ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำครูกับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27

Main Article Content

วีระศักดิ์ ไชยดำ

Abstract

ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำครูกับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27
THE RELATIONSHIP BETWEEN TEACHER LEADERSHIP AND OPERATING SYSTEM AND ASSIST STUDENTS OF TEACHERS UNDER THE OFFICE OF SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA 27

 

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 2) ศึกษาระดับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำครูกับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 338 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ชนิด 5 ตัวเลือก มีค่าความเชื่อมั่นภาวะผู้นำครู เท่ากับ .98 และค่าความเชื่อมั่นการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product - Moment Correlation Coefficient)

            ผลการวิจัยพบว่า

                 1. ภาวะผู้นำครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน 

                 2. การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน

                 3. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 โดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูในโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง เมื่อวิเคราะห์เป็นรายด้าน พบว่า ภาวะผู้นำครูด้านการพัฒนาตนเองและเพื่อนครู
มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูในโรงเรียนด้านการคัดกรองนักเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง และภาวะผู้นำครูด้านการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูในโรงเรียนด้านการส่งเสริมนักเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง

Article Details

Section
บทความวิจัย