ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มี ต่อความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ เจตคติต่อวิชาภาษาไทยและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 4

Main Article Content

วารุณี ศิริมาศ

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ 2) เปรียบเทียบความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ 3) ศึกษาเจตคติต่อวิชาภาษาไทยหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่องการอ่านจับใจความระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ
5) เปรียบเทียบความสามารถทางการคิดวิเคราะห์เจตคติต่อวิชาภาษาไทยและ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ ที่มีความสามารถทางการเรียนสูง ปานกลาง และต่ำ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 4 “รัฐประชานุเคราะห์” สำนักการศึกษาเทศบาลนครสกลนคร ที่เรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 20 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ จำนวน 14 ชุด 2) แบบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ เรื่องการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทย 3) แบบวัดเจตคติต่อวิชาภาษาไทย 4) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาไทย เรื่องการอ่านจับใจความ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณทางเดียว และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว 

            ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

                 1. ดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.55 แสดงว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น 0.55 หรือคิดเป็นร้อยละ 55

                 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                 3. เจตคติต่อวิชาภาษาไทยหลังเรียน อยู่ในระดับมาก

                 4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ความสามารถทางการเรียนแตกต่างกัน มีความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนเจตคติต่อวิชาภาษาไทยหลังเรียนไม่แตกต่างกัน 

Article Details

Section
บทความวิจัย