การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad เป็นสื่อร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT ที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

กรนรินทร์ อ่อนสุระทุม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย  1) เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรม  The Geometer’s Sketchpad เป็นสื่อ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT ที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิผลตามเกณฑ์มาตรฐานของดัชนีประสิทธิผล (E.I.) 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad เป็นสื่อ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad เป็นสื่อ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT 4) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad เป็นสื่อ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ
4 MAT 5) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของนักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนต่างกัน เมื่อได้รับการสอนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดย ใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad เป็นสื่อ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT เมื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรมThe Geometer’s Sketchpad เป็นสื่อ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ4 MAT กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโพนงามศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม ซึ่งมีการจัดกลุ่มคละกันตามความสามารถทางการเรียน 3 กลุ่ม คือ สูง ปานกลาง และต่ำ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

ประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad เป็นสื่อ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT 2) แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 3) แบบวัดความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล สถิติทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณแบบทางเดียว และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

            ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

                 1. ค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรม The Geometer’s  Sketchpad เป็นสื่อ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT ที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เท่ากับ 0.62 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้

                 2. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad เป็นสื่อ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                 3. ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad เป็นสื่อ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                 4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad เป็นสื่อร่วม กับการจัดการเรียนรู้แบบ4MATหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                 5. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีความสามารถทางการเรียนต่างกันเมื่อได้รับการเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad เป็นสื่อ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ4MATมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบทางเดียวแล้วพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิเคราะห์ดังกล่าวมีดังนี้

                      5.1 นักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนสูงมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงกว่านักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนปานกลางและต่ำ และนักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนปานกลางมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงกว่านักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                      5.2 นักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนสูงมีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์สูงกว่านักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนปานกลางและต่ำ และนักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนปานกลางมีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์สูงกว่านักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                      5.3 นักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนสูงมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนปานกลางและต่ำ และนักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนปานกลางมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

Section
บทความวิจัย