ปัญหาความก้าวหน้าและการประกอบวิชาชีพของทันตาภิบาล

ผู้แต่ง

  • ศุภชัย ยาณะเรือง คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • อนุวัฒน์ วัฒนพิชญากูล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • ภคิน ไชยช่วย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ทันตาภิบาล, ความก้าวหน้า, การประกอบอาชีพ

บทคัดย่อ

                    การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัญหาความก้าวหน้าในการทำงานของทันตาภิบาล (2) ปัญหาการประกอบวิชาชีพของทันตาภิบาล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นทันตาภิบาลที่ปฏิบัติงานในเครือข่ายบริการสุขภาพที่ 10 ประกอบด้วย 5 จังหวัด  ได้แก่ 1) อำนาจเจริญ 2) อุบลราชธานี 3) ศรีสะเกษ 4) ยโสธร 5) มุกดาหาร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีความตรงตามเนื้อหาและความเชื่อมั่น ในระหว่างเดือนมีนาคม 2560 ถึง พฤษภาคม 2560  สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

              จากการศึกษาปัญหาความก้าวหน้าและการประกอบอาชีพของทันตาภิบาล พบว่าทันตาภิบาลที่ตอบแบบสอบถามแสดงให้เห็นว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 85.2 มีอายุเฉลี่ย 29 ปี การศึกษาสูงสุดในระดับปริญญาตรี ร้อยละ 44.2 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 8,920 บาท ทันตาภิบาลที่ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ร้อยละ 22.0 เป็นการศึกษาต่อที่เกี่ยวข้องกับทันตสาธารณสุขร้อยละ 3.6 จุดมุ่งหมายที่สำคัญเพื่อเพิ่มคุณวุฒิ ร้อยละ 39.7 การปรับเปลี่ยนตำแหน่งในการปฏิบัติงานร้อยละ 3.7 ทันตาภิบาลที่ไม่เคยย้ายสถานที่ปฏิบัติงานร้อยละ 68 สาเหตุในการย้ายสถานที่ปฏิบัติงานเพื่อลดระยะทางในการเดินทางมาทำงานร้อยละ 31.4 มีโอกาสในการเลื่อนขั้นสู่ระดับสูงขึ้น ร้อยละ 77.0 อีกทั้งยังได้รับเงินเดือนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับภาระงาน ร้อยละ 65.3การสำรวจการปฏิบัติงานของทันตาภิบาล พบว่า ทันตาภิบาลให้บริการทันตกรรมปฏิบัติงานเกินความรู้ความสามารถที่เรียนมา ร้อยละ 73.5 นำไปสู่การลาออกหรือเปลี่ยนสายงานเนื่องจากความคับข้องใจในประกอบวิชาชีพ ร้อยละ 72.8

Author Biographies

ศุภชัย ยาณะเรือง, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

M.Sc., Professional Dentist, Sirindhorn College of Public Health, Ubon Rajthani Province

อนุวัฒน์ วัฒนพิชญากูล, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

Ph.D., Faculty of pharmacy, Ubon Ratchathani university

ภคิน ไชยช่วย, วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี

Ph.D, Lecturer, Sirindhorn College of Public Health, Ubon Rajthani Province

References

1. กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามเจริญพานิชย์;2560.

2. ศศิธร ไชยประสิทธิ์, ชัยพฤกษ์ ตั้งจิตคงพิทยา. บทบาทหน้าที่ของทันตาภิบาลที่ปฎิบัติงานจริงในโรงพยาบาลชุมชน: กรณีศึกษาโรงพยาบาลชุมชน 4 แห่งในจังหวัดลำปาง;.เชียงใหม่ทันตแพทยสาร 2558 ;36(2):145-158.

3. เฉลิมศรี เหมาะหมาย และสงครามชัย ลีทองดี. สภาพปัญหาและการคงอยู่ปฏิบัติงานของทันตาภิบาลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบล กรณีศึกษาเครือข่ายบริการสุขภาพที่ 9. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัย ครั้งที่ 9;2557:311-318.

4. Yamane, Taro. Statistics: An Introductory Analysis.third edition. New York: Harper and Row Publication; 1973.

5. Elo, S., &Kyngas. The qualitative content analysis process. Journal of Advanced Nursing;62(1):107-115.

6. นันทิยา เสถียรวุฒิวงศ์. ความคิดเห็นต่อสมรรถนะหลักของทันตาภิบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กรณีศึกษาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2553.

7. อรุณรัตน์ ศกุนะสิงห์. ปัจจัยสุขภาพจิตและปัจจัยจูงใจที่สัมพันธ์กับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของทันตาภิบาล. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2541.

8. จิลาวัณย์ ชื่นรุ่งโรจน์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข ในสถานบริการสาธารณสุข เขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขที่ 17.วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช;2556.

9. สุรีย์พร โพธิ์ศรีทอง. ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทางานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของศูนย์อนามัยที่ 3.วารสารทันตสาธารณสุข 2553;15(2). 47-64.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-02-19

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)