ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อเครื่องสำอางของสุภาพสตรีในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

เดี่ยนลี่ หลี่

Abstract

บทคัดย่อ


          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อ เครื่องสำอาง และพฤติกรรมการเลือกซื้อเครื่องสำอางของสุภาพสตรีในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมีวิธีการดำเนินงานการศึกษาโดยใช้แบบสอบถาม 390 ตัวอย่าง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบียงเบนมาตรฐาน Chi-square และ Regression Analysis 


            ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 390 คน ส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง 21-30 ปี ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัท มีรายได้อยู่ในช่วงน้อยกว่า 15,001 บาท และสถานภาพโสด ประเภทของเครื่องสำอางที่เลือกซื้อ คือ ประเภทตกแต่งสีสัน(Make Up) มีการเลือกซื้อเครื่องสำอางเป็นชุด เหตุผลในการซื้อคือเพื่อเพิ่มความมั่นใจ โดยส่วนใหญ่จะซื้อด้วยตนเอง ซื้อเครื่องสำอางทุกๆ สิ้นเดือน ซื้อจากร้านขายยาเครื่องสำอางตามสถานที่ทั่วไป ซื้อโดยทราบข้อมูลข่าวสารจากเพื่อน หรือคนที่รู้จัก ระยะเวลาในการซื้อคือ 1 ครั้งต่อเดือน และมีค่าใช้จ่ายในการซื้อโดยเฉลี่ยแล้วเป็น 1,987.69 บาท ความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดทั้ง 4 ด้านในการซื้อเครื่องสำอาง ประกอบด้วย ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายและด้านการส่งเสริมการตลาดภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด โดยข้อมูลส่วนบุคคลที่แตกต่างกันมีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อด้านประเภทของเครื่องสำอาง จำนวนเครื่องสำอาง เหตุผลในการเลือกซื้อ ผู้ที่จูงใจในการซื้อ ความถี่ในการซื้อ และช่องทางในการซื้อที่แตกต่างกัน  ผลการเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของส่วนประสมทางการตลาดกับพฤติกรรมการเลือกซื้อ พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้อในด้านค่าใช้จ่ายในการซื้อโดยมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ 0.05


            ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ผู้จัดจำหน่ายเครื่องสำอางควรให้ความสำคัญกับคุณภาพของสินค้าโดยเพิ่มคุณค่าเครื่องสำอาง ให้มีกลิ่นหอมน่าใช้ มีหลายกลิ่น สีให้เลือก เพิ่มปริมาณ และ ความสวนงามของลักษณะของบรรจุภัณฑ์ ควรมีป้ายบอกราคาชัดเจน และกำหนดราคาให้เหมาะสมสามารถแข่งขันได้ ควรจัดร้านให้สวยงามทำให้น่าเข้าร้าน มีการเพิ่มบริการจัดส่งถึงบ้าน และการโฆษณาผ่านสื่อให้มากขึ้น อาทิ สื่อโทรทัศน์ใบปลิว มีการส่งเสริมการขายเมื่อซื้อสินค้าในปริมาณที่มากโดยการลด แลก แจก แถม   


ABSTRACT


          The purpose of this study is to examine the behaviors and marketing mix affecting the consumers’ decisions to choosing women’s cosmetics inBangkok. The process of the study is to focus the study specifically for the consumer group inBangkokby using questionnaire and 390 samples to analyze data by Descriptive Statistics including frequency, percentage, mean, standard deviation, chi-square and Regression Analysis.


            The study can be concluded that the women in Bangkok that has the majority between 21-30 years of age, education level at under Bachelor degree, occupation company staff, average income per month less than 15,001 baht and marital status single has a behavior in buying women’s cosmetics will choose to purchase the make-up cosmetics. The set sizes packaged are widely being select as their choice with the average buying expense of 1,987.69 baht per month. The consumers make decisions to buy cosmetics by themselves, from a general pharmacy once in every end of month and use for increasing confidence. For the opinions toward the marking mix, product, price, distribution channel and promotion are the highest level. The different individual factors differently affected the purchasing behaviors in terms of product type, quantity, reason, motivator, buying frequency, and channel. The results from comparing the fours components of marketing mix with the buying behaviors show that the four components are related to the purchasing behaviors in terms of expenses with a significant statistic level at 0.05.


            The suggestions are as follows. The distributors should emphasize on the quality of the products by increasing various fragrances, colors, quantities and beautiful packages, the price tags should be conspicuous and the prices of the products should be satisfied by customers and should be competitive. The distributors should decorate the shops attractive and add a home delivery service. For distribution channels, the products should be advertised through media such as TV and flyers more than before, sales promotions should be provided for the customers who purchase the high quantity of products by giving discounts and free gifts.

Article Details

Section
บทความวิจัย