คำแนะนำในการส่งบทความ

รูปแบบของบทความ

แบบฟอร์ม :  รูปแบบบทความวิจัย

                      รูปแบบบทความวิชาการ

การส่งต้นฉบับ

          ส่งต้นฉบับบทความผ่านระบบออนไลน์ทางเว็บไซต์ของวารสาร PSRU Journal of Science and Technology คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/Scipsru/login

 การพิจารณาลงตีพิมพ์

  1. วารสารนี้จะรับตีพิมพ์บทความในสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมในสาขาวิทยาศาสตร์สิ่งมีชีวิต (Life sciences) และวิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical sciences) เท่านั้น
  2. ต้นฉบับที่ส่งมาให้พิจารณาลงตีพิมพ์จะต้องไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่นมาก่อน และจะต้องไม่ส่งตีพิมพ์ซ้ำซ้อนในวารสารหลายฉบับในเวลาเดียวกัน
  3. การตีพิมพ์บทความลงในวารสารจะเรียงตามลำดับก่อน-หลัง ตามวันที่ได้รับเรื่อง บทความทุกบทความที่ส่งมาจะได้รับการตรวจสอบเบื้องต้นโดยกองบรรณาธิการวารสารฯ เพื่อพิจารณาตอบรับหรือปฏิเสธการตีพิมพ์ เมื่อบทความผ่านตรวจสอบขั้นต้นแล้วจะถูกส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อยบทความละ 3 ท่าน ทำการพิจารณากลั่นกรองและประเมินคุณภาพของบทความ (Peer review) โดยการประเมินคุณภาพบทความเป็นแบบ Double-blind review
  4. บทความที่จัดส่งเพื่อขอตีพิมพ์ในวารสารฯ ต้องผ่านการพิจารณาจากกองบรรณาธิการเบื้องต้น ประกอบด้วย
    • ความสอดคล้องกับศาสตร์ที่ตรงตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสารฯ
    • การคัดลอกผลงาน (Plagiarism) ไม่ควรเกิน 10%
    • ความลุ่มลึกของเนื้อหา
    • ตรงตามรูปแบบการเตรียมต้นฉบับบทความที่วารสารกำหนด
  1. กองบรรณาธิการ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตีพิมพ์บทความทุกเรื่อง รวมทั้ง
    การปรับปรุงแก้ไขตัวอักษรและคำสะกดต่าง ๆ ที่ไม่ถูกต้องของบทความบางส่วน ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพของบทความ
  2. กองบรรณาธิการ ขอสงวนสิทธิ์ในปฏิเสธการลงตีพิมพ์ หากผู้เขียนไม่ดำเนินการบทความแก้ไขตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพของบทความ ให้เสร็จสมบรูณ์ในระบบออนไลน์ภายใน 30 วัน ซึ่งผลการพิจารณาคัดเลือกบทความตีพิมพ์ในวารสารให้ถือมติของกองบรรณาธิการเป็นที่สิ้นสุด

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

          ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

          — ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่บทความดังกล่าวในที่ใดมาก่อน

          — ไฟล์ที่ส่งจะต้องทำตามรูปแบบที่ตามคำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับเท่านั้น โดยพิมพ์ต้นฉบับด้วยโปรแกรม Microsoft Word กำหนดตัวอักษรภาษาไทยและตัวอักษรภาษาอังกฤษแบบ TH Niramit AS

