การพัฒนาแนวทางพัฒนาสถานศึกษาสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านการเรียนรู้เรียนรู้เป็นทีม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2

Main Article Content

ปาริชาต คำภาบุตร

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1)  เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์   เขต 2   2)  เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน  และสภาพที่พึงประสงค์ ของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2   3) เพื่อพัฒนาแนวทางพัฒนาสถานศึกษาสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2  การวิจัยมี  3  ระยะ  ประกอบด้วย  ระยะที่ 1 ผู้ทรงคุณวุฒิ ประเมินองค์ประกอบ และตัวชี้วัดการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม  จำนวน 5  คน  โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมิน ระยะที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2  จำนวน  315 คน  ใช้เทคนิคการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม และระยะที่ 3 ผู้ทรงคุณวุฒิที่ให้ข้อมูลแนวทางพัฒนาสถานศึกษาสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านการเรียนรู้เป็นทีม จำนวน 7 คน และผู้ทรงคุณวุฒิประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางพัฒนาสถานศึกษาสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านการเรียนรู้เป็นทีม  จำนวน 5 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบประเมิน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้อง ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI Modified) และการวิเคราะห์เนื้อหา

              ผลการวิจัย พบว่า

                   1.  องค์ประกอบและตัวชี้วัดของการพัฒนาสถานศึกษาสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่   1) ความสามารถและความเข้าใจ   2) ทัศนคติ   3) ทักษะ   4) การสื่อสาร   5) การเรียนรู้วิธีการปฏิบัติ   6) ภาวะผู้นำทีม  7) การให้ความสำคัญแก่ความคิดที่หลากหลาย  และ 8) การตรวจสอบการเรียนรู้และมีตัวชี้วัด จำนวน 50 ตัวชี้วัด

                   2.  สภาพปัจจุบันของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2  โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2  โดยรวมอยู่ในระดับมาก

                   3.  แนวทางพัฒนาสถานศึกษาสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2  มีความเหมาะสมและเป็นไปได้  มีแนวทางดังนี้ บุคลากรมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายในการทำงานที่ชัดเจน  บุคลากรมีความพร้อมที่จะพัฒนาตนเองตลอดเวลา  บุคลากรมีความเชื่อว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการเรียนรู้ร่วมกันได้  บุคลากรได้รับทราบข้อมูลในการทำงานอย่างชัดเจนและทั่วถึง บุคลากรมีการเรียนรู้วิธีการปฏิบัติงานร่วมกันกับเพื่อนครูอยู่เสมอ  ผู้บริหารมอบอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบให้บุคลากรอย่างเหมาะสม เปิดโอกาสให้บุคลากรในโรงเรียน สามารถคิดริเริ่มโครงการใหม่ๆ  สถานศึกษามีการติดตามผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ

Article Details

Section
บทความวิจัย