ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของ ข้าราชการตำรวจสายงานจราจร สถานีตำรวจภูธรเมืองสกลนคร

Main Article Content

อภิชาติ ครองยศ

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำของข้าราชการตำรวจสายงานจราจร   2)ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสายงานจราจร 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสายงานจราจร สถานีตำรวจภูธรเมืองสกลนครประชากรกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ข้าราชการตำรวจ จำนวน 50 นายโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์


             ผลการวิจัยพบว่า


             1. ภาวะผู้นำของข้าราชการตำรวจสายงานจราจร สถานีตำรวจภูธรเมืองสกลนคร  โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้างาน ของข้าราชการตำรวจสายงานจราจรสถานีตำรวจภูธรสกลนครอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก คือ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา  ด้านการคำนึงถึงความเป็นเอกบุคคล ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านการมีอิทธิพลเชิงอุดมการณ์


                 2. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสายงานจราจร สถานีตำรวจภูธรเมืองสกลนครโดยรวมอยู่ในระดับมาก และเพื่อพิจารณารายด้าน พบว่า แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสายงานจราจร สถานีตำรวจภูธรเมืองสกลนครอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านเฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านแรงจูงใจใฝ่อำนาจ และด้านแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ  ด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ โดยที่ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง


                 3. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสายงานจราจร สถานีตำรวจภูธรเมืองสกลนคร  มีค่าอยู่ระหว่าง 0.562-0.906 ซึ่งตัวแปรทุกตัว มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


คำสำคัญ : ภาวะผู้นำกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน,ข้าราชการตำรวจสายงานจราจร


ABSTRACT


             The purposes of this study were to investigate: 1) a degree of leadership of traffic police officers, 2) a degree of work motive of traffic police officers, and 3) the relationship between leadership and work motive of traffic police officers, MueangSakon Nakhon District Police Station. The target population was 50 police officers. The instrument in data collection was a questionnaire and statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, and Pearson’s product moment correlation coefficient.


             Findings of the study were as follows:


  1. Leadership of the traffic police officers, MueangSakon Nakhon District

Police Station as a whole was at high level. Considering it by aspect, transformational leadership of supervisors of traffic police officers, MueangSakon Nakhon District Police Station was at high level in every aspect. The first 3-aspect rankings that gained a higher score in descending order comprised the aspects of creating inspiration, intellectual stimulation and taking into account the individuality respectively. The aspect that gained the lowest mean score was of ideological influence.


  1. Work motive of traffic police officers, MueangSakon Nakhon District

Police Station as a whole was at high level. Considering it by aspect, work motive of traffic police officers, MueangSakon Nakhon District Police Station was at high level in every aspect. The mean scores as arranged in descending order were those of the following aspects: power motive, and affiliative motive. The aspect that gained the lowest mean score was of achievement motive which gained a mean score at moderate level.


  1. Leadership was positively related to work motive of traffic police officers,

MueangSakon Nakhon District Police Station at the .01 level of significance which had correlation coefficients ranging from 0.562 to 0.906.


 


Keywords: Leadership, Work Motive, Traffic Police Officers


 

Article Details

Section
บทความวิจัย