ผลของสมุนไพรต่อการเกิดลิปิดเปอร์ออกซิเดชัน

Main Article Content

อโนดาษ์ รัชเวทย์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการหาความสามารถรวมในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในสมุนไพรตัวอย่างในท้องถิ่น 9 ชนิด คือ ยอ บัวบก ขี้เหล็ก อินทนิลนํ้า ครอบฟันสี ชุมเห็ดเทศ ผักเซียงดา หญ้าหนวดแมว ชะพลู โดยเปรียบเทียบกับกราฟมาตรฐานแกลลิกแอซิด โดยใช้สเปกโทรโฟโตเมทรี โดยนำสารตัวอย่างไปวัดค่าการดูดกลืนแสงที่ 704 นาโนเมตร หลังจากนั้นได้ทำการเลือกสมุนไพร 4 อันดับแรกที่ให้ค่าความสามารถรวมในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด คือชุมเห็ดเทศ หญ้าหนวดแมว อินทนิลน้ำ ชะพลู โดยมีค่าความสามารถรวมในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระเท่ากับ 0.249 0.219 0.146 0.144 mg/mL ตามลำดับ เมื่อเทียบกับกราฟ มาตรฐานกรดแกลลิกแอซิด มาทดสอบการป้องกันการเกิดลิปิดเปอร์ออกซิเดชัน โดยการนำไปวัดค่าการดูดกลืนแสงที่ 532 นาโนเมตร โดยความเข้มข้นที่ใช้คือ 0.3125 0.625 1.25 2.50 5.0 10.00 mg/mL ให้ผลดังนี้ เมื่อมีการเติมสารสกัดสมุนไพรคือชุมเห็ดเทศ หญ้าหนวดแมว อินทนิลนํ้า ชะพลู มีรูปแบบการออกฤทธิ์ในการป้องกันการเกิดลิพิดเปอร์ออกซิเดชันไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) สังเกตได้จากระดับ MDA ลดลงเรื่อยๆ เมื่อสารสกัดสมุนไพรเพิ่มขึ้น แต่ในสมุนไพรชุมเห็ดเทศและหญ้าหนวดแมวที่ความเข้มข้น 0.3125 mg/mL ไม่สามารถลดระดับ MDA ได้เมื่อเทียบกับ positive control

 

ABSTRACT

The Total antioxidation activity of 9 local medicinal plants, Indian mulberry (Morinda citrifolia L.), Tiger's herb (Centella asiatica L.), Cassia Tree[Cass/a siamea (Lamk.)), Queen's Crape Myrt (Lagerstroemia speciosa (L.) Pers.), ะ Ringworm Bush (Cassia alata ( L.) Roxb.),_Perrpioca of the woods (Gumnema inodorum (Lour.) Decne.), Cat's Whisker (Orthosiphon aristatus (Blume) Miq.) and Wild Betel Leafbush (Piper samentosum Roxb.), were examined in this research. The extract solutions were compared with Gallic acid standard curve by using spectrophotometer to examine absorbance at wavelength 704 nm. The top 4 medicinal plants which gave a high value of the total antioxidation activity compared to the Gallic acid standard curve were chosen. Those were Ringworm Bush, Cat's Whisker, Queen's Crape Myrt and Wild Betel Leafbush which had 0.249, 0.219, 0.146 and 0.144 mg/mL respectively. All of them were chosen for testing in the action of Lipid peroxidation inhibition. The concentration 0.3125, 0.625, 1.25, 2.50, 5.0 and 10.00 mg/mL were used by absorbance measurement at 532 nm. The result shown that the mechanism of Lipid peroxidation inhibition of 4 medicinal plants were not significant different (p<0.05) that could be observed by the gradually decreasing in MDA level when the concentration of extract medicinal plants increased. But in the concentration 0.3125 mg/mL of Ringworm Bush and Cat's Whisker medicinal plants couldn’t decreased in level of MDA comparing to the positive control.

Article Details

Section
บทความวิจัย