การศึกษาระดับความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โดยใช้หลักการตรรกศาสตร์คลุมเครือ

Main Article Content

วรรณศิรินทร์ ภูฉายา
ณัฐกรานต์ สุระภา
ชนิษฐา คลังใหญ่
ดร. นิตยา จันตะคุณ
ดร. อรุณี จันทร์ศิลา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ระดับความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โดยใช้หลักการตรรกศาสตร์คลุมเครือ 2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 119 คน ซึ่งอยู่ในจังหวัดมหาสารคาม ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 2 ชนิด คือ แบบทดสอบ และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้หลักการตรรกศาสตร์คลุมเครือ  ค่าสหสัมพันธ์  และไคสแควร์ ในการวิเคราะห์ข้อมูล


ผลการวิจัย ระดับความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์นักเรียนส่วนใหญ่ พบว่า ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับต่ำ คิดเป็นร้อยละ 47.22 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 35.60 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในระดับต่ำ คิดเป็นร้อยละ 36.84 และพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ คือ เกรดวิชาคณิตศาสตร์, บรรยากาศในชั้นเรียน, เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์, พฤติกรรมการสอนของครูคณิตศาสตร์ ส่วนปัจจัยด้านเพศไม่มีความสัมพันธ์ต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นวลละออ สุภาผล. (2527). ทฤษฎีบุคลิกภาพ กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

พิมพ์พร ฟองหล่ำ. (2554). สภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนรายวิชาคณิตศาสตร์ทั่วไป.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีปทุม).

มัณฑนา พรมรักษ์. (2556). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการแก้ปัญหาที่เน้นกระบวนการกับทางปัญญา ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย).

ยุพิน พิพิธกุล. (2530). การสอนคณิตศาสตร์. ภาควิชามัธยมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รุจิรัตน์ พรหมรักษ์. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐมเขต 1. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

วิจิตร อาวะกุล. (2537). เทคนิคมนุษยสัมพันธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2558). ค่าสถิติพื้นฐานของคะแนนการสอบ O-NET ม.3 ปีการศึกษา 2557 จำแนกตามวิชา (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) [online]. สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2558, แหล่งที่มา: https://www.niets.or.th/uploadfiles/uploadfile/9/bdaea64f96d90aeca

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

สาคร พิมพ์ทา. (2552). การพัฒนาโมเดลปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต การวิจัยการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

สิริพร ทิพย์คง. (2545). การแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

Aunola K. (2000). Parenting styles and adolescents' achievement strategies. Journal of Adolescence.

Campbell FA. (1994). Effect of early intervention on intellectual and academic achievement: a follow-up study of children from low-income families. Child Development.

Castle, W. E. (1913). Simplification of Mendelian formulae. The American Naturalist.

Polya, G. (1957). How to solve it. Princeton, NJ: Princeton University.

Rosenblatt, Louise. (1955). Individualized Instruction unit method of teaching administrator relationships. Madison: Wisconsin Research and Development Center for Cognitive University of Wisconsin.

Voskoglou, Michael Gr. (2011). Measuring Students Modeling Capacities: A Fuzzy Approach. Iranian Journal of Fuzzy Systems, 8(3), 23-33.

Zadeh, L.A. (1965). Fuzzy sets. Information and Control, 8(3), June.