การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ โรงเรียนแวงพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23

Main Article Content

นันทกาญจน์ จันสุตะ

Abstract

      การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 2) หาแนวทางการพัฒนาศักยภาพครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ และ 3) ติดตามผลการพัฒนาศักยภาพครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ โรงเรียนแวงพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 โดยใกระบวนการวิจัย เชิงปฏิบัติ (Action Research) ดำเนินการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผน (Planning) 2) การปฏิบัติการ (Action) 3) การสังเกตการณ์ (Observation) และ 4) การสะท้อนกลับ (Reflection) กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 7 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน แบบสังเกต และแบบนิเทศ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละความก้าวหน้า การตรวจสอบข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จัดหมวดหมู่ของเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์

            ผลการวิจัยพบว่า

                 1. สภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนแวงพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ปรากฏดังนี้

                      1.1 สภาพ พบว่า ครูไม่ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนให้สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษาที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูบางส่วนขาดการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้หรือจัดทำแผน แต่ไม่ได้ใช้แผนในการจัดการเรียนรู้ ยังคงยึดการสอนในรูปแบบเดิมๆ ตามที่ตนเองถนัด ไม่เปลี่ยนพฤติกรรมการสอนของตน ครูไม่มีความรู้ความเข้าใจ ขาดทักษะในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ไม่มีการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ และครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ยังไม่เคยได้รับการอบรมการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการมาก่อน 

                1.2 ปัญหา พบว่า ครูไม่มีความรู้ความเข้าใจและขาดทักษะในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ไม่มีการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการและการนำแผนไปจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการยังถือเป็นเรื่องที่ยากสำหรับครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ยังไม่เคยได้รับการอบรมการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการมาก่อน จึงทำให้การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการการ โรงเรียนแวงพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

                 2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ โรงเรียนแวงพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ซึ่งประกอบด้วยในวงรอบที่ 1 ใช้แนวทางการพัฒนา 2 แนวทาง คือ การอบรมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศภายใน ส่วนในวงรอบที่ 2 ใช้การนิเทศภายในแบบให้คำชี้แนะ (Coaching)

                 3. การติดตามผลการพัฒนาศักยภาพครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้ แบบบูรณาการ โรงเรียนแวงพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 พบว่า

                      3.1 ด้านความรู้ ความเข้าใจ พบว่า ก่อนการพัฒนาผู้ร่วมวิจัยทั้งหมด 6 คน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 71.67 แต่หลังจากได้รับการพัฒนาผู้ร่วมวิจัยทั้งหมด 6 คน มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเพิ่มมากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 95.00 ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 23.33 และมีร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 82.46

                      3.2 ด้านการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ พบว่า หลังจากการอบรมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศ ติดตามผลการจัดการเรียนรู้ ในวงรอบที่ 1 โดยผลการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก
(\bar{x} = 4.30) จึงนำไปพัฒนาต่อในวงรอบที่ 2 พบว่า ผู้ร่วมวิจัยมีความสามารถในการเขียนแผน  การจัดการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น โดยผลการประเมินแผนการเรียนรู้ในภาพรวมทุกด้าน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57 อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยในวงรอบที่ 2 เพิ่มจากวงรอบที่ 1 (\bar{x}  = 0.27) โดยมีค่าร้อยละความก้าวหน้า เท่ากับ 38.58

                 3.3 ด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ พบว่า จากการสังเกตครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (\bar{x} = 4.54)  และจากการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนในกิจกรรมการนิเทศภายใน โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (\bar{x} = 4.41) 

Article Details

Section
บทความวิจัย