แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ปัญจมาพร รัตนหน สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุวิทย์ อุดมพาณิชย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, คุณลักษณะส่วนบุคคล, การปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข

บทคัดย่อ

            การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา คุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจ ที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  จังหวัดสกลนครเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  จังหวัดร้อยเอ็ดจำนวน 78 คน และใช้การสนทนากลุ่ม จำนวน 12คนตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถามโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาช0.96และนำแต่ละข้อคำถามมาหาค่าดัชนีความสอดคล้อง พบว่าทุกข้อมีค่ามากกว่า 0.50 เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 17เมษายน2560ถึงวันที่ 17 พฤษภาคม2560สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่  สถิติเชิงพรรณนา เช่น ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติอนุมานหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

          จากการศึกษา พบว่า ประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 79.5อายุเฉลี่ย 29.9 ปี (S.D. = 6.9ปี) สถานภาพโสด คิดเป็นร้อยละ 67.9การศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 62.8รายได้ 10,000 – 20,000 บาท  คิดเป็นร้อยละ 74.4  ระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน 1 – 5 ปี คิดเป็นร้อยละ 50.0การปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.85 (S.D.= 0.56 ) ภาพรวมแรงจูงใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.92 (S.D.= 0.29)คุณลักษณะส่วนบุคคลด้านระยะเวลาในการปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสกลนคร ส่วนแรงจูงใจมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(r=0.556,p-value <0.001) โดย ปัจจัยด้านความสำเร็จในหน้าที่การงาน  ด้านการได้รับความยอมรับนับถือและคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านระดับการศึกษา(ปริญญาตรีขึ้นไป) สามารถพยากรณ์การการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสกลนคร ได้ร้อยละ 37.8(R2 =0.378, p-value<0.001)

Author Biographies

ปัญจมาพร รัตนหน, สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Master degree student in Public Health (Public Health Administration), Faculty of Public Health, Khon Kaen University

สุวิทย์ อุดมพาณิชย์, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Associate Professor, Department of Public Health Administration, Faculty of Public Health, Khon Kaen University

References

1.สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (2555 - 2559).[ออนไลน์]2555 [อ้างเมื่อ 7 สิงหาคม พ.ศ.2559,จาก https://goo.gl/zCZqgK].

2.สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. ผลการสำรวจสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 7 พ.ศ.2555. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2556.

3.สำนักงานโครงการสนับสนุนนโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กระทรวงสาธารณสุข. ความเป็นมาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล.[ออนไลน์]2552 [อ้างเมื่อเมื่อ 9 สิงหาคม พ.ศ.2559, จาก https://hph.moph.go.th/?modules=Content&action=history].

4.Schermerhorn, R., Hunt, G., and Osborn, N. Organization Behavior. New York: John Wily & Sons; 2003.

5.Hertzberg, F., Mausner, B. &Synderman, B.B. The motivate to work. New Brunwisk, NJ : Transaction Pub; 2010.

6.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร.รายชื่อและจำนวนเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในจังหวัดสกลนคร. สกลนคร.(เอกสารอัดสำเนา); 2559.

7.อุไรวรรณ อมรไชย. การบริหารจัดการและร่วมผลิตทันตาภิบาลจากท้องถิ่นโดยเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ชุมชน และวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร : กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี. วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2550; 10(2): 130-140.

8.สุณี วงศ์คงคาเทพ และคณะ. แนวทางการดำเนินงานทันตสาธารณสุขสำหรับทันตบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลและศูนย์สุขภาพชุมชน. นนทบุรี : กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย; 2552.

9.สิทธิศักดิ์ แก้วโพนเพ็ก และประจักร บัวผัน. คุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของนักบริหารงานสาธารณสุขในเทศบาล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2558; 15(4): 75-87.

10.ชลลดา อาทิตย์ตั้งและสุวิทย์ อุดมพานิชย์. แรงจูงใจที่มีผลต่อการบริหารความเสี่ยงในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารทันตาภิบาล 2559; 28(1): 23-34.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-02-19

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)