การเข้าถึงบริการทันตกรรมของผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

เพิ่มรัตนะ สรีระเทวิน

บทคัดย่อ

          การเข้าถึงบริการสุขภาพเป็นองค์ประกอบสำคัญและเป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพของระบบสุขภาพ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการเข้าถึงบริการทันตกรรมของผู้สูงอายุ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเข้าถึงบริการทันตกรรมของผู้สูงอายุ ในอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ และเปรียบเทียบการเข้าถึงบริการทันตกรรมของผู้สูงอายุในและนอกเขตเทศบาลอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์กลุ่มตัวอย่างจำนวน 361 คน ประกอบด้วยในเขตเทศบาล 111 คน นอกเขตเทศบาล 250 คน ทำการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับจุดประสงค์เท่ากับ 0.6-1 ค่าความเชื่อมั่นภาพรวมทั้งฉบับเท่ากับ 0.806วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นด้วยสถิติเชิงพรรณนา และใช้สถิติเชิงอ้างอิงในการวิเคราะห์การถอดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุมีฟันธรรมชาติร้อยละ 85.3 โดยเฉลี่ยมีฟันจำนวน 16.48 ซี่ ไม่ใส่ฟันเทียมร้อยละ 71.5 ระดับการเข้าถึงบริการทันตกรรมทั้งในเขตเทศบาล นอกเขตเทศบาล และภาพรวมอำเภอ อยู่ในระดับปานกลาง พบว่า ด้านความพึงพอใจในการรับบริการมีคะแนนสูงสุด ส่วนด้านความเพียงพอของบริการมีคะแนนต่ำสุด ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเข้าถึงบริการทันตกรรม คือ เขตที่อยู่อาศัย สามารถพยากรณ์คะแนนรวมการเข้าถึงบริการทันตกรรมได้ร้อยละ 5.13 ข้อเสนอแนะควรส่งเสริมการจัดตั้งคลินิกหมอครอบครัว เพื่อให้มีการบริการฟันเทียมแก่ผู้สูงอายุ และให้การดูแลผู้สูงอายุเข้าสู่กรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอเพื่อให้เกิดการบูรณาการหลายภาคส่วน ในด้านทรัพยากร บุคลากร และงบประมาณ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

1. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. เตรียมตัวให้พร้อมไว้...ในวัยผู้สูงอายุ (ตอนที่ 1).[อ้างเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2560] จาก http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/citizen/news/poll_elderly-1.jsp

2. World Health Organization. Oral health.[cited 2017 Feb 11]. Available from: http://www.who.int/oral_health/action/groups/en/index1.html

3. Petersen PE, Yamamoto T. Improving the oral health of older people: the approach of the WHO Global Oral Health Programme. Community dentistry and oral epidemiology2005;33(2):81-92.

4. Kandelman D, Petersen PE, Ueda H. Oral health, general health, and quality of life in older people. Spec Care Dentist2008;28(6):224-36.

5. สำนักทันตสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 7 พ.ศ.2555.[อ้างเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2560] จาก http://dental2.anamai.moph.go.th/download_detail.php?dl_id=49

6. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 พ.ศ.2557.[อ้างเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2560] จาก https://www.hsri.or.th/researcher/research/new-release/detail/7711

7. McMillan AS, Wong MC. Emotional effects of tooth loss in community-dwelling elderly people in Hong Kong. The International journal of prosthodontics2004;17(2):172-6.

8. Walls AW, Steele JG, Sheiham A, Marcenes W, Moynihan PJ. Oral health and nutrition in older people. Journal of public health dentistry2000;60(4):304-7.

9. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. ร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี(พ.ศ.2560-2579)สรุปย่อ.[อ้างเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2560] จาก https://www.royalthaipolice.go.th/downloads/ยุทธศาสตร์ฯระยะ20ปี60-79.pdf

10. โรงพยาบาลหนองบัวระเหว. ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข).[อ้างเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2560] จาก www.rawaehospital.com/.../แผนยุทธศาสตร์ชาติ-20_ด้านสาธารณสุข_Update.pdf

11. กองทันตสาธารณสุข. การกำหนดเป้าหมายทันตสุขภาพประเทศไทย พ.ศ. 2563.[อ้างเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2560] จาก http://dental2.anamai.moph.go.th/download/Journal/v14no2_3.pdf

12. สุณี วงศ์คงคาเทพ, บุษยสิทธิ์ พงษ์พิจิตร, จารุวัฒน์ บุษราคัมรุหะ, ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฎ์, โกเมศ วิชชาวุธ. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินผลการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากและข้อเสนอเชิงนโยบาย การเข้าถึงบริการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพภายใต้ชุดสิทธิประโยชน์ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า.[อ้างเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2560] จาก http://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/2245

13. Penchansky R, Thomas JW. The concept of access: definition and relationship to consumer satisfaction. Medical care1981 Feb;19(2):127-40.

14. hdcservice.moph.go.th[homepage on the Internet]. ตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข.[อ้างเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2560] จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=dental/dental_personanddental.php&cat_id=fc73b811eb6d9206e7e5baf8ad20d7b9&id=a9bc16db8bbe196a8e978548c00db398

15. อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย.กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์;2552.

16. ปิ่นทอง ประสงค์สุข, วนัสรา เชาว์นิยม. การเข้าถึงบริการทันตกรรมของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรี. การประชุมสวนสุนันทาวิชาการระดับชาติด้าน "การวิจัยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน" ครั้งที่ 4; 2559.

17. สุภาพร แสงอ่วม. การพัฒนาการเข้าถึงบริการทันตกรรมในผู้สูงอายุ ในเขตภาคเหนือตอนล่าง: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2558.

18. Creswell, W J. Qualitative Inquiry and Research Design.Washington DC: Sage; 2013.

19. Rovinelli RJ, Hambleton RK. On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research1977;2:46-60.

20. บรรลุ ศิริพานิช. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทยพ.ศ. ๒๕๕๙.นครปฐม: บริษัทพริ้นเทอรี่จำกัด;2560.

21. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. ประชากรของประเทศไทยพ.ศ. 2561.[อ้างเมื่อ 27 สิงหาคม 2561] จาก http://www.ipsr.mahidol.ac.th/ipsr/Contents/Documents/Gazette/Gazette2018TH.pdf

22. บรรลุ ศิริพานิช. สถานะการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. ๒๕๕๘. [อ้างเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2560] จาก http://thaitgri.org/?p=37841

23. ระบบฐานข้อมูลด้านสังคมและคุณภาพชีวิต. เส้นความยากจน (Poverty line) จำแนกตามจังหวัดปีพ.ศ.2543-2559. [อ้างเมื่อ 8 มิถุนายน 2561]จาก http://social.nesdb.go.th/SocialStat/StatReport_Final.aspx?reportid=671&template=2R1C&yeartype=M&subcatid=60

24. สุณี วงศ์คงคาเทพ. เปรียบเทียบการใช้บริการใส่ฟันเทียมของผู้สูงอายุไทยระหว่างปีพ.ศ. 2552 กับปีพ.ศ. 2556. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข2558;1.

25. วริศา พานิชเกรียงไกร และคณะ. การใช้บริการทันตกรรมของประชาชนไทย: ผลจากการสำรวจอนามัยและสวัสดิการพ.ศ. 2558. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข2560;2:170-81.

26. Wongkongkathep S. Thai elder’s utilization of dental prosthesis in 2009. J Health Sci2012;17:45-59 (in Thai).

27. วิชุดา สาธิตพร. นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า: พัฒนาการแนวโน้มและการสารวจมาตรฐานด้านสุขภาพของไทย.[อ้างเมื่อ 26 สิงหาคม 2561] จาก http://www.kpi.ac.th/media/pdf/M7_194.pdf

28. ทันตแพทยสภา. สิทธิประโยชน์ทางทันตกรรมปี 2551.[อ้างเมื่อ 26 สิงหาคม 2561]จาก http://www.dentalcouncil.or.th/public/health_coverage_service.php

29. เพ็ญแข ลาภยิ่ง, วีระศักดิ์ พุทธาศรี. การใช้บริการสุขภาพช่องปากในทศวรรษแรกของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2556;22:1080-90.

30. อรวรรณ พุ่มพวง. การเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนเขตเทศบาลนครเชียงใหม่; 2551.