enhancing active, social and emotional learning to develop positive attitudes and motivation towards Business English. More specifically, her work examines the development of communication skills for mixed-ability groups, same-ability groups and using group leaders/monitors students’ behavior affecting peer interaction in a dynamic classroom environment.

References

Durlak, J., Weissberg, R., Dymnicki, A., & Taylor, R. (2011). The impact of enhancing students’ social and emotional learning : A meta-analysis of school-based universal interventions. Chicago, USA: Society for Research in Child Development, Inc.

Nunan, D. (1990). Collaborative language learning and teaching. New York, USA: University of Cambridge.

Richards, J. (1999). Teacher learning in second language teacher. Cambridge: Cambridge University Press.

Samovar, L., & Porter, R. (2001). Communication between cultures (4th ed.). Belmount, CA: Thomson Higher Education.

Sapir, R. (2012). Introduction to sociology (2nd ed.). California, USA: University of California.

Schaefer, R. (2013). Sociology: A brief introduction (10th ed.). New York, USA: The McGraw-Hill Companies, Inc.

Swoyer, C. (2003). The linguistic relativity hypothesis. In E. N. Zalta (Ed.), The Stanford encyclopedia of philosophy. Retrieved May 5, 2018, from http://plato.stanford.edu/archives/win2003/entries/relativism/supplement2.html

Weisberg, R. (2016). Why social and emotional learning is essential for students. Edutopia. George Lucas Educational Foundation.