ผลของการใช้คู่มือการเรียนรู้โดยประยุกต์การสอนแบบสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ บนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อความรับผิดชอบ ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอากาศอำนวยศึกษา

Main Article Content

ปิยนุช พิมพ์รส

Abstract

ผลของการใช้คู่มือการเรียนรู้โดยประยุกต์การสอนแบบสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ บนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อความรับผิดชอบ ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอากาศอำนวยศึกษา
EFFECTS OF USING LEARNING HANDBOOK BY APPLYING OF INSTRUCTION MODEL BASED ON FAITH AND YONISOMANASIKAN BASE ON SUFFICIENCY ECONOMY PHILOSOPHY AFFECTING RESPONSIBILITY ABILITY IN SOLVING PROBLEMS AND ACHIEVEMENT OF MATHAYOM SUKSA 2 STUDENTS AT AKATUMNUAYSUKSA SCHOOL

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและศึกษาผลของวิธีการสอนตามคู่มือการเรียนรู้โดยประยุกต์การสอนแบบสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ บนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ส่งผลต่อความรับผิดชอบ ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนอากาศอำนวยศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 จำนวน 2 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 82 คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 จำนวน 41 คน เป็นกลุ่มทดลอง และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 จำนวน 41 คน เป็นกลุ่มควบคุมได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) คู่มือการเรียนรู้โดยประยุกต์การสอนแบบสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ บนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) แบบวัดความรับผิดชอบ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ค่าดัชนีประสิทธิผล (The Effectiveness Index : E.I.) สถิติทดสอบค่าที (t – test for Dependent Samples and Independent Samples) ทดสอบความแปรปรวนพหุคูณทางเดียว (One-way MANOVA) โดยเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างไม่เกิน 2 กลุ่มด้วยค่าสถิติโฮเทลลิ่งทีสแคว (Hotelling T2) ทดสอบความแปรปรวนร่วมพหุคูณทางเดียว ทดสอบความแปรปรวนร่วมพหุคูณสองทาง (One-way and Two-way MANCOVA)

            ผลการวิจัยพบว่า

                 1. คู่มือการเรียนรู้โดยประยุกต์การสอนแบบสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ บนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ส่งผลต่อความรับผิดชอบโดยมีค่าประสิทธิผล .60 ส่งผลต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหาคณิตศาสตร์โดยมีค่าประสิทธิผล .53 และส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยมีค่าประสิทธิผล .66

                 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนตามคู่มือการเรียนรู้โดยประยุกต์การสอนแบบสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ บนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความรับผิดชอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                 3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนตามคู่มือการเรียนรู้โดยประยุกต์การสอนแบบสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ บนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                 4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนตามคู่มือการเรียนรู้โดยประยุกต์การสอนแบบสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ บนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                 5. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สูง ปานกลาง และต่ำ เมื่อได้รับการสอนตามคู่มือการเรียนรู้โดยประยุกต์การสอนแบบสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ บนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่ามีความรับผิดชอบไม่แตกต่างกัน แต่พบว่าความสามารถในการคิดแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่นักเรียนที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงจะมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ปานกลางและต่ำ และนักเรียนที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์
ปานกลางและต่ำ

                 6. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนตามคู่มือการเรียนรู้โดยประยุกต์การสอนแบบสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการบนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความรับผิดชอบ ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                 7. วิธีการสอนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์มีปฏิสัมพันธ์กันหรือส่งผลร่วมกันต่อความรับผิดชอบ ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

 

ABSTRACT

            The purposes of this study were to develop and investigate the effects of using handbook learning by Applying of Instruction Model Based on Faith and Yonisomanasikan Base on Sufficiency Economy Philosophy affecting responsibility ability in solving mathematical problems and achievement for Matthayom Suksa 2 students. The subjects consisted of 82 students from 2 classrooms of Mathayom Suksa 2 in the first semester of 2014 academic year at  Akatumnuaysuksa School under the Office of the Secondary Educational Service Area 23. The students in Classroom 2/2 were the experimental group and those in classroom 2/3 were the control group collected by cluster random  sampling. The research instruments were composed of : 1) the manual of learning management by applying the 2) the test of responsibilities  3) the test of abilities to solve mathematical problems and 4) the test of the achievement the statistics employed to analyze the data comprised mean, standard deviation, analysis of the effectiveness index. T – test (Dependent Samples and Independent Samples) along with Multivariate Analysis of Variance (One-way MANOVA : Hotelling T2) Multivariate Analysis of  Covariance (One-way and Two-way MANCOVA)

            The findings of this study were as follows :

                 1. The manual of learning management by applying the instructional model based on faith and Yonisomanasikan Systematic Thinking affecting responsibilities and abilities to solve   the mathematical problems of the students in Mathayom Suksa 2 showed effectiveness index based on responsibilities at .60, abilities to solve the mathematical problems at .53 and achievement at .66

                 2. The responsibilities of  Mathayom Suksa 2 students after being taught  by the manual of the learning management using the instructional model based on faith and Yonisomanasikan Systematic Thinking were higher than those of before the treatment at the .05 level of significance.

                 3. Mathayom Suksa 2 students taught by the manual of the learning management applying the instructional model based on faith and Yonisomanasikan Systematic Thinking gained higher abilities in solving the mathematical problems than those before the intervention at the .05 level of significance.

                 4. Mathayom Suksa 2 students taught by the manual of the learning management applying the instructional model based on faith and Yonisomanasikan Systematic Thinking gained higher achievement than those before the intervention at the .05 level of significance.

                 5. After being taught according to the manual of learning management applying the instructional model based on faith and Yonisomanasikan Systematic Thinking, Mathayom Suksa 2 students whose scholastic aptitudes were high, moderate and low showed no different responsibilities but their abilities to solve the mathematical problems differed significantly at the .05 level by means of the students with high analytical thinking will have the ability to solve  mathematical problems than the students with medium and low analytical thinking support.

                 6. Mathayom Suksa 2 students taught by the manual of the learning management using the instructional model based on faith and Yonisomanasikan Systematic Thinking gained higher responsibilities and abilities in solving the mathematical problems and achievement than those who were taught by the conventional method at the .05 level of significance.

                        7. There were significant differences in the interaction between teaching methods and analytical thinking of the students in Mathayom Suksa 2 affecting their responsibilities  the abilities to solve the mathematical problems and achievement.  

Article Details

Section
บทความวิจัย