ทัศนคติและความเข้มแข็งในการมองโลกของนักศึกษาหลักสูตรปวส.สศ. (ทันตสาธารณสุข) โครงการพิเศษ ต่อการฝึกงานภาคสนามวิชาชีพทันตสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • อรวรรณ นามมนตรี

คำสำคัญ:

ทัศนคติ, ความเข้มแข็งในการมองโลก, การฝึกงานภาคสนามวิชาชีพทันตสาธารณสุข

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์หลักเพื่อศึกษาทัศนคติและความเข้มแข็งในการมองโลกต่อการฝึกภาคสนามวิชาชีพและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติ ความเข้มแข็งในการมองโลกต่อการฝึกงานภาคสนามวิชาชีพและคะแนนผลสัมฤทฺธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลักสูตรปวส.สศ. (ทันตสาธารณสุข) โครงการพิเศษ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้รวมทั้งสิ้น 277 คน มีอายุเฉลี่ย  20.93  ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.95 ปี) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงจำนวน 221 คน (ร้อยละ 79.8) เมื่อใช้แบบวัดทัศนคติต่อการฝึกงาน จำนวน 25 ข้อ   ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 277 คนมีคะแนนเฉลี่ยทัศนคติต่อการฝึกงานก่อนและหลังการฝึกงานไม่แตกต่างกัน (t=0.85; 95% CI มีค่า (-1.13)-2.80; p-value =0.398) เมื่อใช้แบบวัดความเข้มแข็งในการมองโลก จำนวน 13 ข้อ   ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเข้มแข็งในการมองโลกลดต่ำลงหลังฝึกงาน พบความแตกต่างนี้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=2.62; 95% CI มีค่า 0.43-3.07; p-value <0.05) นอกจากนี้ยังพบว่าทัศนคติต่อการฝึกปฏิบัติงานภาคสนามและความเข้มแข็งในการมองโลกไม่มีความสัมพันธ์กับคะแนนผลสัมฤทฺธิ์ทางการเรียนวิชาฝึกปฏิบัติงานภาคสนามทันตสาธารณสุข

References

1. Ajzen Ik. Nature and Operation of Attitudes. Annu Rev Psychol 2001;52:27–58.

2. Allport GW. Attitudes. A Handbook of Social Psychology. Worcester, MA, US: Clark University Press 1935:798-844.

3. Eagly AH, Shelly C. Attitude Structure and Function. In:Handbook of Social Psychology, editors, Gilbert DT, Susan TF, and Lindsey G, New York: McGowan-Hill; 1998: p.269–322.

4. Antonovsky A. Unraveling The Mystery of Health - How People Manage Stress and Stay Well. San Francisco: Jossey-Bass Publishers;1987.

5. Antonovsky A. Health, Stress and Coping. San Francisco: Jossey-Bass;1979.

6. Kinman G. Work stressors, health and sense of coherence in UK academic employees. Educ Psychol 2008;28(7):823-835.

7. Modin B, Ostberg V, Toivanen S, Sundell K. Psychosocial working conditions, school sense of coherence and subjective health complaints. A multilevel analysis of ninth grade pupils in the Stockholm area. J Adolescence 2008;34(1):129-139.

8. Ayo-Yusuf OA, Reddy PS, van den Borne BW. Longitudinal association of adolescents' sense of coherence with tooth-brushing using an integrated behavior change model. Community Dent Oral 2009;37(1):68-77.

9. Ekwall AK, Sivberg B, Hallberg IR. Older caregivers' coping strategies and sense of coherence in relation to quality of life. J Adv Nurs 2007;57(6):584-596.

10. Eriksson M, Lindstrom B. Antonovsky's sense of coherence scale and the relation with health; a systemic review. J Epidemiol Community Health 2006;60:376-381.

11. Fok SK, Chair SY, Lopez V. Sense of coherence, coping and quality of life following a
critical illness. J Adv Nurs 2005;49(2):173-181.

12. สุดารัตน์ วงศ์ใหญ่. ผลของโปรแกรมการฝึกตามแนวการพิจารณาเหตุผลและอารมณ์ต่อความเข้มแข็งในการมองโลกและความวิตกกังวลทางสัมคมของเยาวชนในสถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;2545.

13. เยาวลักษณ์ กลิ่นหอม. ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตและความเข้มแข็งในการมองโลกของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยจิตเภท. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;2540.

14. ชูชื่น ชิวพูนผล. อิทธิพลของภาวะสุขภาพของผู้ป่วยความเข้มแข็งในการมองโลกของญาติผู้ดูแลและความรู้สึกเป็นภาระในการเลี้ยงดูต่อการปรับตัวของญาติผู้ดูแล ผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล;2541.

15. Nammontri O, Robinson PG, Baker SR, Enhancing oral health via sense of coherence: a cluster-randomized trial. J Dent Res 2013;92(1):26-31.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-20

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)