การเปรียบเทียบวัสดุเคลือบหลุมและร่องฟันชนิดกลาสไอโอโนเมอร์และชนิดเรซินสำหรับการยึดติดและการป้องกันฟันผุ ในฟันกรามแท้ซี่ที่1 และฟันกรามแท้ซี่ที่2: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

ผู้แต่ง

  • จุติมา ดอกไม้พวง โรงพยาบาลน้ำโสม
  • พอใจ พัทธนิตย์ธรรม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • รัชฎา น้อยสมบัติ คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การเคลือบหลุมและร่องฟัน, วัสดุเคลือบหลุมและร่องฟันชนิดกลาสไอโอโนเมอร์, วัสดุเคลือบหลุมและร่องฟันชนิด เรซิน, การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

บทคัดย่อ

           บทนำ: ความชุกของการเกิดฟันผุในเด็กนักเรียนในหลายพื้นที่ทั่วโลกยังอยู่ในระดับสูง การเคลือบหลุมและร่องฟันเป็นอีกหนึ่งวิธีในการป้องกันฟันผุ วัสดุเคลือบหลุมและร่องฟันมีหลายชนิดและมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันชนิดที่ความนิยม ได้แก่ กลาสไอโอโนเมอร์และเรซิน ชนิดกลาสไอโอโนเมอร์มีความสามารถในการยึดกับเนื้อฟันและเคลือบฟันด้วยพันธะเคมีโดยไม่ต้องอาศัยเทคนิคการปรับสภาพผิวฟันด้วยกรดก่อนและมีประสิทธิภาพในการป้องกันฟันผุได้ดีโดยกระบวนการปล่อยฟลูออไรด์ไปรอบๆผิวเคลือบฟัน ในขณะที่ชนิดเรซินมีคุณสมบัติสามารถยึดติดผิวเคลือบฟันได้ดีแม้ในสภาวะที่มีความเสี่ยงต่อความชื้นสูง มีความแข็งแรงทนทานต่อการสึกกร่อน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลในการยึดติดและการป้องกันฟันผุของวัสดุเคลือบหลุมและร่องฟันชนิดกลาสไอโอโนเมอร์และชนิดเรซินในฟันกรามแท้ซี่ที่1 และฟันกรามแท้ซี่ที่ 2 ในเด็กนักเรียนอายุ 6-12 ปี

          วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบสืบค้นรายงานวิจัยภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ MEDLINE, SCOPUS, Web of Science, Science Direct, Thai-Journal Citation Index (TCI) การสืบค้นด้วยมือ และการสืบค้นจากรายการเอกสารอ้างอิง ตั้งแต่เริ่มตีพิมพ์จนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 มีรูปแบบการศึกษาแบบการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มแบ่งส่วนในช่องปาก (Split-mouth Trials) ดำเนินการคัดเลือกและดึงข้อมูล และประเมินอคติรายงานวิจัยโดยผู้วิจัยสองคนอย่างอิสระกันหาข้อสรุปร่วมกันเมื่อความเห็นไม่ตรงกันและ/หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา คัดเลือกรายงานวิจัยโดยใช้โปรแกรม Covidence เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบฟอร์มที่สร้างขึ้นและมีการทดลองใช้ประเมินอคติรายงานวิจัย (7 ด้าน) โดยใช้ Cochrane Risk of Bias tool ประเมินภาพรวมอคติแต่ละรายงานวิจัยโดยพิจารณาจากอคติ 2 ด้าน และใช้วิธีการของ GRADE ในการประเมินคุณภาพของผลการศึกษาตามผลลัพธ์ ผลการศึกษา: การสืบค้นพบ 611 รายการ (รวมรายการซ้ำ 199 รายการ) มีรายงานวิจัยที่ผ่านเงื่อนไข 10 รายงาน พบความเสี่ยงในการเกิดอคติสูง 5 รายงาน อคติไม่ชัดเจน 5 รายงานคุณภาพของผลการศึกษาตามผลลัพธ์จาก GRADE พบว่า คุณภาพดังกล่าวมีระดับต่ำ (Low) จนถึงต่ำมาก (Very Low) การยึดติดของวัสดุเคลือบหลุมและร่องฟันทั้ง 2 ชนิดแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระยะเวลา (ก) 6 เดือน (RR (random) 0.69; 95% CI 0.54, 0.89; 218 participants; 2 studies; I2= 49%) (Very low) , (ข) 9 เดือน (RR (random) 0.14; 95% CI 0.06, 0.32 ; 412 participants; 1 studies) (Very low) และ (ค) 7 ปี (RR (random) 0.23; 95% CI 0.12, 0.43 ; 194 participants; 1 study) (Very low) และการเกิดฟันผุจากการใช้วัสดุเคลือบหลุมและร่องฟันทั้ง 2 ชนิดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระยะเวลา 2 ปี (RR (random) 0.54; 95% CI 0.37, 0.79; 628 participants; 3 studies; I2 =0%) (Very low)

