การพัฒนาตัวบ่งชี้การปฏิบัติงานด้านการจัดการเรียนรู้ของครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3

Main Article Content

ศักดินนท์ ภาคี

Abstract

การพัฒนาตัวบ่งชี้การปฏิบัติงานด้านการจัดการเรียนรู้ของครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3

THE DEVELOPMENT OF INSTRUCTIONAL PERFORMANCE INDICATORS FOR TEACHERSINSCHOOL UNDER SAKON NAKHON PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 3

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้การปฏิบัติงานด้านการจัดการเรียนรู้ของครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 และ 2) เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของโมเดล ตัวบ่งชี้การปฏิบัติงานด้านการจัดการเรียนรู้ของครูที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การดำเนินการมีสองระยะประกอบด้วยระยะแรก การพัฒนาตัวบ่งชี้การปฏิบัติงานด้านการจัดการเรียนรู้ของครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 โดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัย จัดทำกรอบแนวคิดและร่างตัวบ่งชี้ ระยะที่สอง         การทดสอบเพื่อยืนยันตัวบ่งชี้การปฏิบัติงานด้านการจัดการเรียนรู้ของครู โดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างครูผู้สอน จำนวน 420 คน  และสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติและโปรแกรมลิสเรล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตรวัดประเมินค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่าง .515 – .908 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ โดยวิธีสัมประสิทธิ์ แอลฟา ของ Cronbach เท่ากับ .985

            ผลการวิจัย พบว่า

                 1. ตัวบ่งชี้การปฏิบัติงานด้านการจัดการเรียนรู้ของครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก 9 องค์ประกอบย่อย และ 62 ตัวบ่งชี้ จำแนกเป็น ด้านก่อนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 24 ตัวบ่งชี้ ด้านระหว่างการจัดการเรียนรู้ จำนวน 24 ตัวบ่งชี้ และด้านหลังการจัดการเรียนรู้ จำนวน 14 ตัวบ่งชี้ ซึ่งเป็นไปตามหลักการแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

                 2. โมเดลโครงสร้างการปฏิบัติงานด้านการจัดการเรียนรู้ของครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์  โดยมีค่าไค-สแควร์ (Chi-square) เท่ากับ 14.53 ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 17 ค่านัยสำคัญทางสถิติ (P-value) เท่ากับ .629 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ .99 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ .99  และค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ .000  (Chi-square = 14.53, df =17, ค่า P = .629, ค่า GFI = .99, ค่า AGFI = .98, ค่า RMSEA = .000) ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

ABSTRACT

            The purposes of this study were: 1) to Development of Instructional performance indicators for teachers in school under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 3, and 2) to examine the goodness of fit between the developed hypothetical linear structure equation model of Instructional performance indicators for teachers and the empirical data. The study was conducted into two phases: phase 1–development of Instructional performance indicators for teachers in school under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 3 through analysis of related documents and research, creating a conceptual framework, and indicators; phase 2–testing in order to confirm Instructional performance indicators for teachers by quantitative research methodology. The data were collected from a sample of 420 for teachers.  A statistical package was employed to analyze the data.  The tool used to collect data was a 5-rating scale questionnaire whose index of item-objective congruence (IOC) ranged between .515 -.908, and the reliability coefficient by Cronbach’s method was .985.

            The findings were as follows:

                 1. The Instructional performance indicators for teachers In school under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 3 consisted of 3 principal components, 9 small components and 62 indicators which were divided into 24 indicators for Before learning management, 24 indicators for Between learning management, and 14 indicators for After learning management, which were based on literature reviews.

                        2. The linear structure equation model of Instructional performance indicators for teachers In school under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 3 has the goodness of fit with the empirical data as displayed by the statistical values as follows: Chi-square = 14.53, degree of freedom (df) = 17, p = .629, goodness-of-fit index (GFI) = .99, adjusted goodness-of-fit index (AGFI) = .98, and root mean square error of approximation (RMSEA) = .000. Thus, the study results confirmed the hypothesis stated.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

ศักดินนท์ ภาคี

นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขานวัตกรรมการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร