ยุทธศาสตร์การพัฒนาสมรรถนะด้านการประเมินโครงการ ของบุคลากร แผนกทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แขวงบลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว

Main Article Content

ลมเย็น ศรีสุวงค์

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการพัฒนาสมรรถนะด้านการประเมินโครงการของบุคลากร แผนกทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แขวงบลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) สร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาสมรรถนะด้านการประเมินโครงการของบุคลากร แผนกทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ 3) ศึกษาผลการใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนาสมรรถนะด้านการประเมินโครงการของบุคลากร แผนกทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กลุ่มตัวอย่างในขั้นศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาสมรรถนะด้านการประเมินโครงการ ได้แก่ บุคลากรแผนกทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 68 คน  ส่วนกลุ่มตัวอย่างในขั้นทดลองใช้ยุทธศาสตร์ จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาสมรรถนะด้านการประเมินโครงการ 2) โครงการฝึกอบรมเสริมสร้างสมรรถนะด้านการประเมินโครงการ 3) เอกสารประกอบการฝึกอบรมเรื่อง ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการประเมินโครงการ 4) แบบทดสอบความรู้ในการประเมินโครงการ 5) แบบวัดเจตคติต่อการประเมินโครงการ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเข้าร่วมกิจกรรมของยุทธศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบสองกลุ่มสัมพันธ์กัน (Dependent Samples t-test)

            ผลการวิจัย พบว่า

                 1. สภาพปัจจุบัน ปัญหาด้านการประเมินโครงการของบุคลากร แผนกทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในรอบ 3 ปีผ่านมา มีบุคลากรร้อยละ 66.18 ไม่เคยเข้ารับการอบรมในเรื่องใดเลย ร้อยละ 80.88 ไม่เคยรับผิดชอบโครงการใด ๆ ร้อยละ 76.47 ไม่เคยทำการประเมินโครงการ และจากการสำรวจเกี่ยวกับปัญหาในการประเมินโครงการ พบว่า ร้อยละ 92.65 ตอบว่า มีปัญหาคือ มีความรู้เกี่ยวกับการประเมินโครงการค่อนข้างน้อย ขาดทักษะในการประเมินโครงการ หน่วยงานไม่เข้มงวดเกี่ยวกับการประเมินโครงการ เขียนรายงานผลการประเมินโครงการไม่เป็น หรือเขียนได้แต่ไม่ดี และ ไม่ค่อยเห็นประโยชน์ของการประเมินโครงการ

             2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาสมรรถนะด้านการประเมินโครงการของบุคลากร แผนกทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แขวงบลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้แก่ การจัดอบรมเสริมสร้างสมรรถนะด้านการประเมินโครงการ

            3. หลังการทดลองใช้ยุทธศาสตร์ บุคลกรมีความรู้ และเจตคติต่อการประเมินโครงการ สูงกว่าก่อนใช้ยุทธศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผ่านเกณฑ์ที่กำหนด และบุคลากร มีความสามารถในการใช้โปรแกรม SPSS สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลในการประเมินโครงการอยู่ในระดับดี และมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ อยู่ในระดับมาก

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

ลมเย็น ศรีสุวงค์

สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร