ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารโรงเรียนและวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5

Main Article Content

รุจิรา เข็มทิพย์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารโรงเรียน วัฒนธรรมองค์การของโรงเรียน และประสิทธิผลของโรงเรียน ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารโรงเรียน วัฒนธรรมองค์การของโรงเรียน กับประสิทธิผลของโรงเรียน ศึกษาภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารโรงเรียนและวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน และสร้างสมการพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ครูผู้ปฏิบัติงานสอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 จำนวน 336 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซึ่และมอร์แกน และสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ  และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


ผลการศึกษา พบว่า


1.ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารโรงเรียน วัฒนธรรมองค์การของโรงเรียน และประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก


2.ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลของโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับสูง และความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 โดยรวมอยู่ในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


3. ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารโรงเรียน และวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียน ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


               4.สมการพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 จากตัวพยากรณ์ที่ดีที่สุด คือ ความเอื้ออาทร (X18ความรู้สึกที่เป็นส่วนหนึ่งขององค์การ (X14) ความซื่อสัตย์ (X19) การฟัง (X1) การตระหนักรู้ (X4) การตัดสินใจ (X13) การมองการณ์ไกล (X7) ความไว้วางใจ (X15) ความหลากหลายของบุคลากร (X20) การเยียวยารักษา (X3) การเป็นที่ยอมรับ (X17) และความมุ่งประสงค์ขององค์การ  (X11) สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียน ได้ร้อยละ 92.60  และมีสมการพยากรณ์รูปคะแนนดิบ ดังนี้


   Y =  .196 + .55(X18) + .19(X14) +.20(X19) - .22(X1) + .47(X4) + .26(X13)  - .20(X7) - .33(X15)+ .34(X20) - .11(X3) - .11(X17) - .08(X11)


สมการพยากรณ์รูปคะแนนมาตรฐาน ดังนี้


Z =  .55(Z18) + .24(Z14) + .20(Z19) - .26(Z1) + .53(Z4) + .28(Z13) - .23(Z7) - .38(Z15) + .37(Z20) -.11(Z3) - .11(Z17) -.08(Z11)


This research was aims to study school administrators’ servant leadership, school culture, and effectiveness of school. A study the relationship school administrators’ servant leadership, school culture, and effectiveness of school. A study school administrators’ servant leadership, school culture effecting effectiveness of school and create a predictive equation effectiveness of school under the secondary educational service area office 5. The sample used in the study consisted of 336 teachers in schools under the secondary educational service area office 5. The sample size was determined in accordance with Krejcie & Morgan’s table. Stratified random sampling was also employed in this stage. The instruments used for the data collecting ware a checklist questionnaires five leveled rating scale. The statistics utilized in analyzing the data were mean, standard deviation, simple correlation,  multiple regression analysis and  stepwise multiple regression analysis. The findings of the research indicate as follows:


1. The School administrators’ servant leadership, school culture, and effectiveness of school under the secondary educational service area office 5 in overall and specifically were rated at a high level. 


2. The relationship school administrators’ servant leadership and effectiveness of school in overall were at a high level and the relationship school culture and effectiveness of school under the secondary educational service area office 5 in overall were at a highest level significant difference at the .01 level.


3. The School administrators’ servant leadership, and school culture effecting effectiveness of school under the secondary educational service area office 5 were found significantly at .01 level.


 4.  The generosity (X18), feel part of the organization (X14), loyalty (X19), listening (X1), awareness (X4),discussion making (X13), foresight (X7), trust (X15), healing (X3),  variety of personnel (X20), recognition (X17), and purpose of the organization (X11) were the best predictors of the effectiveness of school under the secondary educational service area office 5 (Y) with 92.6 percent that could be written in the form of follows equation is:


= .196 + .55(X18) + .19(X14) +.20(X19) - .22(X1) + .47(X4) + .26(X13)  - .20(X7) - .33(X15


          + .34(X20) - .11(X3) - .11(X17) - .08(X11)


Or in the standard equation below. 


 = .55(Z18) + .24(Z14) + .20(Z19) - .26(Z1) + .53(Z4) + .28(Z13) - .23(Z7) - .38(Z15) + .37(Z20)  


        -.11(Z3) - .11(Z17) -.08(Z11)

Article Details

Section
บทความวิจัย