สภาพ ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2

Main Article Content

สุพจน์ นันทะเทศ

Abstract

สภาพ ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2
SITUATIONS PROBLEMS AND GUIDED DEVELOPMENT OF BUDGETING MANAGEMENT OF THE BASIC EDUCATION SCHOOLS UNDER THE SAKAEO PRIMARYEDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2

 

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 82 คน และครูผู้รับผิดชอบงานงบประมาณ จำนวน 82 คน รวม 164 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 56 ข้อมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .23-.91 และ.22-.88 โดยค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับเท่ากับ .97 และ .96 และแบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และเปรียบเทียบรายคู่โดยวิธีการของ Scheffe'

            ผลการวิจัยพบว่า 

                 1.  สภาพการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนปัญหาการบริหารงบประมาณ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 

                 2.  เปรียบเทียบสภาพและปัญหาการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามตำแหน่งและขนาดสถานศึกษา ทั้งโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

                 3.  แนวทางการพัฒนาการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  สถานศึกษาควรวิเคราะห์ทิศทางและกลยุทธ์ของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์ของสถานศึกษา  ควรศึกษาหลักเกณฑ์  ขั้นตอนและวิธีการจัดสรรงบประมาณตามกรอบวงเงินที่ได้รับ ควรจัดทำแผนการตรวจสอบ ติดตามการใช้เงินและผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ  ควรจัดหารายได้ ผลประโยชน์  จัดทำทะเบียนคุมการเก็บรักษาเงินและการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ควรตรวจสอบ ความถูกต้องของตัวเงินสดและเงินฝากธนาคารตามรายงานเงินคงเหลือประจำวัน  ควรจัดทำระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ทรัพย์สินและจัดทำทะเบียนคุมให้เป็นปัจจุบัน

ABSTRACT

            The purposes of this research were to study of situations, problems and guided development of budgeting management of the basic education schools under the Sakaeo Primary Educational Service Area Office 2. The samples consisted of 82 school directors and 82 school budget practical teachers, the total of 164. The instrument used to collect data included 5 rating scales of evaluation questionnaire with 56 question items reavealing a discriminant level between .23-.91 and .22-.88 and a reliability each edition of .97 and .96, the experts concerning guided development of budgeting management of the basic education schools. The statistical devices were mean, standard deviation, t-test, One-way ANOVA, and Scheffe' test

            The findings were as follows; 

                 1. Situation of budgeting management of the basic education schools in overall were at high level and problems of budgeting management in overall were at average level. 

                 2. The comparison situations and problems of budgeting management of the basic education schools divided by position and size of school in overall and each aspects were significantly difference at .05 level.

                 3. Guided development of budgeting management of the basic education schools as follows: the school should direction analysis and strategic of school in accordance with agencies for stipulate (fix) vision, mission and goals of school; should study the budget allocation, rules and procedures in accordance with the fiscal framework; to make planning for budget and school stuff execute plan of action budget estimate annual; revenue, interest, and registration to work, budget for preserve, and disbursement to organization and legislation; the storage, management, finance and budget control laws and regulations; should examination cash to correctness and bank deposit corresponding and bank registration; should create rules and practices regarding the use of property, and create registry.

Article Details

Section
บทความวิจัย