การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองต่อการบริหารงานวิชาการของศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด จังหวัดพัทลุง

Main Article Content

อณิษฐา เอี่ยมสุวรรณ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองต่อการบริหารงานวิชาการของศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด  จังหวัดพัทลุง และเพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองต่อการบริหารงานวิชาการของศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด จังหวัดพัทลุง จำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้ปกครองนักเรียนศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด  จังหวัดพัทลุง  ประจำปีการศึกษา 2557 จำนวน 10 ศูนย์ มีผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 254 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ F-test (One-way ANOVA)


            ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองต่อการบริหารงานวิชาการของศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์  ในวัด  จังหวัดพัทลุง ภาพรวมและรายด้านมีความคิดเห็นในระดับมาก  เรียงลำดับได้ดังนี้  ด้านการวัดผลและประเมินผลด้านสื่อและนวัตกรรมการจัดประสบการณ์เรียนรู้ ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนด้านหลักสูตรและด้านการจัดประสบการณ์/ การจัดกิจกรรมประจำวัน และเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองต่อการบริหารงานวิชาการของศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด  จังหวัดพัทลุง จำแนกตามอายุ  ระดับการศึกษา  และรายได้ต่อเดือน  พบว่า  โดยภาพรวมและรายด้าน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน


ABSTRACT


            This  research aims to study the Parent’s Participation in the academic administration of Early Childhood Center in Phatthalung  and Compare the parent’s participation in the academic administration of Early Childhood  Center in  Phatthalung Classified by age, education Level, and monthly income. The sample were 254 Parents from 10 Early Childhood Center’s student, the Academic year 2014. The  research instrument was a questionnaire. The statistics used for this study were of the frequency, percentage, average, standard deviation and F-test (One-way ANOVA)


            The  research  results showed that Parent’s Participation in the academic administration of Early Childhood Center in Phatthalung was at a  high level. The highest average was measurement followed by media and teaching innovation, learning development activities, curriculum and Experience, and daily activities, respectively. The comparison results of Parent’s participation classified by age, education Level and monthly income individual that there were on statistically significant differences.

Article Details

Section
บทความวิจัย