การพัฒนาบทเรียนบนเว็บโดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับกระบวนการสอนแบบซินเน็คติกส์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

นิลาวรรณ สิงห์งาม

Abstract

การพัฒนาบทเรียนบนเว็บโดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับกระบวนการสอนแบบซินเน็คติกส์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
THE DEVELOPMENT OF A WEB-BASED THE PROJECT BASED ON THE TEACHING OF SYNNEXTIC RAPTORS TO PROMOTE CREATIVE THINKING FOR STUDENTS IN MATTAYOM 3

บทคัดย่อ

            การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนบนเว็บโดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับกระบวนการสอนแบบซินเน็คติกส์ ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บโดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับกระบวนการสอนแบบแบบซินเน็คติกส์ ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาทักษะการทำงานเป็นทีมของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บโดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับกระบวนการสอนแบบแบบซินเน็คติกส์ ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4) ศึกษาความสัมพันธ์ของความคิดสร้างสรรค์และทักษะการทำงานเป็นทีมของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บโดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับกระบวนการสอนแบบแบบซินเน็คติกส์ ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ วิชเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 5) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บโดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับกระบวนการสอนแบบแบบซินเน็คติกส์ ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 6) ศึกษาพฤติกรรมการเรียนด้วยบทเรียนบนเว็บโดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับกระบวนการสอนแบบแบบซินเน็คติกส์
ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3    

            กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนบ้านนาสีนวล อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร จำนวน 30 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย บทเรียนบนเว็บ  แบบประเมินคุณภาพของบทเรียน แผนการสอน แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินพฤติกรรมการเรียน และ แบบประเมินทักษะการทำงานเป็นทีม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์ และทดสอบสมติฐานด้วย t-test dependent sample ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาบทเรียนบนเว็บโดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับกระบวนการสอนแบบซินเน็คติกส์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีการนำเสนอเนื้อหาบทเรียนตามลำดับตามขั้นตอน และ ผลจากการประเมินคุณภาพบทเรียนโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นต่อบทเรียนบนเว็บ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.60 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.37 โดยรวม พบว่า อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ผลการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของบทเรียนบนเว็บ พบว่า บทเรียนบนเว็บมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 1.10  ซึ่งมีค่าสูงกว่า 1.00 จึงกล่าวได้ว่าบทเรียนที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานของเมกุยแกนส์ 2) การเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บ พบว่า ผลที่ได้จากการทำแบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ก่อนเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 58.10 และผลที่ได้จากการทำแบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์หลังเรียน  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 105.23  แสดงว่าบทเรียนบนเว็บที่พัฒนาขึ้น  ทำให้ความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) การศึกษาทักษะการทำงานเป็นทีมของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บ พบว่า อยู่ในระดับดี โดยรวมมีค่าเฉลี่ย 2.65 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.47 4) การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคิดสร้างสรรค์และทักษะการทำงานเป็นทีมของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บ พบว่า ความสัมพันธ์ของความคิดสร้างสรรค์และทักษะการทำงานเป็นทีมของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (     ) เท่ากับ .598 ค่า p เท่ากับ .000 แสดงว่า คะแนนความคิดสร้างสรรค์ กับ คะแนนทักษะการทำงานเป็นทีมมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่กำหนด 5) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน มีเฉลี่ยเท่ากับ 6.03 และ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมีเฉลี่ยเท่ากับ 20.63 แสดงว่าบทเรียนบนเว็บที่พัฒนาขึ้น ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6) การศึกษาพฤติกรรมการเรียนด้วยบทเรียนบนเว็บ พบว่า พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนหลังจากเรียนด้วยบทเรียนบนเว็บ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 75.71 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 8.55 อยู่ในระดับดี

Article Details

Section
บทความวิจัย