ประสิทธิผลของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27

Main Article Content

อมรา ไชยดำ

Abstract

ประสิทธิผลของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27
THE EFFECTIVENESS OF SCHOOLS UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 27

 

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิผลของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 2) เปรียบเทียบประสิทธิผลของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27  จำแนกตามตำแหน่งและขนาดของโรงเรียน และ 3) ศึกษาแนวทางการเสริมสร้างประสิทธิผลของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผูบริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน ในโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 398 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 60 คน ครูผู้สอนจำนวน 338 คน และกลุ่มเป้าหมายในการสัมภาษณ์ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และครูผู้สอน จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 แบบ คือแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test

ผลการวิจัยพบว่า

1. ประสิทธิผลของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก

2. ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 พบว่า ไม่แตกต่างกัน

3. ประสิทธิผลของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 ที่มีขนาดของโรงเรียนต่างกัน พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อวิเคราะห์เป็นรายด้านพบว่า โรงเรียนขนาดเล็กมีประสิทธิผลการบริหารงานด้านหลักสูตรและการสอนแตกต่างกับโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยโรงเรียนขนาดเล็กมีประสิทธิผลการบริหารงานด้านหลักสูตรและการสอนมากกว่าโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ

4. ผลการศึกษาแนวทางการเสริมสร้างประสิทธิผลในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 พบว่า

4.1 ด้านความสามารถในการปรับตัว ได้แก่ ผู้บริหารควรมีการปรับเปลี่ยนการบริหารงานโดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารงานของสถานศึกษา พัฒนาตนเองตั้งแต่เรื่องบุคลิกภาพจนถึงด้านวิชาการเพื่อให้เก่งให้เป็น ไปตามความคาดหวังของนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน มีการปฐมนิเทศครูใหม่ในด้านการปฏิบัติตนและการปฏิบัติงาน เพื่อ ให้ปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมของโรงเรียน และมีการใช้นวัตกรรมใหม่ๆ ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

4.2 ด้านบรรยากาศของโรงเรียน ได้แก่ มีการพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางกายภาพทั้งในและนอกห้องเรียนที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและสิ่งแวดล้อมทางสังคมเพื่อให้คนอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

4.3 ด้านการพัฒนาบุคลากร ได้แก่ มีการส่งเสริมความรู้ความสามารถของบุคลากรในด้านการศึกษาต่อ ศึกษาดูงานทั้งต่างประเทศและในประเทศ การเข้าร่วมอบรมสัมมนา มีการนิเทศภายใน มีการปฐมนิเทศครูใหม่ มีการตั้งชมรมครูเก่าเพื่อเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตนและปฏิบัติงานต่อเพื่อนร่วมงาน และมีการจัดอบรมให้กับบุคลากรทุกภาคเรียน

4.4 ด้านความพึงพอใจ ได้แก่ มีการสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ มอบรางวัลครูดีเด่น ครูดีในดวงใจ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน ความพร้อมในการจัดกิจกรรมต่างๆ การอยู่ร่วมกันอย่างพี่น้องรักใคร่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และให้โอกาสในการสอนพิเศษในโรงเรียนเพื่อเสริมรายได้ให้กับครอบครัว

4.5 ด้านความร่วมมือ ได้แก่ ร่วมมือกันปฏิบัติตามนโยบายของโรงเรียนจนบรรลุเป้าหมาย ระดมความคิดเห็นของบุคลากรในการพัฒนาโรงเรียน เลือกหัวหน้าทีมที่มีความเป็นภาวะผู้นำ เป็นที่ยอมรับและศรัทธาของผู้ร่วมงานและให้อำนาจหัวหน้าในการพิจารณาความดีความชอบ มีความสัมพันธ์และการสื่อสารที่ดีระหว่างเพื่อนร่วมงาน 

4.6 ด้านภาวะผู้นำ ได้แก่ มอบหมายการปฏิบัติหน้าที่เหมาะสมกับความสามารถและความถนัดของบุคลากร กำหนดทิศทางการดำเนินงาน แล้วจัดการประชุมสัมมนาเพื่อวิเคราะห์จุดอ่อนของโรงเรียน หาแนวทางแก้ไข โดยกำหนดวิธีการดำเนินงาน จัดทำโครงการรองรับ และดำเนินการตามโครงการที่แต่ละฝ่ายเสนอ สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ร่วมงานในการกล้าตัดสินปัญหา กระตุ้น ผลักดันให้เพื่อนร่วมงานมีความเต็มใจและกระตือรือร้นในการทำสิ่งต่างๆ ตามต้องการให้บรรลุเป้าหมาย

4.7 ด้านหลักสูตรและการสอน ได้แก่ เข้าร่วมอบรม ศึกษาดูงาน เพื่อนำความรู้มาจัดทำหลักสูตรของสถานศึกษา ให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการบริหารหลักสูตร มีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ เป้าหมายและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของโรงเรียน ส่งเสริมให้ครูมีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ สนับสนุนอุปกรณ์การสอน อบรมการจัดทำสื่อการเรียนการสอน และจัดทำทำแผนการสอน

 

ABSTRACT

            The purposes for this research were, 1) to study the effectiveness level of schools under the secondary educational service area 27. 2) To compare the effectiveness of schools under the secondary educational service area 27 by positions and sizes of school. and 3) To study Approaches used in enhancing the effectiveness of schools under the secondary educational service area 27. The sample used in this study consisted of 60 administrators and 338 teachers and 12 peoples are target group used for interview in this study consisted of administrators, head of department and teachers. The instruments used in this research were two types of questionnaire with the reliability value was .98 and a semi-structured interview. The statistical devices employed to analyze the data were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test and F-test.

The results were as follows :

1. The overall  effectiveness of schools was at high level. Considered in each side were all high level.

2. Opinion of administrators and teachers on the effectiveness of schools under the secondary educational service area 27 found no difference.

3. The effectiveness of school under the secondary educational service area 27 was classifiled by the sizes of school, overall were no difference. Analysis by individual aspect there were statistically significant with difference at .01. Which the small school was effectiveness management of the curriculum and instruction more the school extra-large.

4. Approach to enhance the effectiveness in the administration of the school administrator under the secondary educational service area 27 were;

4.1 The ability of adaptation; Administrator should modified the management of opportunities for public participation in the management of schools. There have been a development in the personality to excel academically and this has meet the expectations of students and parents. An orientation for new teachers in their practice and performance. In order to adapt to the culture of the school. and the use of innovative approaches to teaching and learning activities.

4.2 The atmosphere of the school; include the development of the physical environment, both in and outside the classroom is conducive to learning, teaching and social environment for people to live together in peace.

4.3 Human resources development; include the promotion of knowledge of the personnel in the field of education. Studying both foreign and domestic to attend training, the internal supervision and orientation for new teachers, the teachers old club to be role models in their practice and work colleagues, and the training of personnel every semester.

4.4 Satisfaction; this include are encouragement to perform consistently and morally in practicing regularly, Award for outstanding teachers, good teachers in my heart, Student achievement, the availability of various activities, the brethren and help each other, and the opportunity to teach in school to supplement the family income.

4.5 Cooperation; Cooperate to achieve compliance with the policies of the school, Brainstorming staff in the school development, Select a team leader with the leadership, Acceptance and faith of others as empowered chiefs to consider the merits, Relationships and good communication between colleagues.    

4.6 Leadership. Include; assigned duties appropriate to the abilities and skills of the personnel, directional operation than symposium to analyze the weaknesses of the school Solution, the method of operation Project support and implementation of the project, each party offers. Build trust among colleagues in suspense stimulate the urge with colleagues are willing and eager to do things you want to achieve.

 4.7 Curriculum and instruction. Include; study participants to contribute to the curriculum of the schools, the parents to participate in the Program, Participation in the preparation of curriculum that is being consistent with the vision, goals and desirable feature of the school, encourage teachers to measure and evaluate learning, teaching support for the preparation of teaching materials, and prepare lesson plans.

Article Details

Section
บทความวิจัย