          สรุป: ผลการยึดติดและการเกิดฟันผุของการศึกษานี้ควรแปลผลด้วยความระมัดระวังเนื่องจากรายงานวิจัยที่นำเข้ามามีความเสี่ยงต่อการเกิดอคติสูงหรือไม่ชัดเจน จำนวนรายงานวิจัยแต่ละระยะเวลามีจำนวนน้อย  ขนาดตัวอย่างน้อย และพบความแตกต่างระหว่างรายงานวิจัยระดับสูง ในอนาคตควรมีงานวิจัยแบบการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มแบ่งส่วนในช่องปากมีการสุ่มที่มีวิธีการตรวจวัดผลลัพธ์ที่ชัดเจน และมีขนาดตัวอย่างที่เหมาะสม

Author Biographies

พอใจ พัทธนิตย์ธรรม, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Assistant Professor, Faculty of Public Health, Khon Kaen University

รัชฎา น้อยสมบัติ, คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Dentist Lecturer, Faculty of Dentistry, Khon Kaen University 

References

1. De-yu Hu, Xiao Hong, Xue Li. Oral health in China – trends and challenges. A Review. International Journal of Oral Science 2011; 3: 7-12.

2. Bruce A. Dye, Gina Thornton-Evans, Xianfen Li and Timothy J. Iafolla. Dental Caries and Sealant Prevalence in Children and Adolescents in the United States. NCHS Data Brief 2011–2012;196:1-7.

3. Children’s Dental Health Survey 2013, England, Wales and Northern Ireland. A report Dental Disease and Damage in Children. Health and Social Care Information Centre. Availablom: e fr
https://content.digital.nhs.uk/catalogue/PUB17137/CDHS2013-Report2-Dental-Disease.pdf

4. Kelvin chuan hee chye. Country Report-Singapore. The 8th Asian conference of Oral Health Promotion for School Children. Health Promotion Board (HPB) Singapore. 2015. Available from:
https://www.acohpsc8.tw/Speech%20PPT/CR07_Dr.%20Kelvin%20Chye%20Chuan%20Hee.pdf

5. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข: รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศครั้งที่ 7 พ.ศ. 2555.สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย 2556.

6. Bellini HT, Arneberg P, von der Fehr FR. Oral Hygiene and caries. A Review. Acta Odontol Scand 1981; 39:257-65.

7. Wright GZ, Banting DW, Feasby WH. The Dorchester dental flossing Study: final report. Clin Prev Dent 1981 ; 1: 23-6.

8. Backer Dirks O, Houwink B, Kwant GW. The Resultss of 6 1/2 years of artifical fluoridation of drinking water in the Netherlands. The Tiel-Culemborg experiment. Arch Oral Biol 1961;5: 284-300.

9. Vann WF , McIver FT. Pit and fissure sealants an overview of issues related to diagnosis and treatment decisions. Health Resources and Services Administration, Department of Health And Human Services [updated 2016 May 23]: Available from: https://mchoralhealth.org/PDFs/Pit_fissureMonograph.PDF

10. Simonsen RJ. Pit and fissure sealant: review of the literature. Pediatr Dent 2002;24:393-414.

11. Beauchamp J, Caufield PW, Crall JJ, Donly K, Feigal R, Gooch B, et al. Evidence-based clinical recommendation for the use of pit and fissure sealants: a report of the American Dental Association Council on Scientific Affairs. J Am Dent Assoc 2008;139:257-68.

12. Mass E, Eli I, Lev-Dor-Samovici B, Weiss EI. Continuous effect of pit and fissure sealing on S. mutans presence in situ. Pediatr Dent 1999; 21: 164-8.

13. Simonsen RJ. Retention and effectiveness of dental sealant after 15 year. J Am Dent Assoc 1991;122:34-42.

14. Konig KG. Dental morphology in relation to caries resistance with special reference to fissures as susceptible areas. J Dent Res 1963; 42: 461-76.

15. Ripa LW. Sealant revisited: An update of the effectiveness of pit and fissure sealant after 15 years. Caries Res 1993;27:77-82.

16. Gwinnett AJ. Scientific rationale for sealant used and technical aspects of application. J Dent Educ 1984;48: 56- 9.

17.Simonsen RJ. Preventive aspects of clinical resin technology. Dent Clin North Am 1981; 25:291–305.

18. Welbury R, Raadal M, Lygidakis N.A. EAPD guidelines for the use of pit and fissure sealants. European Journal Of Paediatric Dentistry 2004; 3: 179-184.

19. SS Hiremath. Chapter 39 Pit and Fissure Sealant. Textbook of Preventive and Community Dentistry. Government Dental and Research Institute Bangalore,India.

20. Aylin Akbay Oba, Türksel Dülgergil, Is¸ıl S¸arog˘lu Sönmez, Salih Dogan, Comparison of Caries Prevention With Glass Ionomer and Composite Resin 2009;108.11:844–48. Available from: https://doi.org/10.1016/S0929-6646(09)60415-0.

21. Thipsoonthornchai, J. The Comparative Study on Retention Rate and Caries Prevention between Glassionomer and Resin Using as Pit and Fissure Sealantin Mobile Dental Service, Buriram Province. Thailand Journal of Dental Public Health 2003, 8(1-2): 62-77.

22. Sateffen Mickenautsch and Veerasamy Yengopal, Caries-Preventive Effect of Glass Ionomer and Resin-Based Fissure Sealants on Permanent Teeth: An Update of Systematic Review Evidence, BMC Research Notes 2011. Available from: https://doi.org/10.1186/1756-0500-4-22.

23. Mendeley Ltd. Mendeley Desktop [Computer program] version 1.61.1; 2016.

24. Covidence team. Covidence [web-based software platform]; 2017. Available from: www.covidence.org.

25. Higgins, J. P., Altman, D. G., & Sterne, J. A. Assessing risk of bias in included studies. In Cochrane Handbook for Systematic Reviews of Interventions Version 5.1.0 [updated March 2011]. The Cochrane Collaboration; 2011.Available from: https://community.cochrane.org/sites/default/files/uploads/handbook/Handbook510pdf_Ch08_RiskOfBias.pdf

26. The Cochrane Collaboration. Review Manager (RevMan) [Computer program] Version 5.3. Copenhagen: The Nordic Cochrane Centre; 2014.

27. McMaster University (developed by Evidence Prime). GRADEpro GDT [Computer program]. Version accessed 6 August 2016. Hamilton (ON). Available from: gradepro.org.

28. Forss H, Halme E. Retention of a glass ionomer cement and a resin-based fissure sealant and effect on carious outcome after 7 years. Community Dent Oral Epidemiol 1998;26:21-25.

29. Forss H, Saarni UM, Seppä L. Comparison of glass-ionomer and resin-based fissure sealants: a 2-year clinical trial. Community Dent Oral Epidemiol 1994; 22:21-24.

30. Kervanto-Seppälä S and others, ‘Comparing the Caries-Preventive Effect of Two Fissure Sealing Modalities in Public Health Care: A Single Application of Glass Ionomer and a Routine Resin-Based Sealant Programme.
A Randomized Split-Mouth Clinical Trial’, Int J Paediatr Dent 2008; 18.1:56–61. Available from: https://doi.org/10.1111/j.1365-263X.2007.00855.x

31. Poulsen Sven, Nabil Beiruti and Nada Sadat, A Comparison of Retention and the Effect on Caries of Fissure Sealing with a Glass-Ionomer and a Resin- Based Sealant 2001; 298–301.

32. Chen X.X. and Liu X.G, Clinical Comparison of Fuji VII and a Resin Sealant in Children at High and Low Risk of Caries, Dental Materials Journal 2013; 32(3): 512-518.

33. Arrow P. and Riordan P.J., ‘Retention and Caries Preventive Effects of a GIG and a Resin‐based Fissure Sealant’, Community Dentistry and Oral Epidemiology 1995; 23: 282-285.

34. Ulusu T and others, The success rates of a glass ionomer cement and a resin-based fissure sealant placed by fifth-year undergraduate dental students 2012; 94-97.

35. Santana Priscilla and others, Pit and Fissure Sealants with Different Materials : Resin Based X Glass Ionomer Cement – Resultss after Six Months 2016;16.1:15–23.

36. Subramaniam S P, Onde K S, Andanna M D K, Retention of a resin-based sealant and a glass ionomer used as a fi ssure sealant : A comparative clinical study 2008;114-120.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-02-19

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)