ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการคุ้มครองในการอนุรักษ์ป่าสงวนแห่งชาติหินหนามหน่อ : กรณีศึกษากลุ่มบ้านดุ เมืองบัวละพาแขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

คำแสง แสงทองนะริน

Abstract

ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการคุ้มครองในการอนุรักษ์ป่าสงวนแห่งชาติหินหนามหน่อ : กรณีศึกษากลุ่มบ้านดุ เมืองบัวละพาแขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

STRATEGY TO DEVELOP COMPETENCY OF PROTECTION COMMITTEE IN CONSERVATION OF THE HINNAMNOR NATIONAL FOREST RESERVATION : THE CASE STUDY OF BAN DOU GROUP, BUALAPHA DISTRICT, KHAMMOUANE PROVINCE, LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC.

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการคุ้มครองในการอนุรักษ์ป่าสงวนแห่งชาติหินหนามหน่อ 2) สร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการคุ้มครอง ในการอนุรักษ์ป่าสงวนแห่งชาติหินหนามหน่อ และ 3) ประเมินยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการคุ้มครองในการอนุรักษ์ป่าสงวนแห่งชาติหินหนามหน่อ กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ใหญ่บ้าน นายโฮมบ้าน หัวหน้าชาวหนุ่ม สหพันธ์ผู้หญิง  เจ้าหน้าที่คุ้มครองลาดตระเวน นักวิชาการ และตัวแทนประชาชน จำนวน 77 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง และแบบสอบถามชนิดแบบมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพปัจจุบันของคณะกรรมการคุ้มครองในการอนุรักษ์ป่าสงวนแห่งชาติหินหนามหน่อกรณีศึกษากลุ่มบ้านดุ พบว่า สภาพการทำงานของคณะกรรมการคุ้มครองมีการออกลาดตะเวนอย่างต่อเนื่องทุกวัน ตามตารางปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย มีการทำโทษโดยการจ่ายค่าปรับกรณีที่พบเห็นผู้ที่ลักลอบตัดไม้ และล่าสัตว์หวงห้าม ในบางครั้งที่ไม่ได้ออกปฏิบัติงานเนื่องมาจากฤดูกาลเพาะปลูกหรือเก็บเกี่ยวผลผลิต ปัญหาของคณะกรรมการคุ้มครองในการอนุรักษ์ป่าสงวนแห่งชาติหินหนามหน่อ คือ ขาดแคลนงบประมาณสนับสนุน การรักษาพยาบาลยามเจ็บป่วย ขาดความรู้ ความเข้าใจในกฎ ระเบียบเกี่ยวกับป่าสงวนแห่งชาติหินหนามหน่อและบุคลากรปฏิบัติงานลาดตะเวนมีน้อย และความต้องการของคณะกรรมการคุ้มครองในการอนุรักษ์ป่าสงวนแห่งชาติหินหนามหน่อ พบว่า มีความต้องการให้ภาครัฐให้การสนับสนุนงบประมาณอย่างต่อเนื่อง มีอุปกรณ์ในการออกลาดตะเวน ภาครัฐควรเข้ามาให้ความรู้ ความเข้าใจแก่คณะกรรมการคุ้มครองในการอนุรักษ์ป่าสงวนแห่งชาติหินหนามหน่ออย่างสม่ำเสมอและสวัสดิการรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย

2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการคุ้มครองในการอนุรักษ์ป่าสงวนแห่งชาติหินหนามหน่อ :
กรณีศึกษากลุ่มบ้านดุ เมืองบัวละพา แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวที่ได้พัฒนาขึ้นคือ ยุทธศาสตร์การพัฒนาความรู้ ความสามารถในการทำงานของคณะกรรมการคุ้มครองในการอนุรักษ์ป่าสงวนแห่งชาติหินหนามหน่อ ประกอบด้วย 1) โครงการยกระดับขีดความสามารถในการเขียนรายงานของคณะกรรมการคุ้มครองในการอนุรักษ์ป่าสงวนแห่งชาติหินหนามหน่อ 2) โครงการเสริมสร้างทักษะการใช้เทคโนโลยีเกี่ยวกับเครื่องมือ GPS ในการปฏิบัติงาน 3) โครงการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจคณะกรรมการคุ้มครองในการอนุรักษ์ป่าสงวนแห่งชาติหินหนามหน่อ และ 4) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการโดยโปรแกรม SMART องค์ประกอบของโครงการ ประกอบด้วย ชื่อโครงการ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย วิธีดำเนินการ ตัวชี้วัด งบประมาณ และการวัดและการประเมินผล

3. การประเมินยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการคุ้มครองในการอนุรักษ์ป่าสงวนแห่งชาติหินหนามหน่อ : กรณีศึกษากลุ่มบ้านดุ เมืองบัวละพา แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก (\bar{x}= 4.07)


Article Details

Section
บทความวิจัย