           — รูปภาพประกอบ (Figure) บันทึกเป็นไฟล์ที่มีความละเอียดไม่ต่ำกว่า 300 dpi

           — ชื่อเรื่อง/บทความ  มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

           — ชื่อ/ที่อยู่ผู้เขียน  มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

           — บทคัดย่อ มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

           —  คำสำคัญ มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

คำแนะนำผู้แต่ง

          การเตรียมต้นฉบับ

          ต้นฉบับบทความต้องมีเนื้อเรื่องสมบูรณ์ในฉบับ โดยพิมพ์ต้นฉบับด้วยโปรแกรม Microsoft Word เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ลงในกระดาษขนาด B5 (182 x 257 มิลลิเมตร) กำหนดตัวอักษรภาษาไทยและตัวอักษรภาษาอังกฤษแบบ TH Niramit AS ขนาดตัวอักษร 14 ตั้งค่าหน้ากระดาษด้านบน (Top) 1.95 เซนติเมตร ขอบล่าง (Bottom) 2.54 เซนติเมตร ขอบซ้าย (Left) 2.54 เซนติเมตร ขอบขวา (Right) 2.54 เซนติเมตร พิมพ์คอลัมน์เดียว หน้าเดียว จัดขอบให้ชิดทั้งสองด้าน และมีความยาวทั้งเรื่องไม่เกิน 12 หน้า

คำแนะนำในการเขียนบทความ

1.  บทความวิจัย

     1.1  ชื่อเรื่อง/บทความ (Title) มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใช้ตัวอักษรแบบ TH Niramit AS ขนาดตัวอักษร 18
ตัวหนา

     1.2 ชื่อ/ที่อยู่ผู้เขียน (Author name & Affiliation) มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใช้ตัวอักษรแบบ TH Niramit AS ขนาดตัวอักษร 15 โดยระบุชื่อผู้เขียนพร้อมด้วยสถานที่ทำงาน/หน่วยงานที่สังกัด และ e-mail  ของผู้เขียนแต่ละคนที่มีส่วนในงานวิจัยนั้นเรียงตามลำดับความสำคัญ ใช้ตัวอักษรแบบ TH Niramit AS ขนาดตัวอักษร 12

     1.3 บทคัดย่อ (Abstract) มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรกล่าวถึงวัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการวิจัย และสรุปสาระสำคัญของผลที่ได้จากงานวิจัยนั้นๆ โดยบทคัดย่อควรเขียนเป็นความเรียงมีความยาวไม่เกิน 300 คำ เพียง 1 ย่อหน้า และมีความยาวรวมกันไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ B5 โดยใช้ตัวอักษรแบบ TH Niramit AS ขนาดตัวอักษร 14  

     1.4  คำสำคัญ (Keywords) มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จำนวน 3 - 5 คำ

     1.5 บทนำ (Introduction) เป็นส่วนของความสำคัญที่นำไปสู่การวิจัย โดยสรุปความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ข้อมูลทางวิชาการพร้อมวัตถุประสงค์ของการวิจัย และการตรวจ เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Literature review) โดยใช้รูปแบบการเขียนอ้างอิงตามระบบ American psychological association (APA) 6th edition และไม่ควรใส่ตารางหรือรูปภาพ       

     1.6 วิธีดำเนินการวิจัย (Materials and Methods) อธิบายเครื่องมือและวิธีการดำเนินการวิจัยให้กระชับและชัดเจน บอกรายละเอียดสิ่งที่นำมาศึกษา จำนวน ลักษณะเฉพาะของตัวอย่างที่ศึกษา ตลอดจนเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการศึกษา หัวข้อวิธีการศึกษา อธิบายรูปแบบแผนการศึกษา การสุ่มตัวอย่าง วิธีหรือมาตรการที่ใช้ศึกษา วิธีการเก็บข้อมูล วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล และสถิติที่ใช้

     1.7 ผลการวิจัย (Results) บรรยายผลการวิจัยอย่างกระชับและชัดเจน ควรมีภาพ แผนภูมิ และ/หรือตารางประกอบการอธิบายผล โดยระบุความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหากับภาพ แผนภูมิและ/หรือตารางที่แสดง  หลีกเลี่ยงการใช้คำซ้ำซ้อนซึ่งมีความหมายตรงกับคำอธิบายที่มีอยู่แล้วในตารางหรือรูปภาพประกอบแต่ได้สาระครบถ้วน และต้องมีการแปลความหมายของผลที่ค้นพบหรือวิเคราะห์

     1.8 อภิปรายผล (Discussion) บรรยายสรุปผลการวิจัยอย่างกระชับ และแปลความหมายของผลที่ค้นพบหรือวิเคราะห์ และวิจารณ์เปรียบเทียบกับผลการวิจัยที่มีมาก่อนหน้าอย่างมีหลักการ รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยในอนาคตและแนวทางที่จะนำไปใช้ประโยชน์

     1.9 สรุปผลการวิจัย (Conclusions) สรุปสาระสำคัญของงานวิจัยอย่างกระชับชัดเจน และไม่คลุมเครือ ไม่ซ้ำซ้อนกับบทคัดย่อ รวมถึงสรุปผลการวิจัยว่าสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยหรือไม่ อย่างไร พร้อมระบุเหตุผล และเสนอแนวทางการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

     1.10 กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgment) ควรจะมีเพื่อแสดงคำขอบคุณสำหรับแหล่งทุนสนับสนุนหรือผู้ช่วยเหลืองานวิจัยและเตรียมเอกสารจนกระทั่งงานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

     1.11  เอกสารอ้างอิง (References) ใช้ตัวอักษรแบบ TH Niramit AS ขนาดตัวอักษร 12 โดยใช้รูปแบบเขียนเอกสารอ้างอิงที่วารสารฯ กำหนด ซึ่งอ้างอิงตามระบบ American psychological association (APA) 6th edition

2.  บทความวิชาการ

     2.1  ชื่อเรื่อง/บทความ (Title) มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใช้ตัวอักษรแบบ TH Niramit AS ขนาดตัวอักษร 18 ตัวหนา         

     2.2  ชื่อ/ที่อยู่ผู้เขียน (Author name & Affiliation) มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใช้ตัวอักษรแบบ TH Niramit AS ขนาดตัวอักษร 15 โดยระบุชื่อผู้เขียนพร้อมด้วยสถานที่ทำงาน/หน่วยงานที่สังกัด และ e-mail ของผู้เขียนแต่ละคนที่มีส่วนในงานวิจัยนั้นเรียงตามลำดับความสำคัญ ใช้ตัวอักษรแบบ TH Niramit AS ขนาดตัวอักษร 12       

     2.3  บทคัดย่อ (Abstract) มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรกล่าวถึงวัตถุประสงค์ และสรุปสาระสำคัญของผลที่ได้จากงานวิจัยนั้นๆ โดยบทคัดย่อควรเขียนเป็นความเรียงมีความยาวไม่เกิน 300 คำ เพียง 1 ย่อหน้า และมีความยาวรวมกันไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ B5 โดยใช้ตัวอักษรแบบ TH Niramit AS ขนาดตัวอักษร 14

     2.4  คำสำคัญ (Keywords) มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จำนวน 3 - 5 คำ

     2.5  บทนำ (Introduction) เป็นส่วนข้อมูลที่มาและสาเหตุของการเขียนบทความที่มีลักษณะการกล่าวนำเรื่องโดยให้ความรู้เบื้องต้น บอกเจตนาของผู้เขียนหรือตั้งคำถาม ซึ่งผู้เขียนอาจเขียนให้ผู้อ่านสนใจติดตามเนื้อเรื่อง และมีการตรวจเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Literature review) โดยใช้รูปแบบการเขียนอ้างอิงตามระบบ American psychological association (APA) 6th edition

     2.6  เนื้อหา (Text) ส่วนสำคัญที่สุดของบทความ เพราะเป็นส่วนที่รวบรวมความรู้ สาระต่างๆ และความคิดเห็นของผู้เขียน          

     2.7 สรุป (Conclusion) สรุปสาระสำคัญที่ได้จากการศึกษา

     2.8  กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgment) ควรจะมีเพื่อแสดงคำขอบคุณสำหรับแหล่งทุนสนับสนุนหรือผู้ช่วยเหลืองานวิจัยและเตรียมเอกสารจนกระทั่งงานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

     2.9  เอกสารอ้างอิง (References) ใช้ตัวอักษรแบบ TH Niramit AS ขนาดตัวอักษร 12 โดยใช้รูปแบบเขียนเอกสารอ้างอิงที่วารสารฯ กำหนด ซึ่งอ้างอิงตามระบบ American psychological association (APA) 6th edition โดยเปลี่ยนรูปแบบการเขียนจากตัวเอียงเป็นตัวหนา

 การอ้างอิงเอกสารในเนื้อเรื่องของบทความ

       การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา เช่น 

  1. (ชื่อผู้แต่ง, ปีพิมพ์) ไว้ท้ายข้อความที่อ้างอิง

           (ทินพันธุ์, 2561) กรณีที่ผู้แต่งมี 1 คน

          (ทินพันธุ์ และชม, 2561) กรณีที่ผู้แต่งมี 2 คน

          (ทินพันธุ์, ชม และทะเนตร, 2561) กรณีที่ผู้แต่งมี 3 คน

          (Murphy, 2018) กรณีที่ผู้แต่งมี 1 คน

          (Murphy & McCartney, 2018) กรณีที่ผู้แต่งมี 1 คน

          (Murphy, McCartney & Phillips, 2018) กรณีที่ผู้แต่งมี 1 คน

          (ทินพันธุ์ และคณะ, 2549) กรณีผู้แต่งมีมากกว่า 3 คน ให้เติม และคณะ

          (Murphy et al., 1999) กรณีผู้แต่งมีมากกว่า 3 คน ให้เติม et al. หลังชื่อผู้แต่งคนแรก

          (ทินพันธุ์ และคณะ, 2549; Murphy & McCartney, 2018) กรณีอ้างอิงมากกว่าสองแหล่งใช้เครื่องหมาย “ ; ” ขั้นระหว่างชื่อผู้แต่ง (ทั้งชื่อผู้แต่งที่เป็นชาวไทยและชาวต่างประเทศให้เรียงลำดับชื่อผู้แต่งที่เป็นชาวไทยก่อนชาวต่างประเทศ และเรียงลำดับตามตัวอักษรและสระ)

  1. ผู้แต่ง (ปีพิมพ์) กรณีมีการระบุชื่อผู้แต่งในเนื้อหาแล้ว (ปีพิมพ์และผู้แต่งสามารถสลับที่กันได้) ไม่ต้องระบุไว้ในวงเล็บท้ายข้อความที่อ้างอีก เช่น

           ทินพันธุ์ (2561) ได้ศึกษาถึง....................................................................................

           Murphy et al. (2018) ได้ศึกษาถึง………………………………………………...……………………..….

          ในปี 2561 ทินพันธุ์ ได้ให้ความหมายของคำว่า.......................................................

           กรณีที่ผู้แต่งมียศ ตำแหน่งวิชาการ หรือมีคำเรียกทางวิชาชีพ เช่น พลเอก ศาสตราจารย์ นายแพทย์ นายสัตวแพทย์ เป็นต้น ไม่ต้องใส่ยศ ตำแหน่งวิชาการ หรือมีคำเรียกทางวิชาชีพ เช่น

            ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทะเนตร อุฤทธิ์ (2561) อ้างอิงเป็น ทะเนตร (2561) 

            ทันตแพทย์เชิดพันธุ์ เบญจกุล (2561) อ้างอิงเป็น เชิดพันธุ์ (2561) 

  1. การอ้างอิงเอกสารที่ไม่สามารถหาต้นฉบับจริงได้ (อ้างอิงจากแหล่งรอง) ให้อ้างจากเล่มที่พบ โดยใช้คำว่า อ้างถึงใน หรือ as cited in เช่น

