ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมทันตสุขภาพโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความเข้มแข็งในการมองโลกต่อคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน

ผู้แต่ง

  • ภูมิฤทัย จุรัณณะ โรงพยาบาลแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น
  • ประนัดดา โพธิ์ปักขา ศูนย์แพทย์ท่าบ่อ 1 อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย
  • อรวรรณ นามมนตรี ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • จอนสัน พิมพิสาร ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษโรงพยาบาลโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นเบาหวาน, ความเข้มแข็งในการมองโลก, คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก, โปรแกรมส่งเสริมทันตสุขภาพ

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi – experimental design study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมทันตสุขภาพที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีความเข้มแข็งในการมองโลกต่อความเข้มแข็งในการมองโลกและคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานที่มารับบริการที่ศูนย์สุขภาพดอนไพล ตำบลท่าเยี่ยม อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 56 คนแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 28 คน กลุ่มเปรียบเทียบ 28 คน  กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมทันตสุขภาพที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีความเข้มแข็งในการมองโลก ในขณะที่กลุ่มเปรียบเทียบได้รับโปรแกรมทันตสุขศึกษาตามปกติ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป  แบบประเมินคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก (Thai-OHIP)และแบบประเมินความเข้มแข็งในการมองโลก   วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และ Independent sample t-test ภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความเข้มแข็งในการมองโลกและมีคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p-value <0.001) (95% ช่วงเชื่อมั่นของความแตกต่างอยู่ระหว่าง 16.58 ถึง 29.35 และ 9.44 ถึง 20.85 ตามลำดับ) 

            จากผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าโปรแกรมส่งเสริมทันตสุขภาพ สามารถเพิ่มความเข้มแข็งในการมองโลกและเพิ่มคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นเบาหวาน โดยสามารถช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวาน เข้าใจปัญหาและสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นกับตัวเอง ตลอดจนเชื่อว่าตนเองสามารถจัดการปัญหาสุขภาพของตนเองได้ด้วยตนเอง ทำให้หันมาใส่ใจดูแลสุขภาพมากขึ้นจนส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น ดังนั้นจึงควรมีการจัดกิจกรรมเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งในการมองโลกในผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นเบาหวานเพื่อให้ผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นเบาหวานมีคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากที่ดีในลำดับต่อไป 

References

1. Antonovsky A. Unraveling The Mystery of Health: How People Manage Stress and Stay Well. (4th ed.), San Francisco: Jossey-Bass. 1987;16-124.
2. Wainwright NWJ, Surtees PG, Welch AA, Luben RN, Khaw K-T, Bingham SA.Healthy lifestyle choices: could sense of coherence aid health promotion? J Epidemiol Community Health 2007; 61(10):871-6.
3.Eriksson M, Lindstrom B. Antonovsky's sense of coherence scale and the relation 81.
4. Ekwall AK, Sivberg B, Hallberg IR. Older caregivers' coping strategies and sense of coherence in relation to quality of life. J Advd Nur 2007;57(6):584-96.
5. Cohen M. & Kanter MDY. Relation between Sense of Coherence and Glycemic Control in Type 1 and Type 2 Diabetes. J Behav Med, 2010;9(24), 175-185.
6. รายงานสถานการณ์โรค NCDs ฉบับที่ 2 "KICK OFF TO THE GOALS". สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ;2559.
7. วัชราภรณ์ เสนสอน, สุภาภรณ์ ฉัตรชัยวิวัฒนา และเสาวนันท์ บำเรอราช. โรคเบาหวานกับสุขภาพช่องปาก. ว.ทันต.ขอนแก่น 2553, 13(2), 132–143.
8. Lindmark U., Hakeberg M. & Hugoson A. Sense of coherence and oral health status in an adult Swedish population. Journal Acta Odontologica Scandinavica, 2010;69(1):12 – 20.
9. Silvia R, Clades , Nascimento V, Celestina MM, Ganzo DR. & Henrique C. (). Relationship between Sense of Coherence and oral health in adults and elderly Brazilians. Braz. Oral res 2016; 30(1):56-66.
10.อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น : หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา;2547.
11.นภาพร วิจารย์ปรีชา, พระครูพิพิธสุตตาทร, วิโรจน์ อินทนนท์ และไพฑูรย์ รื่นสัตย์. การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อสร้างความเข้มแข็งในการมองโลกและความผาสุกในชีวิตผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม. พยาบาลสาร 2558; 40(3):95-104.
12. Slade GD, Spencer AJ. Development and evaluation of Oral Health Impact profile. Community Dent Health 1994;11(1):3-11.
13. Nammontri O. Validation of the Thai Version of the 14- Item Oral Health Impact Profile (Thai OHIP-14) amongst the General Thai Adult Population in a Community Setting. J Health Res. 2017;3(6), 481-486.
14. Nammontri O, Robinson PG & Baker SR. Enhancing Oral Health via Sense of Coherence: A Cluster-randomized Trial. J Dent Res 2012;92(1);26-31
15.Bernabe E, Watt RG, Sheiham A, Taipale AL, Uutela A, Vehkalahti MM, Knuuttila M, Kivimki M. & Tsakos G. Sense of coherence and oral health in dentate adults: findings from the Finnish Health 2000 survey. Journal of Clinical Periodontology 2000;37(11):953–1038.
16.Bonanato K, Paiva SM, Pordeus IA, Ramos-Jorge ML, Barbabela D&Allison PJ. Relationship between Mothers’ Sense of Coherence and Oral Health Status of Preschool Children. Caries Res 2009; 43(2):103-109.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-17

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)