คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

Main Article Content

อภินทร์พร วงษ์รัตนะ

Abstract

คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

QUALITY OF LIFE OF THE AGED IN THE MUEANG SAKON NAKHON AREA, SAKON NAKHON PROVINCE

บทคัดย่อ
   การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นผู้สูงอายุในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร จำนวน 385 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
   ผลการวิจัย พบว่า
      1. คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านนันทนาการ มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านที่อยู่อาศัย มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านรายได้ มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง
      2. การเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ตามคุณลักษณะส่วนบุคคล สามารถสรุปผล ได้ดังนี้
         2.1 จำแนกตามคุณลักษณะด้านเพศ อายุ และสถานภาพสมรส พบว่า คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ทั้งในภาพรวม และรายด้าน ทุกด้าน ไม่มีความแตกต่างกัน
         2.2 จำแนกตามคุณลักษณะด้านระดับการศึกษา พบว่า คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในภาพรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 3 ด้าน คือ 1) ด้านรายได้ 2) ด้านสุขภาพ และ 3) ด้านที่อยู่อาศัย
         2.3 จำแนกตามคุณลักษณะด้านอาชีพ พบว่า คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในภาพรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 2 ด้าน คือ 1) ด้านรายได้ และ 2) ด้านสุขภาพ
         2.4 จำแนกตามคุณลักษณะด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่า คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ทั้งในภาพรวม ไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 2 ด้าน คือ 1) ด้านรายได้ และ 2) ด้านที่อยู่อาศัย
         2.5 จำแนกตามคุณลักษณะด้านพื้นที่อยู่อาศัย พบว่า คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ทั้งในภาพรวม และรายด้าน ทุกด้าน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ABSTRACT
   The purpose of this study was to investigate quality of life of the aged in the Mueang Sakon Nakhon area, Sakon Nakhon province. A sample used in study was 385 aged people living in the Mueang Sakon Nakhon area, Sakon Nakhon province. The instrument used in collecting data was a questionnaire and the statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, and one-way ANOVA.
   The findings disclosed as follows:
      1. The age’s quality of life as a whole was at high level. As each aspect was considered, the one that got the highest mean score was of entertainment which had quality of life at high level. The next lower ranking aspect was of residence which was at high level, whereas the aspect that got the lowest mean score was of income in which the quality of life was at moderate level.
      2. The comparison of quality of life of the aged according to personal background could be concluded as follows:
         2.1 As classified by sex, age, and marital status, it was found that quality of life of the aged both as a whole and each aspect had no difference.
         2.2 As classified by educational attainment, it was found that quality of life of the aged as a whole had a significant difference at the .05 level. As each aspect was considered, it was found that 3 aspects had a significant difference at the .05 level, namely 1) income, 2) health, and 3) residence.
         2.3 As classified by occupation, it was found that quality of life of the aged as a whole had a significant difference at the .05 level. As each aspect was considered, 2 aspects were found having a significant difference at the .05 level, namely 1) income, and 2) health.
         2.4 As classified by income per month, it was found that quality of life of the aged as a whole had no difference. As each aspect was considered, 2 aspects had a significant difference at the .05 level, namely 1) income, and 2) residence.
         2.5 As classified by residential area, it was found that quality of life of the aged both as a whole and each aspect had a significant difference at the .05 level.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

อภินทร์พร วงษ์รัตนะ

นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร