การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1

Main Article Content

เทพศักดิ์ ใครอุบล

Abstract

บทคัดย่อ


                    การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลยเขต1 2) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลยเขต1 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลยเขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลยเขต 1 จำนวน 298 คน ได้จากการสุ่มประชากรโดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) และใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified random Sampling) อย่างมีสัดส่วนตามขนาดของโรงเรียนในแต่ละอำเภอ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือแบบสอบถามตรวจสอบรายการ (Checklist) และแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ประกอบด้วยแบบสอบเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.99 และแบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05


               ผลการวิจัยพบว่า


  1. การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลยเขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน

  2. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลยเขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน

  3. ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลยเขต 1 ในภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีความสัมพันธ์กันในระดับมาก

Abstract


               The purposes of this research was to study 1) the level of the good governance of administrations of the administrators under Loei Primary Educational Service Area Office 1, 2) the level of the teachers’ job satisfaction under Loei Primary Educational Service Area Office 1, and 3) The relationship between good governance-based educational administration of the administrators and the teachers’ job satisfaction under Loei Primary Educational Service Area Office 1. The samples of this research were 298 teachers and educational personnel, selected from a total population through the table of Krejecie and Morgan.               A stratified random sampling technique was also employed according to school sizes in each district. The research instrument was a questionnaire with two parts of a checklist and a 5-rating scale part covering the questions about good governance –based educational administration and the reliability of .99 Moreover, the job satisfaction questionnaire and the reliability of .97 The collected data were analyzed by using percentage, mean, and standard deviation. The hypothesis was tested by using Pearson Product-moment Correlation Coefficient at a statistical significant level of .05


               The research findings were found as follows:


  1. The good governance-based educational administration of the administrators under Loei Primary Educational Service Area Office 1 was at a high level in overall and each aspect. Having considered each aspect, it showed that all aspects were also found at a high level.

  2. The teachers’ job satisfaction was at a high level in overall and each aspect. Having considers each aspect, it showed that all aspects were also found at a high level.

  3. The relationship between good governance-based educational administration of the administrators and the teachers’ job satisfaction was positive at a statistical significant level of .01 and the relationship was relatively at a high level .01

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ, (2550 ) “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545”, กรุงเทพฯ
: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กระทรวงศึกษาธิการ, (2558 ) “สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน”, สำนักงานปลัดกระทรวง นโยบายรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงศึกษาธิการ นโยบายปีงบประมาณ 2560.
เกษสุนีย์ สายแก้ว. (2556). “ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในกลุ่มโรงเรียนศรีราชา1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาชลบุรีเขต 3”, วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะ
ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
นงลักษณ์ อนันทวรรณ . (2559) “วารสาร:รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 1“นวัตกรรม
สร้างสรรค์ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนไทยแลนด์ 4.0”) สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม2559. https://rerujournal.reru.ac.th
ปวรัตน์ เลิศสุวรรณเสรี. (2556). “ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยราชพฤกษ์ประจำปีการศึกษา 2555”,
ทุนอุดหนุนการวิจัยจากวิทยาลัยราชพฤกษ์ปีการศึกษา.
ปิยพงษ์ โพธิ์มี. (2554). “ การบริหารงานโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู โรงเรียน
มัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต8”,ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร
การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พิสมัย หมกทอง.( 2554). “การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสานักงานเขตบางกอกน้อยกรุงเทพมหานคร”.วิทยานิพนธ์
ปริญญาพุทธศาสตรมหาบันฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระศรีพรรณ โชติปญฺโญ (สุวรรณแสง). (2556). “ การบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา
อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี”, หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสกล ฐานธมฺโม (อินทร์คล้าย).(2556). “การบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัด
นครสวรรค์”ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกาย 2559. จาก
https://www.admincout.go.th/00_web/05_law/doc.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2559 จาก
https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF
รินทร์รดี พิทักษ์. (2553). พฤติกรรมการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร ในทัศนะของครูสังกัดสานักงาน
คณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร
การศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
วราภรณ์ ช้างอยู่. (2557). “ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจใการปฏิบัติงานของครูผู้สอน สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร”, หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
เทคโนโลยีการบริหารการศึกษา : มหาวิทาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สิริพร เมฆสุวรรณ. (2558). “ ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนปทุมคงคาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
เขต 2”, หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุพรรษา ลอยสมุทร. (2559). “ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนกับประสิทธิผลของ
สถานศึกษาเอกชน ในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด”, ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา :
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
สุรชัย แซ่คู. (2558). “ ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน
มัธยมศึกษาที่มีอัตราการแข่งขันสูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมเขต 16”, ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
สุรศักดิ์ พันธุระ. (2559). “ ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของ
ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต4”, ปริญญาวิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สมคิด มาวงศ์. (2554). “การศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของครูสังกัดโรงเรียน
เทศบาล ในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด”, วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). จันทบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏ
รำไพพรรณี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). “แนวทางการ กระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้
คณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจาย
อำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550”, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย
จำกัด.
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2542).“ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542”,
กรุงเทพฯ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). “สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาชาติเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่11 (พ.ศ.2555-2559)”, กรุงเทพฯ:สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2554), “แผนการบริหารราชการแผ่นดิน (พ.ศ.2555-2558)”, กรุงเทพฯ:สำนักงาน
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาปฏิบัติหน้าที่สานักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ. “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2560”กรุงเทพฯ:สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาปฏิบัติหน้าที่สานักงานเลขาธิการสภานิติ
บัญญัติแห่งชาติ.
อิชช์กันต์ ศรีวรวิทย์. (2557). “การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลกับความพึงพอใจในการ
ปฏิบัติงานของข้าราชการครูในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดอุตรดิตถ์”.