การบูรณาการบัญชีครัวเรือนเพื่อเสริมสร้างภูมิปัญญาทางบัญชี ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาชุมชนบ้านกลาง ตำบลขะยูง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

สุภัทรษร ทวีจันทร์

Abstract

การบูรณาการบัญชีครัวเรือนเพื่อเสริมสร้างภูมิปัญญาทางบัญชีตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาชุมชนบ้านกลางตำบลขะยูง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

INTEGRAL HOUSEHOLD ACCOUNTING FOR ACCOUNTING WISDOM ENCOURAGEMENTACCORDING TO PHILOSOPHY OF SUFFICIENCY ECONOMY : A CASE STUDY OFBANKLANG COMMUNITY, KHAYOONG SUBDISTRICT UTUMPORNPISAI DISTRICT, SISAKET PROVINCE

 

 

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง “การบูรณาการบัญชีครัวเรือนเพื่อเสริมสร้างภูมิปัญญาทางบัญชีตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาชุมชนบ้านกลาง ตำบลขะยูง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ” มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดทำบัญชีครัวเรือนในชีวิตประจำวันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2) เพื่อศึกษาทัศนคติ ปัญหา อุปสรรคของการประยุกต์ใช้ การบัญชีครัวเรือน และ (3) เพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างภูมิปัญญาทางบัญชีสู่ชุมชนบ้านกลางตำบลขะยูง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนชุมชนบ้านกลาง จำนวน 300 ราย ซึ่งได้รับข้อมูลที่สมบูรณ์ทั้งสิ้น 50 รายจากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถาม และเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม

ผลจากการศึกษาเชิงปริมาณ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุระหว่าง 41–50 ปี ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาในระดับต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบอาชีพเกษตรกร สมาชิกในครอบครัวประมาณ 4-6 คน และมีรายได้ต่อเดือน/ครอบครัวที่ต่ำกว่า 5,000 บาท (1) ด้านแนวคิดการบัญชีครัวเรือน โดยภาพรวมชุมชนชาวบ้านกลางมีความรู้เกณฑ์รายรับ รายจ่ายเกณฑ์คำนวณต้นทุน และเกณฑ์การออม อยู่ในระดับมากและสามารถยกตัวอย่างประกอบได้อย่างชัดเจน (2) ด้านแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวมชุมชนชาวบ้านกลางมีความรู้ด้านหลักการพอประมาณ ด้านหลักการมีเหตุผล ด้านแนวคิดภูมิคุ้นกันและด้านแนวคิดความรู้คู่คุณธรรมอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งมีการใช้การประยุกต์แนวคิดเชิงธรรมะมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ดี (3) การเสริมสร้างภูมิปัญญาทางการบัญชี โดยภาพรวมชุมชนชาวบ้านกลางมีการรับรู้และส่งเสริมองค์ความรู้ มีทักษะปฏิบัติในการจดบันทึกบัญชีครัวเรือน มีระบบการคิดตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันในระดับปานกลาง

ผลจากการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า (1) สภาพปัจจุบันของการจัดทำบัญชีครัวเรือนเป็นไปตามความสมัครใจ เนื่องจากไม่ได้มีหน่วยงานใดบังคับให้ทำ มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น สำนักงานพัฒนาชุมชนและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ได้เข้ามาให้ความรู้ด้านการจัดทำบัญชีครัวเรือนแต่ไม่ได้มีการติดตามผลอย่างต่อเนื่องและไม่ได้มีมาตรการใดๆ มาบังคับให้จัดทำ โดยพบว่า มีเพียงแค่ 3 ครัวเรือนเท่านั้นที่ปฏิบัติจริงอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุผลว่าต้องการทราบว่าในแต่ละวันครอบครัวมีการจ่ายอะไรไปบ้าง และมีเงินเหลือเท่าไหร่ในแต่ละวันเพื่อวางแผนการใช้จ่ายในอนาคต (2) ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำบัญชีครัวเรือน เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำให้ไม่มีเวลาในการที่จะบันทึกรายการที่เป็นปัจจุบันในแต่ละวัน และไม่สามารถยอมรับความเป็นจริงเกี่ยวกับการจัดทำการรับ-จ่ายได้ อีกทั้ง ขาดแรงกระตุ้นหรือแรงจูงใจจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำบัญชีขาดตัวแทนในการถ่ายทอดและให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง (3) ข้อเสนอแนะและแนวทางการเสริมสร้างภูมิปัญญาทางบัญชีสู่การบริหารจัดการที่ดี คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล สถาบันการศึกษา ควรเข้าไปจัดทำแผนการอบรมและสร้างอาสาสมัครในชุมชนเพื่อให้คำแนะนำ ติดตาม และคอยดูแลควบคุม และการส่งเสริมให้ประชาชนเห็นถึงความสำคัญของการทำบัญชีและหน่วยงานรัฐบาลที่มีอำนาจในการดูแลและควบคุม เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการปล่อยสินเชื่อหรือการพิจารณาอนุมัติให้สินเชื่อควรที่จะมีมาตรการเกี่ยวกับการส่งเสริมให้ประชาชนทำบัญชีครัวเรือน เช่น อาจจะมีการพิจารณาให้สินเชื่อโดยแต่ละครอบครัวจะต้องมีผลจากการจัดทำบัญชีครัวเรือนอย่างต่อเนื่องเป็นลายลักษณ์อักษรมาแสดงก่อนที่จะมีการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ

ABSTRACT

The study of integral household accounting for accounting wisdom encouragement according tophilosophy of sufficiency economy: a case study of Banklang community, Khayoong Sub-district, UtumpornpisaiDistrict, Sisaket province aimed to; 1) study the current state of household accounting in daily life according tophilosophy of sufficiency economy, 2) study attitude, problem and drawback of household account application,and 3) study the way to encourage household accounting to Banklang community. The population and samplegroup were 300 people from Banklang community using simple random sampling. The complete data wereshown from 50 of the sample group. The researcher had collected data by using questionnaire and in-depthinterview.The finding from questionnaire analyzing indicated that majority of the sample group were female, agebetween 41-50, graduated under high school level, worked in the field of agriculture, 4-6 people in family, andaverage income lower 5,000 baht.

The finding can be summarized as follow: 1) for household accountingconcept, in overall, majority of the people who answer the questionnaire had the knowledge of income,expense, the basis of cost calculation and the basis of saving in much level and could illustrated some insightexamples, 2) for philosophy of sufficiency economy concept, people had the knowledge of moderation,reasonableness, self-immunity and virtue knowledge in medium level and could applied morality to daily live, 3)for accounting wisdom encouragement, in overall, people in the community were recognized, promoted theconcept of accounting and had practical skill in recording account. The study shown that they could apply theaccounting concept in daily live in medium level.

The qualitative study found that:

1) in current state, the household accounting are applied voluntarily because the community has nocontrol from private or official organization. Although related official organizations such as The Office ofProvincial Community Development and Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives had providedknowledge of household accounting there were only three families had practiced recording the account becausethey wanted to know their expense and relate in order to operate their expense plans.

2) for problems and drawbacks of household accounting, it is shown that majority of the community areagriculturist then they had no time to record the account. Other reasons are lacking of motivation from relatedorganizations and no trainers who continually be both an instructor and counselor.

3) the suggestions in encouraging the effective management of accounting wisdom are mentioned as:relate organizations have to conduct training plan and trained volunteers who willing to guide, monitor, manageand promote the significant of household accounting recognition under the accountability of governmentorganizations. For example, Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives who responsible for Loan BankingService have to set proper approaches to encourage agriculturist in recording household account as showinghousehold accounting before asking for loan banking service.


Article Details

Section
บทความวิจัย