โลหะหนักในฝุ่นละออง (PM10) บริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสาร จังหวัดพิษณุโลก

Authors

  • กาญจนา มะนาวหวาน
  • พาณิชย์ โพตะกาว
  • ประกฤษฎิ์ จันทร์รักษ์
  • ธันวดี ศรีธาวิรัตน์

Keywords:

ฝุ่นละออง, โลหะหนัก, มลพิษทางอากาศ

Abstract

งานวิจัยนี้ศึกษาโลหะหนักในฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) บริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสาร จังหวัดพิษณุโลก แห่งที่ 1 และ 2 โดยทำการเก็บตัวอย่างฝุ่นละออง PM10       ด้วยเครื่องเก็บอากาศแบบปริมาตรต่ำ (air metrics) เป็นเวลา 8 ชั่วโมงและศึกษาทัศนคติด้านมลพิษทางอากาศโดยการเก็บแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม คือ ประชาชนทั่วไป ผู้อยู่อาศัยและพนักงาน จำนวน 940 คน การศึกษาพบว่าสถานีขนส่งผู้โดยสาร แห่งที่ 1 และ 2 มีค่า PM10 อยู่ในช่วง 82.72-280.90 µg/m3 และ 73.62-299.84 µg/m3 ตามลำดับ การวิเคราะห์โลหะหนักใน PM10 พบว่าเหล็กมีค่าสูงสุด (ND-32.05 , ND-5.10 µg/m3) รองลงมาคือ ตะกั่ว (ND–1.29 , ND–1.25 µg/m3) สังกะสี (ND-0.55 , ND–0.92 µg/m3)ทองแดง (ND–0.38 , ND–0.34 µg/m3) และแคดเมียม (ND–0.04 , ND–0.06 µg/m3) ตามลำดับ การศึกษาด้านทัศนคติพบว่าผู้อยู่อาศัยมีทัศนคติเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศอยู่ในระดับสูงที่สุด ซึ่งได้แก่ มีความรู้เกี่ยวกับมลพิษด้านฝุ่นละออง (33.33%) แหล่งกำเนิดของฝุ่นละอองภายในสถานีขนส่งเกิดมาจากจำนวนรถโดยสารขาเข้าและขาออก (42.11%) ส่วนทัศนคติของพนักงานและประชาชน       มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงและระดับปานกลาง ตามลำดับ ด้านปัญหาสุขภาพพบว่าผู้อาศัย               มีอาการระคายเคือง ตาแดง คันตา เมื่อถูกฝุ่นละออง (26.32%) และมีอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ (24.56%) โดยกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่ม มีอาการผื่นคันตามร่างกายหรือมีลมพิษและมีอาการไอ เจ็บคอ จากการแพ้ฝุ่นละออง 

This research studied heavy metal concentrations in particles smaller than 10 microns (PM10) at the in Phitsanulok bus terminal 1 and 2. PM10 was collected by a mini volume air sampler (Air metrics) for 8 hours. Attitude regarding air pollution was investigated by questionnaires from 940 correspondents in three sample groups, namely; passengers, residents and staff. Results showed that PM10 concentrations in terminal 1 and 2 were in the range of 82.72-280.90 µg/m3 and 73.62-299.84 µg/m3 respectively. Heavy metal analysis showed that Fe was found to be the highest in PM10 (ND-32.05 , ND-5.10 µg/m3) followed by Pb (ND-1.29 , ND-1.25 µg/m3), Zn (ND-0.55 , ND-0.92 µg/m3) Cu (ND-0.38 , ND-0.34 µg/m3) and Cd (ND-0.04 , ND-0.06 µg/m3). The study of attitude of air pollution showed that the residents have the highest level i.e. knowledge of dust (33.33%), source of dust was traffic in the stations (42.11%). The staff and passengers have high and medium level, respectively. For health problem, the residents have eye red and irritation when exposing dust (26.32%) and respiratory system problem (24.56%). All of sample groups have skin rash and cough from dust allergies.

 

Downloads

Published

2016-06-03

How to Cite

มะนาวหวาน ก., โพตะกาว พ., จันทร์รักษ์ ป., & ศรีธาวิรัตน์ ธ. (2016). โลหะหนักในฝุ่นละออง (PM10) บริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสาร จังหวัดพิษณุโลก. PSRU Journal of Science and Technology, 1(3), 1–9. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/Scipsru/article/view/57942

Issue

Section

Research Articles