การพัฒนาคู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบไตรสิกขา เพื่อเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อการเรียนคณิตศาสตร์ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

นฤมล จันทร์แดง

Abstract

การพัฒนาคู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบไตรสิกขา เพื่อเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อการเรียนคณิตศาสตร์ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

DEVELOPMENT OF LEARNING ACTIVITY MANUAL BASED ON CONSTRUCTIVIST THEORY IN CONJUNCYION WITH TRISIKHA LEARNING MANAGEMENT TO ENHANCE PRATHOM SUKSA 4 STUDENTS’ MATHEMATICAL RESPONSIBILITY, PROBLEMS S0LVING AND LEARNING ACHIEVEMENTS

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (Quasi - experimental Design) มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้ รายวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบไตรสิกขา ให้มีค่าดัชนีประสิทธิผลตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 2) เปรียบเทียบความรับผิดชอบต่อการเรียนคณิตศาสตร์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยคู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบไตรสิกขา 3) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยคู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบไตรสิกขา 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยคู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบไตรสิกขา 5) เปรียบเทียบความรับผิดชอบต่อการเรียนคณิตศาสตร์ ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่างกัน ที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยคู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบไตรสิกขา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนบ้านหนองบัวแดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 จำนวน 26 คน ได้มาโดย การสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบไตรสิกขา 2) แบบวัดความรับผิดชอบต่อการเรียนคณิตศาสตร์ 3) แบบสังเกตและบันทึกพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อการเรียนคณิตศาสตร์ 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติทดสอบที (t-test for Dependent Sample) การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพหุคูณแบบทางเดียว (One- way MANCOVA) การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบทางเดียว (One- way ANCOVA)

            ผลการวิจัยพบว่า

                 1. คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบไตรสิกขา มีค่าดัชนีประสิทธิผล (The Effectiveness Index : E.I.) เท่ากับ 0.58 และเมื่อจำแนกตามตัวแปรพบว่าความรับผิดชอบต่อการเรียนคณิตศาสตร์ เท่ากับ 0.59 ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เท่ากับ 0.59 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เท่ากับ 0.57 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 0.50 ที่กำหนดไว้

                 2. ความรับผิดชอบต่อการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยคู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบไตรสิกขา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                 3. ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยคู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบไตรสิกขา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                 4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยคู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบไตรสิกขา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                 5. ความรับผิดชอบต่อการเรียนคณิตศาสตร์ ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างนักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่างกัน เมื่อได้รับการสอนด้วยคู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบไตรสิกขา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

Abstract

            The purposes of this Experimental Research study were to 1) Development of a Learning Activity Manual Based on Constructivist Theory in Conjunction with Trisikha Method obtaining the criteria set, 2) compare the students’ Mathematical Responsibility, Abilities to Solve Mathematical Problems and Learning Achievements gained before and after learning  of Prathom Suksa 4 Students 3) compare the students’ Mathematical Responsibility, Abilities to Solve Mathematical Problems and Learning Achievements  whose learning achievement were different (high, moderate and low) after they were taught through Learning Activity Manual Based on Constructivist Theory in Conjunction with Trisikha Method. Learning Activity Manual Based on Constructivist Theory in Conjunction with Trisikha Method. The sampling group consisted of 26 of Prathom Suksa 4 Students using Cluster Random Sampling technique at Bannongbuadaeng School under the Office of the Primary Educational Service Area 2 in the second semester of 2013 academic year. The instruments used were : 1) Learning Activity Manual Based on Constructivist Theory in Conjunction with Trisikha Method, 2) a test of Mathematical Responsibility, 3) behavioral observation of Mathematical Responsibility, 4) a test of Abilities to Solve Mathematical Problems, 5) a test of learning achievement. The statistics employed to analyze the data comprised mean, standard deviation, t – test (Dependent Samples), One – way ANOVA, One – way MANCOVA and One – way ANCOVA.

            The results of the study were as follow

                        1. The manual created based on Constructivist Theory and Trisikha learning management had its effectiveness index (E.X.) of 0.58. The students’ responsibility for learning mathematics was 0.59; their ability to solve mathematical Problems was 0.59; and, their achievement of learning mathematics was 0.57. It was shown that these variables were all higher than the set criteria of 0.50.

                 2. The Mathematical Responsibility of the Students by A Learning Activity Manual Based on Constructivist Theory in Conjunction with Trisikha Method after learning were higher than those before being taught at the .05 level of significance.

3. The Abilities to Solve Mathematical Problems of the Students by A Learning Activity Manual Based on Constructivist Theory in Conjunction with Trisikha Method after learning were higher than those before being taught at the .05 level of significance.

4. The Learning Achievements of the Students by A Learning Activity Manual Based on Constructivist Theory in Conjunction with Trisikha Method after learning were higher than those before being taught at the .05 level of significance.

                 5. The researcher found that the Mathematical Responsibility, Abilities to Solve Mathematical Problems and Learning Achievements of the students who had different learning achievement motivation were significantly different at the .05 level.

Article Details

Section
บทความวิจัย