การจัดบริการสวัสดิการสังคมขององค์การบริหารส่วนตำบลจันทร์เพ็ญ อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร

Main Article Content

วัชราภรณ์ การุญ

Abstract

การจัดบริการสวัสดิการสังคมขององค์การบริหารส่วนตำบลจันทร์เพ็ญ อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร

THE PROVISION OF SOCIAL WELFARE SERVICE OF JUNPEN SUB-DISTRICT ADMINISTRATION ORGANIZATION, TAO-NGOI DISTRICT, SAKON NAKHON PROVINCE

บทคัดย่อ
   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การจัดบริการสวัสดิการสังคม ขององค์การบริหารส่วนตำบลจันทร์เพ็ญ อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นประชาชน ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลจันทร์เพ็ญ อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร จำนวน 375 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้ค่าความเชื่อมั่น .96 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
   ผลการวิจัย พบว่า
      1. การจัดบริการสวัสดิการสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน ขององค์การบริหารส่วนตำบลจันทร์เพ็ญ โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์ รองลงมาคือ ด้านการส่งเสริมและพัฒนาสตรีและกลุ่มแม่บ้าน ด้านการส่งเสริมการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ด้านการส่งเสริมพัฒนาเด็กและเยาวชน ด้านการส่งเสริมกีฬาและนันทนาการ และด้านการพัฒนารายได้และส่งเสริมให้มีงานทำ ตามลำดับ
      2. การเปรียบเทียบการจัดบริการสวัสดิการสังคม ขององค์การบริหารส่วนตำบลจันทร์เพ็ญ ตามคุณลักษณะส่วนบุคคล สามารถสรุปผลได้ดังนี้
         2.1 จำแนกตามคุณลักษณะด้านเพศ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และศาสนา พบว่า การจัดบริการสวัสดิการสังคม ขององค์การบริหารส่วนตำบลจันทร์เพ็ญ ในภาพรวม ไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 1 ด้าน คือ ด้านการส่งเสริมกีฬาและนันทนาการ
         2.2 จำแนกตามคุณลักษณะด้านอายุ อาชีพ พบว่า การจัดบริการสวัสดิการสังคม ขององค์การบริหาร
ส่วนตำบลจันทร์เพ็ญ ทั้งในภาพรวม และรายด้าน ทุกด้าน ไม่มีความแตกต่างกัน
         2.3 จำแนกตามคุณลักษณะด้านระดับการศึกษาพบว่า การจัดบริการสวัสดิการสังคม ขององค์การบริหารส่วนตำบลจันทร์เพ็ญ ในภาพรวม ไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 2 ด้าน คือ 1) ด้านการพัฒนารายได้และส่งเสริมให้มีงานทำ และ 2) ด้านการส่งเสริมกีฬาและนันทนาการ
         2.4 จำแนกตามคุณลักษณะด้านหมู่บ้านที่อาศัยอยู่ พบว่า การจัดบริการสวัสดิการสังคม ขององค์การบริหารส่วนตำบลจันทร์เพ็ญ ในภาพรวม ไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 4 ด้าน คือ 1) ด้านการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์ 2) ด้านการส่งเสริมและพัฒนาสตรีและกลุ่มแม่บ้าน 3) ด้านการส่งเสริมพัฒนาเด็กและเยาวชน และ 4) ด้านการพัฒนารายได้และส่งเสริมให้มีงานทำ
      3. การหาแนวทางในการพัฒนาการดำเนินงานด้านสวัสดิการสังคมขององค์การบริหารส่วนตำบลจันทร์เพ็ญ มีจำนวน 4 ด้าน คือ 1) ด้านการส่งเสริมพัฒนาเด็กและเยาวชน 2) ด้านการพัฒนารายได้และส่งเสริมให้มีงานทำ 3) ด้านการส่งเสริมการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม และ 4) การส่งเสริมกีฬาและนันทนาการ ตามลำดับ


ABSTRACT
   The purpose of this study was to examine the provision of social welfare of Junpen Sub-district Administration Organization, Tao-ngoi district, Sakon Nakhon province. A sample used was 375 people living in the Junpen Sub-district Administration Organization area, Tao-ngoi district, Sakon Nakhon province who were randomly selected. The instrument used for collecting data was a questionnaire which had a reliability coefficient of .96 and statistics used to analyze data were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test and one-way ANOVA.
   The findings disclosed as follows:
      1. The provision of social welfare for development of people’s quality of life by Junpen Sub-district Administration Organization as a whole and each aspect was at moderate level. As arranged by rank order of higher to lower levels respectively, those aspects of the provision of social welfare were: giving money for sustaining life to the aged, the disabled and the AIDS patients, promoting and developing women and a group of housewives, promotion of education, religion and culture, promotion of child and youth development, promotion of sports and entertainment, and development of income and promotion of being employed.
      2. The provision of social welfare service for development of people’s quality of life by Junpen Sub-district Administration Organization in comparison between the respondents of a different personal background can be concluded as follows:
         2.1 As classified by sex, income per month and religion, it was found that the provision of social welfare service of Junpen Sub-district Administration Organization as a whole was not different. Considering it by aspect, one of them was significantly different at the .05 level, namely promoting sports and entertainment.
         2.2 As classified by age and occupation, it was found that the provision of social welfare service of Junpen Sub-district Administration Organization both as a whole and each aspect was not different.
         2.3 As classified by educational attainment, it was found that the provision of social welfare service of Junpen Sub-district Administration Organization as a whole was not different. Considering it by aspect, 2 aspects were found significantly different at the .05 level, namely 1) development of income and promotion of being employed, and 2) promoting sports and entertainment.
         2.4 As classified by residential area, it was found that the provision of social welfare service of Junpen Sub-district Administration Organization as a whole was not different. Considering it by aspect, 4 aspects were found significantly different at the .05 level, namely 1) giving money for sustaining life to the aged, the disabled and the AIDS patients, 2) promoting and developing women and a group of housewives, 3) promoting the development of children and youths, and 4) development of income and promotion of being employed.
      3. A way to develop the management of social welfare service of Junpen Sub-district Administration Organization includes 4 aspects, namely 1) promoting the development of children and youths, 2) development of income and promotion of being employed, 3) promotion of education, religion and culture, and 4) promoting sports and entertainment.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

วัชราภรณ์ การุญ

นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร