ผลการใช้ชุดการสอนร่วมกับเทคนิคการเรียนแบบร่วมมือแบบกลุ่มช่วยรายบุคคล (TAI) ที่มีต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อวิชาสังคมศึกษาของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนร่มเกล้า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 23

Main Article Content

ณรงค์ โคตรศรี

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ  1) หาประสิทธิภาพชุดการสอนร่วมกับเทคนิคการเรียนแบบร่วมมือแบบกลุ่มช่วยรายบุคคล (TAI) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  80/80  2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้เรียนรู้ด้วยชุดการสอนร่วมกับเทคนิคการเรียนแบบร่วมมือแบบกลุ่มช่วยรายบุคคล (TAI) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน  3) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  ที่ได้เรียนรู้ด้วยชุดการสอนร่วมกับเทคนิคการเรียนแบบร่วมมือแบบกลุ่มช่วยรายบุคคล (TAI) ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน  4) เปรียบเทียบเจตคติต่อวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  หลังได้เรียนรู้ด้วยใช้ชุดการสอนร่วมกับเทคนิคการเรียนแบบร่วมมือแบบกลุ่มช่วยรายบุคคล (TAI)  กับเกณฑ์ที่กำหนด  5) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  ที่มีความสามารถทางการเรียนหลังได้เรียนรู้ด้วยชุดการสอนร่วมกับเทคนิคการเรียนแบบร่วมมือแบบกลุ่มช่วยรายบุคคล (TAI)กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา  2556  โรงเรียนร่มเกล้า  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม ศึกษา เขต 23  ที่เรียนวิชา ส 31101  สังคมศึกษา จำนวน  40 คน  ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม  (Cluster Random Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ประกอบด้วย 1) ชุดการสอนร่วมกับเทคนิคการเรียนแบบร่วมมือแบบกลุ่มช่วยรายบุคคล (TAI)  2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  3) แบบทดสอบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์  4) แบบวัดเจตคติ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  หาประสิทธิภาพของชุดการสอนร่วมกับเทคนิคการเรียนแบบร่วมมือแบบกลุ่มช่วยรายบุคคล(TAI)  E1/E2  สถิติทดสอบค่าที t – test (Dependent Samples)  t-test (One Sample) การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณร่วมทางเดียว (One – way MANCOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมทางเดียว (One-way ANCOVA)

            ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้  1) ประสิทธิภาพของชุดการสอนร่วมกับเทคนิคการเรียนแบบร่วมมือแบบกลุ่มช่วยรายบุคคล (TAI)  มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  80.19/81.19 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  ที่ได้เรียนรู้ด้วยชุดการสอนร่วมกับเทคนิคการเรียนแบบร่วมมือแบบกลุ่มช่วยรายบุคคล (TAI)  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้เรียนรู้ด้วยชุดการสอนร่วมกับเทคนิคการเรียนแบบร่วมมือแบบกลุ่มช่วยรายบุคคล (TAI) มีความสามารถทางการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  4) เจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังได้เรียนรู้ด้วยชุดการสอนร่วมกับเทคนิคการเรียนแบบร่วมมือแบบกลุ่มช่วยรายบุคคล (TAI)   อยู่ในระดับมากขึ้นไป   อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  5) การแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีการคิดวิเคราะห์ต่างกัน หลังได้เรียนรู้ด้วยชุดการสอนร่วมกับเทคนิคการเรียนแบบร่วมมือแบบกลุ่มช่วยรายบุคคล (TAI)  มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

ABSTRACT

            This study aimed 1) to Seek  efficiency  the learning package in association with Team Assisted Individualization (TAI) to obtain the efficiency in the criterion set of 80/80, 2) to compare the effects of the learning achievements of Mathayom Suksa 4 students  who were taught by the learning package in cooperation with TAI before and after learning, 3) to compare Mathayom Suksa 4 students’ analytical thinking abilities taught by the learning package in participation with TAI both before and after being taught, 4) to compare attitudes toward the subject of social studies of Mathayom Suksa 4 students taught by the learning package in collaboration with TAI along with the set criterion, and 5) to compare learning achievements and analytical thinking abilities of Mathayom Suksa 4 students who obtained learning achievements after being taught by the learning package in  coordination with TAI. The sampling group consisted of 40 students in Mathayom Suksa 4/3 who enrolled in the subject of S 31101 in the first semester of academic year 2013 through cluster random sampling at Romklao School under the Office of the Secondary Educational Service Area 23. Tools used included 1) a learning package in conjunction with TAI, 2) a test of learning achievements, 3) a test of analytical thinking abilities, and 4) a test of attitudes. Statistics employed were composed of percentage, mean, standard deviation, t-test (One Sample), One-Way MANCOVA and One-Way ANCOVA.

            The findings of this study were as follows : 1) The efficiency of the learning package in collaboration with TAI gained the criterion of 80.19/81.19 over limited standard. 2) The students in Mathayom Suksa 4  who were taught by the learning package in cooperation with TAI gained learning achievements after being taught higher than before learning at the .05 level of significance.  3) The Mathayom Suksa 4 students taught by the learning package in association with TAI  gained analytical thinking abilities  after learning higher than before being taught. 4) There was a difference in the attitudes of the students in Mathayom Suksa 4 who were taught by the learning package in association with TAI at the high level up at the .05 level of significance.  5) The problem solving and learning achievements of the students in Mathayom Suksa 4 toward analytical thinking abilities differed significantly after being taught by the learning package in participation with TAI at the .05 level.

Article Details

Section
บทความวิจัย