พฤติกรรมการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพช่องปากของนักศึกษา4 หลักสูตร วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • อานนท์ ปณิสอน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาจาน ตำบลปากตม
  • รัชนีกร เครือชารี โรงพยาบาลสร้างคอม อำเภอสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี
  • อรัญญา ศรีสุนาครัว วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • รพีพรรณ ปุ้งมา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

การดูแลสุขภาพช่องปาก, นักศึกษา, วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพช่องปากของนักศึกษา 4 หลักสูตร ประชากร คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 และ 2 ของหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์(เทคนิคเภสัชกรรม) และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ จากวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น รวมทั้งหมด 273 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

          ผลการศึกษาพบว่า ระดับพฤติกรรมการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพช่องปากของนักศึกษา จำนวน 3 หลักสูตร ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง โดยหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข คิดเป็นร้อยละ 73.4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน ร้อยละ 60.3และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ ร้อยละ 51.0 ส่วนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์(เทคนิคเภสัชกรรม) ส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำร้อยละ 58.3   ค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติตัวของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์(เทคนิคเภสัชกรรม) เท่ากับ 22.63±2.87, 21.50±3.03, 21.10±3.36 และ 20.06±2.68 ตามลำดับ

References

1.สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2555.ม.ป.ท.: สำนักงานกิจการ โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก;2556.

2.บุญชม ศรีสะอาด. การแปลผลเมื่อใช้เครื่องมือรวบรวมช้อมูลแบบมาตราส่วนประมาณค่า.[ออนไลน์]ม.ป.ป.[อ้างเมื่อ10 ธันวาคม 2558] จาก https://edu.msu.ac.th/jern/home/journal_file/63.pdf

3.เติมศักดิ์ สุขวิบูลย์. ข้อคำนึงในการสร้างเครื่องมือประเภทมาตรประมาณค่า (Rating Scale) เพื่องานวิจัย. [ออนไลน์] ม.ป.ป. [อ้างเมื่อ 10 ธันวาคม 2558] จาก ms.src.ku.ac.th/schedule/Files/2553/Oct/1217086.doc

4.เต็มดวง ไทรงาม, ศศิธร ผลบุญภิรมย์, สุนิสัย เทียมรินทร์, เพ็ญศิริ ทานให้และวัชรพลวิวรรศน์ เถาว์พันธ์. ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ในเขตรับผิดชอบสถานีอนามัยตำบลโนนข่า อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น. วารสารทันตาภิบาล 2553 ม.ค.-มิ.ย.:21(1):1-10.

5.มนัสนันท์ ชัยประทานและสมเดช พินิจสุนทร. ความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมในการป้องกันโรคฟันผุของอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตอำเภอเมืองจังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2558 ก.ค.-ก.ย.:3(3):359-366.

6.อุดมพร รักเถาว์ และจารุวรรณ วงษ์เวช. ความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ปกครองต่อการดูแลช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2558 ม.ค.-เม.ย.:2(1):52-63.

7.กันทิมา เหมพรหมราช. พฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครองในเขตนครชัยบุรินทร์. Naresuan University Journal: Science and Technology2557ก.ย.-ธ.ค.:22(3):58-67.

8.วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. คู่มือหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น.ม.ป.ท.: ม.ป.พ.;2554.

9.วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. คู่มือนักศึกษา ปีการศึกษา 2558. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น.ม.ป.ท.: ม.ป.พ.;2558.

10.ณัฐวุธ แก้วสุทธา, อังศินันท์ อินทรกําแหงและพัชรี ดวงจันทร์. ปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากของวัยรุ่นตอนต้น. วารสารพฤติกรรมศาสตร์ 2556 ก.ค.:19(2):154-160.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-06

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)