About the Journal

Focus and Scope

        วารสาร PSRU Journal of Science and Technology เป็นวารสารของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านวิชาการและงานวิจัย โดยตีพิมพ์บทความวิจัย (Research article) และบทความวิชาการ (Review article) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ทางด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมในสาขาต่างๆ ดังนี้           

        1.  วิทยาศาสตร์สิ่งมีชีวิต (Life sciences)     

        2.  วิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical sciences)

Peer Review Process

        บทความทุกบทความที่ส่งมาจะได้รับการตรวจสอบเบื้องต้นโดยกองบรรณาธิการวารสารฯ เพื่อพิจารณาตอบรับหรือปฏิเสธการตีพิมพ์ เมื่อบทความผ่านตรวจสอบขั้นต้นแล้วจะถูกส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อยบทความละ 3 ท่าน ทำการพิจารณากลั่นกรองและประเมินคุณภาพของบทความ โดยการประเมินคุณภาพบทความเป็นแบบ Double-blind review

        กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงแก้ไขตัวอักษรและคำสะกดต่างๆ ที่ไม่ถูกต้อง และต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร PSRU Journal of Science and Technology ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และผลการพิจารณาคัดเลือกบทความตีพิมพ์ในวารสารให้ถือมติของกองบรรณาธิการเป็นที่สิ้นสุด 

Publication Frequency

        วารสาร PSRU Journal of Science and Technology มีกำหนดตีพิมพ์บทความราย 4 เดือน ปีละ 3 ฉบับ ดังนี้

        ฉบับที่  1  ประจำเดือนมกราคม ถึง เดือนเมษายน

        ฉบับที่  2  ประจำเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนสิงหาคม

        ฉบับที่  3  ประจำเดือนกันยายน ถึง เดือนธันวาคม   

จริยธรรมการตีพิมพ์ (Publication Ethics)

       วารสาร PSRU Journal of Science and Technology ให้ความสำคัญกับการรักษามาตรฐานด้านจริยธรรมในการตีพิมพ์เผยแพร่บทความ จึงได้กำหนดบทบาทและหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการตีพิมพ์เผยแพร่บทความ ได้แก่ ผู้นิพนธ์ (Author) บรรณาธิการวารสาร (Editor) และผู้ประเมินบทความ (Reviewer) เพื่อศึกษาและการปฏิบัติตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด ดังนี้

        บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์

  1. ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าบทความที่ส่งมาเพื่อขอรับการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารนั้นต้องไม่เคยถูกตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน
  2. ผู้นิพนธ์ต้องรายงานผลที่เกิดขึ้นจากการศึกษาวิจัยโดยไม่บิดเบือนข้อมูลหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
  3. ผู้นิพนธ์ควรดำเนินการตามหลักจริยธรรม หลักปฏิบัติตามกฎหมาย และข้อบังคับ
    ที่เกี่ยวข้องหากบทความเกี่ยวข้องกับการใช้สัตว์ ผู้เข้าร่วมหรืออาสาสมัคร หรือการวิจัยมีประเด็นที่เปราะบางต่อผู้ให้ข้อมูล
  4. ผู้นิพนธ์ต้องไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น และต้องทำการอ้างอิงผลงานของผู้อื่นทุกครั้งเมื่อนำผลงานเหล่านั้นมานำเสนอหรืออ้างอิงประกอบในบทความของตนเอง
  5. ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความให้เป็นไปตามคำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับและข้อกำหนดของ PSRU Journal of Science and Technology เท่านั้น
  6. ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคนต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในบทความนั้นจริง
  7. ผู้นิพนธ์ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยและระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (ถ้ามี)

        บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการวารสาร

  1. บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณากลั่นกรองและตรวจสอบคุณภาพบทความที่ส่งมาเพื่อขอรับการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสาร
  2. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
  3. บรรณาธิการต้องไม่ปกปิด เปลี่ยนแปลง หรือแทรกแซงข้อมูลระหว่างผู้นิพนธ์และผู้ประเมิน
  4. บรรณาธิการต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์หรือผู้ประเมิน
  5. บรรณาธิการต้องพิจารณาคัดเลือกบทความที่ส่งมาเพื่อขอรับการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารหลังผ่านกระบวนการประเมินคุณภาพ โดยพิจารณาจากความชัดเจนและความสอดคล้องของเนื้อหากับนโยบายของวารสาร เป็นต้น
  6. บรรณาธิการต้องตรวจสอบการคัดลอกผลงานของผู้อื่นในกระบวนการประเมินบทความ และติดต่อผู้นิพนธ์หลักเพื่อขอคำชี้แจงในกรณีที่ตรวจสอบพบว่ามีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น เพื่อใช้ประกอบการพิจารณา “ตอบรับ” หรือ "ปฏิเสธ” การตีพิมพ์ของบทความนั้นๆ
  7. บรรณาธิการต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและกระบวนการต่างๆ ของวารสารอย่างเคร่งครัด

        บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ

  1. ผู้ประเมินบทความต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์ การประเมินบทความต้องคำนึงถึงคุณภาพบทความตามหลักการและเหตุผลทางวิชาการเป็นสำคัญ โดยปราศจากอคติหรือคิดเห็นส่วนตัว
  2. ผู้ประเมินบทความต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความแก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
  3. ผู้ประเมินบทความควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาจากความชัดเจนของข้อมูล คุณภาพของบทความที่สอดคล้องตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร
  4. ผู้ประเมินบทความต้องตรวจสอบการอ้างอิงและการคัดลอกผลงานของผู้อื่น หากพบว่าบทความที่ทำการประเมินมีความซ้ำซ้อนกับบทความชิ้นอื่นๆ ต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบและแสดงหลักฐานประกอบที่ชัดเจน
  5. ผู้ประเมินบทความต้องรักษาระยะเวลาการประเมินตามกรอบการประเมินที่วารสารกำหนด

Open Access Policy

        This journal provides immediate open access to its content on the principle that making research freely available to the public supports a greater global exchange of knowledge.