สภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดสกลนคร 4 ปี พ.ศ. 2557 - 2560 สำนักงานจังหวัดสกลนคร

Main Article Content

วาริยา กำทองดี

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพระดับปัญหาการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดสกลนคร 2) เปรียบเทียบสภาพปัญหาในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดสกลนครตามคุณลักษณะส่วนบุคคล 3) แสวงหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาและข้อเสนอแนะการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ จำนวน 236 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t (t-test) และการทดสอบค่า F (F – test) กรณีพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการ LSD


          ผลการวิจัยพบว่า


              1. ระดับสภาพปัญหาการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดสกลนคร โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน


                 2. ผลการเปรียบเทียบสภาพปัญหาการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดสกลนครตามลักษณะส่วนบุคคล พบว่า


                      2.1 ผู้ที่มีระดับตำแหน่งแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหาการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน


                      2.2 ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดสกลนครที่มีประสบการณ์การทำงานด้านการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหาการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดสกลนคร ในภาพรวมและรายด้านแตกต่างกัน


                 3. ปัญหาในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดสกลนคร ที่ควรนำไปศึกษาหาแนวทางในการพัฒนาคือ 1) ด้านการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT) และ 2) ด้านประเด็นยุทธศาสตร์และการพัฒนา


 


 


 


 


ABSTRACT


 


             The purposes of this study were: 1) to investigate a degree of the problem state of making a SakonNakhon provincial development plan, 2) to compare the problem state in making a SakonNakhon provincial development plan according to the personal background, and 3) to seek a way to solve the problem and some suggestions for making a SakonNakhon provincial development plan. A sample used in this study consisted of 236 people. The instrument used in collecting data was a questionnaire. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test and F-test. In case a significant difference was found at the .05 level, a pairwise comparison would be tested using the LSD method.


                 Findings of the study were as follows:


  1. The problem state of making a SakonNakhon provincial development

plan as a whole was at moderate level.


                      2. The comparisons of problem state in making a SakonNakhon provincial


development plan according to the personal background were found as follows:


2.1 Those whose levels of position were different had no different


opinion on the problem state of making a SakonNakhon provincial development plan as a whole.


2.2 Those who were involved with making a SakonNakhon provincial


development plan whose work experiences of making a SakonNakhon provincial development plan were different had a different opinion on the problem state of making a SakonNakhon provincial development plan as a whole and as each aspect.


                      3.   The problem in making a SakonNakhon provincial development plan


that should be brought to investigate to find a way to the development comprised 2 aspects:  1) the aspect of environment analysis (SWOT analysis) and 2) the aspect of strategic issues and development.

Article Details

Section
บทความวิจัย