            กาญจนา, 2538 อ้างถึงใน เกศินี, 2540

            Allport’s diary as cited in Nicholson, 2003

  1. การอ้างอิงเอกสารที่เป็นหน่วยงาน เช่น

           (สำนักระบาดวิทยา, 2547)

           (World Health Organization, 2011)

           (สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง, 2557; World Health Organization, 2016)

  1. เอกสารที่อยู่ระหว่างการตีพิมพ์ (In press) ในกรณีที่ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์โดยวารสารนั้นแล้ว ใช้คำว่า “in press” และใส่ในรายการอ้างอิง เช่น (Smith & Adam, in press)
  2. เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์ (Unpublished citations) ได้แก่ abstract รวมทั้งเอกสารที่อยู่ในระหว่างกระบวนการส่งเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ (Submitted) การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล (Personal communications) การสังเกตโดยบุคคล (Personal observations) ให้อ้างไว้ในเนื้อหาของบทความโดยระบุเป็น unpublished เช่น (Smith & Adam, in press; Frost & Liang, unpublished; Norby, pers. comm.; Fitter pers. obs.) แต่ไม่ต้องใส่ในรายการอ้างอิงเอกสาร

การอ้างอิงเอกสารท้ายเล่ม                                   

         เอกสารอ้างอิง (References) ใช้ตัวอักษรแบบ TH Niramit AS ขนาดตัวอักษร 12 โดยใช้รูปแบบเขียนเอกสารอ้างอิงที่วารสารฯ กำหนด ซึ่งอ้างอิงตามระบบ American psychological association (APA) 6th edition โดยเปลี่ยนรูปแบบการเขียนจากตัวเอียงเป็นตัวหนา ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยเรียงลำดับเอกสารภาษาไทยก่อนภาษาอังกฤษ และเรียงลำดับตามตัวอักษรและสระ และตามจำนวนผู้เขียน กรณีผู้เขียนคนเดียวกันให้เรียงตามปี เช่น

การเขียนเอกสารอ้างอิงจากหนังสือ

ชื่อ-ชื่อสุกลผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อหนังสื่อ./(ครั้งที่พิมพ์)./เมืองที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์. เช่น

ชวลิต วิทยานนท์. (2547). ปลาน้ำจืดไทย. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์. 

มั่นสิน ตัณฑุลเวศม์. (2538). คู่มือวิเคราะห์คุณภาพน้ำ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรดี สหวัชรินทร์. (2542). เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย
        เกษตรศาสตร์.

Alberts, B., Johnson, A., Lewis, J., Raff, M., Roberts, K. & Walter, P. (2002). Molecular biology of the
        cell.
(4th ed.). New York: Garland Science.

การเขียนรายการอ้างอิงจากบทความ

ชื่อ-ชื่อสกุลผู้เขียนบทความ./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ในชื่อบรรณาธิการ(ถ้ามี),/ชื่อหนังสือ,/เลขหน้า./เมืองที่พิมพ์:/
        สำนักพิมพ์. เช่น

ชัยพร วิชชาวุธ. (2518). การสอนในระดับอุดมศึกษา. ในการสอนและการวัดผลการศึกษา, หน้า 1-30. พระนคร: ฝ่าย
        วิชาการ  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

การเขียนเอกสารอ้างอิงจากวารสารวิชาการ

ชื่อ-ชื่อสกุลผู้เขียนบทความ./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/ปีที่(เล่มที่),/เลขหน้า. เช่น

สกุลรัตน์ อุษณาวรงค์. (2549). สังกะสี (Zine) กับภาวะความดันโลหิตสูง. วารสารศูนย์บริการวิชาการ, 14(2),
        23-28.

Aksu, Z. (2001). Biosorption of reactive dyes by dried activated sludge: equilibrium and kinetic
        modeling. Biochemical Engineering Journal, 7, 79-84.

Dlamini, N.P., Mamba, B.B. & Mulaba-Bafubiandi, A. F. (2010). The effect of silica concentration on
        the biosorption of Cu2+ and Co2+ from aqueous solutions mediated by strains of Bacillus.
        Water SA, 36(4),  445 -450.

การเขียนเอกสารอ้างอิงจากรายงานวิจัย หรือรายงานประจำปี หรือรายงานทางเทคนิค

ชื่อ-ชื่อสกุลผู้วิจัย./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง/(รายงานผลการวิจัย)./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์. เช่น

นฤมล เถื่อนกูล. (2551). การใช้สารสีจากแอคติโนมัยซีตในการย้อมสีเส้นใยไหมและเส้นใยฝ้าย (รายงาน
        การวิจัย). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

Yingram, M. (2017). Development of Pulsewidth Modulation Technique for Inverter-Based DG in
        Electric Power Systems
(Research report). Chaiyaphum: Chaiyaphum Rajabhat University.

การเขียนเอกสารอ้างอิงจากเอกสารประกอบการประชุมวิชาการ (Proceedings)

ชื่อ-ชื่อสกุลผู้วิจัย./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง./ใน/ชื่อบรรณาธิการ/(บ.ก.),/ชื่อการประชุม/(น./เลขหน้า)./สถานที่พิมพ์:/
        สำนักพิมพ์. เช่น

ธมนวรรณ กัญญาหัตถ์, และศรัณยพงศ์ เที่ยงธรรม. (2554). ความพึงพอใจของผุ้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อ
        ประโยชน์ของสมาร์ทโฟน. ใน ชนัญชี (บ.ก.), กระบวนทัศน์มหาวิทยาลัยไทยบนความท้าทายของเอเชียปาซิฟิก
        (น. 119-121). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ปวริศา มีสุขเสมอ, และกาญจนา ธนนพคุณ. (2559). ความหลากหลายของวัชพืชในนาข้าว ตำบลวัดจันทร์ อำเภอเมือง
        จังหวัดพิษณุโลก. ใน การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 54 (น. 407-414) กรุงเทพฯ:
        มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Monton, C., Duangjit, S., Chankana, N., Charoenchai, L. & Suksaeree, J. (2017). The Optimazation of
        the Anthraquinones Extraction from Senna tora Seeds Using Two-Factor Spherical Composite
        Experimental Design. Proceedings of the RSU International Research Conference (pp. 88–96).
        Bangkok: Rangsit  University.

Soutar, G., & Mazzarol, T. W. (1995). Gaining competitive advantage in education services exports:
        Forward integration and strategic alliances in a maturing market. In G. Tower (Ed.), Proceeding
        of the Academy of International Business Southeast Asia Regional Conference, Asia Pacific
        International Business: Regional integration and global competitiveness
(pp. 85-110). Perth:
        Murdoch University.

Gaurav, N.G., & Mohan, V.A. (2012, December). A Comparative Performance of Six-Phase Nine
         Switch  Inverter Operation with SPWM and SVPWM.
Paper presents in 2012 IEEE International
         Conference on Power Electronics, Bengaluru, India.

การเขียนเอกสารอ้างอิงจากวิทยานิพนธ์

ชื่อ-ชื่อสกุลผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง./(ระดับวิทยานิพนธ์)./ชื่อมหาวิทยาลัย,/ชื่อคณะ,/ชื่อสาขาวิชา. เช่น

ขวัญชีวัน วิริยะเจริญมงคล. (2549). การบำบัดน้ำทิ้งจากโรงงานชุบโลหะสำหรับอุตสาหกรรม SME โดย
        กระบวนการเกาะขั้วด้วยไฟฟ้าเคมี.
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,
        คณะวิศวกรรมศาสตร์, สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม.

Chanasut, N. (2007). Maximum Power Control of Grid-connected Solid Oxide Fuel Cell System
        using
Adaptive Fuzzy Logic Controller. (Master’s thesis). Chiang Mai University, Thailand.

การเขียนเอกสารอ้างอิงจากราชกิจจานุเบกษา

ชื่อกฎหมาย./(ปีที่พิมพ์)./ราชกิจจานุเบกษา,/เล่มที่/(ตอนที่.//หน้า),/เลขหน้า.

ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2559). ราชกิจจานุเบกษา, 133 (ตอนพิเศษ 129 ง), 17-21.

การเขียนเอกสารอ้างอิงจากข้อมูลเว็บไซต์

ชื่อ-ชื่อสกุลผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./สืบค้นเมื่อวัน/เดือน/ปี,/จาก/http://www.xxxxxxxxxx

นิคม ละอองศิริวงศ์, และชัชวาล อินทรมนตรี. (2544). การวิเคราะห์ตะกอนดิน. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2560, จาก
       http://eco-town.dpim.go.th/webdatas/articles/ArticleFile697.pdf

ลิลี.(2559). สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2562, จากวิกิพีเดีย https://th.wikipedia.org/wiki/ลิลี

WCSP. (2019). World Checklist of Selected Plant Families. Retrieved September, 6, 2019, from
        http://wcsp.science.kew.org/ Royal Botanic Garden Kew Science: Kew.org

การเขียนเอกสารอ้างอิงจากหนังสือพิมพ์ และหนังสือพิมพ์ออนไลน์

          หนังสือพิมพ์

ชื่อ-ชื่อสกุลผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์,/วัน/เดือน)./ชื่อบทความ./ชื่อหนังสือพิมพ์,/น.เลขหน้า. เช่น

พนิดา สงวนเสรีวานิช. (2554, 24 เมษายน). พระปลัดสุชาติสุวัฑฺฒโก ปกาเกอะญฮ นักพัฒนา. มติชน, น. 17-18.

Boonnoon, J. (2011, April 28). Manufacturers flood Thai market. The Nation, p. 11.

          หนังสือพิมพ์ออนไลน์

ชื่อ-ชื่อสกุลผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์,/วัน/เดือน)./ชื่อบทความ./ชื่อหนังสือพิมพ์./สืบค้นเมื่อวัน/เดือน/ปี,
        จาก/http://www.xxxxxxxxxx

ทีมข่าวเศรษฐกิจ. (2554, 3 พฤษภาคม). บางจากฟุ้งไตรมาสแรกปี 54 กำไรพุ่งกว่า 1.4 พันล้าน. ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ
        3 พฤษภาคม  2554, จาก http;//www.thairath.co.th/content/eco/168677

Kehr, D. (2011, May 1). The hard work of comedy and straight-shooting. Bangkok Post. Retrieved
        September, 17, 2015, from http://mii.matichon.co.th/imagedoc/54/21/19/54211902.PDF

การเขียนเอกสารอ้างอิงจากเอกสารวิชาการอื่นๆ

          เอกสารวิชาการ

ชื่อ-ชื่อสกุลผู้เขียนหรือหน่วยงาน.(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่องหรือชื่อหนังสือ./(ประเภทของเอกสาร)./สถาบันหรือหน่วยงานที่
        จัดพิมพ์,/เมืองที่พิมพ์./จำนวนหน้าทั้งหมด. เช่น

ทวีศักดิ์  ชโยภาส. (2544). แมลงศัตรูปาล์มน้ำมันในประเทศไทย. (เอกสารวิชาการ). กองกีฏและสัตววิทยา
         กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 126 หน้า.

          สิทธิบัตร

ชื่อผู้ประดิษฐ์หรือผู้สร้างสรรค์./(ปีที่อนุมัติสิทธิบัตร)./ชื่อสิทธิบัตรและหมายเลข./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์. เช่น

อาริมาสะ คากะ. (2553). สิทธิบัตรไทย เลขที่ 28634. กรุงเทพฯ: ทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์.

                  **การอ้างอิงเว็บไซต์ควรอ้างอิงเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้ มีชื่อผู้แต่ง ปีที่ลงข้อมูลอย่างชัดเจน**