ยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการประชาสัมพันธ์ เพื่อการอนุรักษ์ป่าไม้ของบุคลากรแขนงทรัพยากรป่าไม้ แผนกทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

สมิง แสงพระจันทร์

Abstract

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาขีดความสามารถในการประชาสัมพันธ์เพื่อการอนุรักษ์ป่าไม้ของบุคลากรแขนงทรัพยากรป่าไม้ แผนกทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แขวงบลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีความมุ่งหมายเพื่อ1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาขีดความสามารถในการประชาสัมพันธ์เพื่อการอนุรักษ์ป่าไม้ ของบุคลากรแขนงทรัพยากรป่าไม้2) สร้างและใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการประชาสัมพันธ์เพื่อการอนุรักษ์ป่าไม้ของบุคลากรแขนงทรัพยากรป่าไม้ และ 3) เปรียบเทียบระดับความรู้ความเข้าใจของบุคลากรก่อนและหลังการใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนา ผู้ให้ข้อมูลหลักคือบุคลากรแขนงทรัพยากรป่าไม้ จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบบันทึกประเด็นการสนทนากลุ่ม แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ และแบบประเมินทักษะ วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ด้วยค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) วิเคราะห์ข้อมูลสถิติอ้างอิง (Inference Statistics) ด้วยการทดสอบค่าที (t-test: Paired Samples Test)

            ผลการวิจัยพบว่า

     1. บุคลากรมีขีดความสามารถในการประชาสัมพันธ์อยู่ในระดับน้อยในด้าน 1) จิตใจรักงานประชาสัมพันธ์ 2) ความรอบรู้ลุ่มลึกในการประชาสัมพันธ์ 3) ความสามารถในการสื่อสารและถ่ายทอด 4) ความคิดสร้างสรรค์ 5) ภาวะผู้นำ
6) บุคลิกภาพ และ 7) คุณธรรมและจริยธรรม

     2. สภาพปัญหาที่พบ คือ 1) บุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจในการประชาสัมพันธ์ 2) บุคลกรขาดทักษะในการประชาสัมพันธ์ 3) ขาดงบประมาณจัดจ้างบุคลากร 4) นักประชาสัมพันธ์มีจำนวนน้อย 5) ขาดวัสดุอุปกรณ์การประชาสัมพันธ์ 6) การประชาสัมพันธ์ไม่เป็นที่แพร่หลาย 7) ให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์น้อย

                 3. ความต้องการของบุคลากรในการพัฒนาขีดความสามารถในการประชาสัมพันธ์ที่อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ 1) การฝึกอบรมพัฒนาทักษะการปฏิบัติงาน 2) การเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการสื่อสารเพื่อการถ่ายทอดที่ดี และ 3) การเสริมสร้างบุคลิกภาพ

                 4. ยุทธศาสตร์การพัฒนา ได้แก่ กลยุทธ์การพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรแขนงทรัพยากรป่าไม้ โดยมีการจัดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถและทักษะการปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม

                 5. การเปรียบเทียบความรู้ ความเข้าใจของบุลากร หลังการใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนาสูงกว่าก่อนการใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

สมิง แสงพระจันทร์

สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร