การพัฒนาการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ โดยใช้คู่มือการจัดการเรียนรู้วัฏจักร การเรียนรู้แบบ 7E บนพื้นฐานการคิดแบบโยนิโสมนสิการ และคู่มือ การจัดการเรียนรู้สืบเสาะหาความรู้แบบ สสวท. ที่ส่งผลต่อ ความรับผิดชอบ การคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธ

Main Article Content

งอรุณ ถำวาปี

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ วิชาฟิสิกส์ โดยใช้คู่มือการเรียนวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 7E บนพื้นฐานการคิดแบบโยนิโสมนสิการ และคู่มือการเรียนรู้สืบเสาะแบบ สสวท. ที่ส่งผลต่อ ความรับผิดชอบ การคิดวิเคราะห์และ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนโพธิแสนวิทยา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนโพธิแสนวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 จำนวน 2 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 68 คน ห้องมัธยมศึกษา 4/1  จำนวน 33 คน เป็นกลุ่มทดลอง และห้องมัธยมศึกษา 4/2 จำนวน 35 คน เป็นกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยระกอบด้วย  1)  คู่มือการจัดการเรียนรู้วัฏจักรการเรียนรู้แบบ 7E บนพื้นฐานการคิดแบบโยนิโสมนสิการ 2)  คู่มือการจัดการเรียนรู้สืบเสาะหาความรู้แบบ สสวท. 3)  แบบวัดความรับผิดชอบ 4) แบบสังเกตพฤติกรรมความรับผิดชอบ 5) แบบวัดการคิดวิเคราะห์ วิชาฟิสิกส์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ 5) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาฟิสิกส์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ 6) แบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ ของกรมสุขภาพจิต สำหรับวัยรุ่น (อายุ 12 – 18 ปี) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness  Index : E.I.)  สถิติทดสอบค่าที  (t – test for Dependent  Samples, t – test  for Independent  Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ (MANOVA) การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพหุคูณ (MANCOVA) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมทางเดียว (ANCOVA)

                 1.  ค่าดัชนีประสิทธิผลของคู่มือการจัดการเรียนรู้วัฏจักรการเรียนรู้แบบ 7E บนพื้นฐานการคิดแบบโยนิโสมนสิการ ที่มีต่อความรับผิดชอบ การคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าเท่ากับ 0.64 ,0.59 และ 0.61 ตามลำดับ และ ค่าดัชนีประสิทธิผลของคู่มือการจัดการเรียนรู้สืบเสาะหาความรู้แบบ สสวท. ที่มีต่อความรับผิดชอบ การคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าเท่ากับ 0.53 , 0.50 และ 0.52 ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้     

                 2.  ความรับผิดชอบ การคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ที่เรียนโดยใช้คู่มือการจัดการเรียนรู้วัฏจักรการเรียนรู้แบบ 7E บนพื้นฐานการคิดแบบโยนิโสมนสิการ และกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้คู่มือการจัดการเรียนรู้สืบเสาะหาความรู้แบบ สสวท. หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  

                 3.  ความรับผิดชอบ การคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้คู่มือการเรียนวัฏจักรการเรียนรู้ 7E บนพื้นฐานการคิดแบบโยนิโสมนสิการ และ คู่มือการเรียนรู้สืบเสาะแบบ สสวท. ก่อนเรียนไม่แตกต่างกัน แต่หลังเรียน นักเรียนที่เรียนโดยใช้คู่มือการจัดการเรียนรู้วัฏจักรการเรียนรู้แบบ 7E บนพื้นฐานการคิดแบบโยนิโสมนสิการ มีคะแนนเฉลี่ยความรับผิดชอบ การคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

สูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยใช้คู่มือการจัดการเรียนรู้สืบเสาะหาความรู้แบบ สสวท. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                 4.  ความรับผิดชอบ การคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีความสามารถทางการเรียนแตกต่างกัน เมื่อเรียนโดยคู่มือการจัดการเรียนรู้วัฏจักรการเรียนรู้แบบ 7E บนพื้นฐานการคิดแบบโยนิโสมนสิการ และคู่มือการจัดการเรียนรู้สืบเสาะหาความรู้แบบ สสวท. มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                 5.  ตัวแปรวิธีการเรียนซึ่งมีอยู่ 2 วิธี คือ วิธีเรียนโดยใช้คู่มือการจัดการเรียนรู้วัฏจักรการเรียนรู้แบบ 7E บนพื้นฐานการคิดแบบโยนิโสมนสิการ และวิธีการเรียนโดยใช้คู่มือการจัดการเรียนรู้สืบเสาะหาความรู้แบบ สสวท.และตัวแปรความฉลาดทางอารมณ์ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ความฉลาดทางอารมณ์สูง ปานกลาง และต่ำ มีปฏิสัมพันธ์กันส่งผลต่อความรับผิดชอบ การคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

งอรุณ ถำวาปี

สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร