การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ชีวิตพืช ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7E กับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL)

Main Article Content

ณัฐนา เมืองโคตร

Abstract

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ชีวิตพืช ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7E กับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL)

COMPARISON OF ACADEMIC ACHIEVEMENT AND SCIENCE PROCESS SKILLS OF STUDENTS AT THE FOURTH GRADE DURING THE PLANT LIFE ON THE 7E LEARNINGPROBLEM-BASED LEARNING (PBL)

บทคัดย่อ

            การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังเรียน 3)เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7E กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง มี 2 กลุ่ม ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านนาตะแบง 1 จำนวนนักเรียน 25 คน และโรงเรียนบ้านคำป่าหลาย จำนวนนักเรียน 20 คน สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดมุกดาหาร ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือในการศึกษาประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7E และแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความยากง่าย (p) ระหว่าง 0.30 – 0.85 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (r) ระหว่าง 0.22 – 0.81 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 และแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีค่าความยากง่าย (p) ระหว่าง 0.22 - 0.75 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (r) ระหว่าง 0.26 - 0.93 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.92

            ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า

   1. ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7E และการใช้ปัญหาเป็นฐาน มีค่าเท่ากับ 91.38/87.60 และ 87.50/87.67 ตามลำดับและดัชนีประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7E และการใช้ปัญหาเป็นฐาน
มีค่าเท่ากับ 0.7915 และ 0.5741 ตามลำดับ

   2. นักเรียนทั้ง 2 กลุ่ม มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05                   

   3. นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ระหว่างกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7E และการใช้ปัญหาเป็นฐาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

Abstract

            The research aims were to 1) Searching for efficiency of learning activities effectiveness. 2) Comparing the academic achievement and science process skills (pre-post of learning) 3) During the inquiry learning 7E method versus problem-based learning activities are assessed in the academic achievement and science process skills. The participants are separated into two groups which they are the 4th grade students from different school. The first group has 25 students of Bannatabang School. The second group is from Bankhampalai School, 20 students. Besides, those purposive random samples are studying in the primary school under Mukdaharn Primary Educational Service Area Office. The instruments of this study consisted of; the inquiry learning 7E method lesson plan, the problem-based lesson plan. The difficulty index of the academic achievement test was in between 0.30-0.85. The discrimination Index was in between 0.26-0.93 and the last one is the reliability index was 0.92.

            The research findings were as follows : 

   1. The effectiveness of the inquiry learning 7E method was 91.38/87.60 and the problem-based learning was 87.50/87.67. Besides, the index of the inquiry learning 7E method effectiveness was 0.7915 and the effectiveness index of the problem-based learning activity was 0.5741.

   2. Both two groups of samples gained the higher scores after studying by the scores of the academic achievement and the science process skills scores increased at the level 0.5.

   3. The students received the academic achievement scores and the science process skills scores differently among the activities of inquiry learning 7E model and the problem-based learning activities at the level 0.5.


 

Article Details

Section
บทความวิจัย