การพัฒนาคู่มือจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบ SSCS ร่วมกับ อริยสัจ 4 เพื่อเสริมสร้างความรับผิดชอบ ทักษะการคิดแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

เกศสรินทร์ ใจศิริ

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาคู่มือจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบ SSCS ร่วมกับอริยสัจ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานของดัชนีประสิทธิผล 2) เปรียบเทียบความรับผิดชอบ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบทักษะการคิดแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 5) เปรียบเทียบความรับผิดชอบ ทักษะการคิดแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังได้รับการเรียนรู้ด้วยคู่มือจัดกิจกรรมเรียนรู้ ของนักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์แตกต่างกัน  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านอูนดง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย คู่มือจัดกิจกรรมเรียนรู้  แบบทดสอบวัดความรับผิดชอบ  แบบสังเกตและบันทึกพฤติกรรมความรับผิดชอบ  แบบทดสอบวัดทักษะ การคิดแก้ปัญหา  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพหุคูณแบบทางเดียว การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบทางเดียว   

            ผลการวิจัยพบว่า

                 1. คู่มือจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบ SSCS ร่วมกับอริยสัจ 4 มีค่าดัชนีประสิทธิผลซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ .50 ขึ้นไป

                 2. นักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยคู่มือจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบ SSCS ร่วมกับอริยสัจ 4 มีความรับผิดชอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                  3. นักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยคู่มือจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบ SSCS ร่วมกับอริยสัจ 4  มีทักษะการคิดแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                 4. นักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยคู่มือจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบ SSCS ร่วมกับอริยสัจ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                 5. นักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์แตกต่างกัน หลังได้รับการเรียนรู้ด้วยคู่มือจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบ SSCS ร่วมกับอริยสัจ 4 มีความรับผิดชอบ ทักษะการคิดแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่นักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูง มีความรับผิดชอบ ทักษะการคิดแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ปานกลางและต่ำ และนักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ปานกลาง มีความรับผิดชอบ ทักษะการคิดแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่ำ

Abstract

            This study aimed to 1) develop a manual of learning activity application using SSCS in conjunction with the Four-Noble-Truths method obtaining the efficiency set of Efficiency Index,  2) compare responsibilities of the students between before and after being taught by a manual  3) compare mathematical problem solving thinking skills among the students taught by a manual 4) compare learning achievements among the students who were taught by a manual and 5) compare responsibilities ,skills on problem solving thinking as well as learning achievements among the students with different achievement motivation after being taught by manual. Samples consisted of 25 students in Mathayom Suksa 1 in the second semester of academic year 2013 at Ban Un Dong School under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 2. Instruments employed were composed of   a manual of learning activity application using SSCS in collaboration with the Four-Noble-Truths method,  a test of responsibilities,  a form of observation and a form of responsibility behavior record, a test of problem solving thinking skill evaluation, and  a test of learning achievements.  Statistics used comprised percentage, mean, standard deviation, t-test (Dependent Samples), One-Way MANCOVA and One-Way ANCOVA.

            Findings were as follows:

                 1. The manual of learning activity application using SSCS together with the Four-Noble-Truths method obtained higher Efficiency Index than that was set at .50 up.      

                 2. The students taught by the manual of learning activity application using SSCS in coordination with the Four-Noble-Truths method gained higher responsibilities after learning than before being taught at the .05 level of significance.

                 3. Those students who were taught by the manual of learning activity application using SSCS in participation with the Four-Noble-Truths method gained higher problem solving thinking skill than before being taught at the .05 level of significance.

                 4. There was a difference in learning achievements among the  students who were taught by the manual of learning activity application by SSCS in association with the Four-Noble-Truths method at the higher level after being taught than before learning at the level of .05.

                 5. The students with different achievement motivation after being taught by the manual of learning activity application  through SSCS in conjunction with the Four-Noble-Truths method gained responsibilities, problem solving thinking skills as well as achievement motivation higher than those students  whose achievement motivations were moderate and low. The students with moderate achievement motivation obtained higher responsibilities, problem solving thinking skill as well as learning achievements higher than those with low ones.

Article Details

Section
บทความวิจัย