ความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากร สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

Main Article Content

สุธีรา อัมพาผล
ปฏิพัทธ์ จันทร์รุ่งเรือง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากร สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเปรียบเทียบปัจจัยพื้นฐานที่มีต่อความคิดเห็น ความต้องการในการพัฒนาตนเองของบุคลากร สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่มีเพศและระดับการทำงานที่แตกต่างกัน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือบุคลากรในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,002 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ One-Way ANOVA


ผลการวิจัยพบว่า


1. บุคลากรสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความต้องการในการพัฒนาตนเองอยู่ในระดับมาก ทั้ง 4 ด้าน โดยมีความต้องการพัฒนาตนเองมากที่สุดในด้านทักษะพื้นฐาน (gif.latex?\bar{X}= 4.23, sd. = 0.87), ด้านสมรรถนะตามสายงาน (gif.latex?\bar{X}= 4.21, sd. = 0.86), ด้านสมรรถนะหลัก (gif.latex?\bar{X}= 4.08, sd. = 1.01) และด้านความรู้ (gif.latex?\bar{X}= 4.07, sd. =1.02) ตามลำดับ บุคลากรมีความคาดหวังในการต้องการจัดฝึกอบรมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 4.16, sd. = 0.94)


2. ผลการเปรียบเทียบปัจจัยพื้นฐานที่มีต่อระดับความต้องการในการพัฒนาตนเองของบุคลากร (เพศ,ระดับการทำงาน) พบว่า เพศชายและเพศหญิงมีความต้องการในการพัฒนาตนเองไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 แต่การพัฒนาตนเองในด้านทักษะพื้นฐานเพศชายและเพศหญิงมีความต้องการที่แตกต่างกัน และพบว่าแต่ละระดับการทำงานบุคลากรมีความต้องการในการพัฒนาตนเองแตกต่างกันอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 แต่ในการพัฒนาตนเองในด้านความรู้ แต่ละระดับการทำงานมีความต้องการพัฒนาตนเองไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุฑามาศ พลับสวาท. (2554). ความต้องการการพัฒนาตนเองของผู้บริหารสถานศึกษาด้วยรูปแบบการประเมินสมรรถนะการพัฒนาตนเองของคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารการศึกษาพิเศษ. วารสารสารสนเทศ, 12 (2), 36-47.

ธัญพร มงคลการ. (2546). การศึกษาความต้องการพัฒนาตนเองเพื่อการปฏิรูปราชการของข้าราชการสำนักนโยบายและแผนการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

พิมพ์ใจ ปรางสุรางค์ และคณะ. (2554). ความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรตามพันธกิจ สังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาพิษณุโลก. รายงานการประชุมวิชาการแห่งชาติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 9. วันที่ 6-7 ธันวาคม 2555 ณ อาคารศูนย์เรียนรวม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.

วนิดา เลิศพิพัฒนานนท์ และคณะ. (2555). ความต้องการการพัฒนาตนเองของพนักงานในสถานประกอบการประเภทโรงแรมรีสอร์ทและโฮมสเตย์ ในอำเภออัมพวาและพื้นที่ใกล้เคียง จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารการบริการและการท่องเที่ยว, 7 (2), 27-38.

วินัย เพชรช่วย. (2553). การพัฒนาตน (Self-Development). สืบค้น 9 มีนาคม 2560, จาก https://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Self_Development.html.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.). (2553) คู่มือการกำหนดสมรรถนะในราชการพลเรือน. กรุงเทพฯ: บริษัท ประชุมช่าง.

อัญญา ศรีสมพร. (2549). การใช้ภาวะผู้นำแนวพุทธของหัวหน้าภาควิชาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร. (การวิจัยพื้นฐาน สาขาปรัชญา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม).

อาคม บุญเกิด. (2556). ความต้องการพัฒนาตนเองของข้าราชการตำรวจ กรณีศึกษากองบังคับการตำรวจนครบาล 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์).