ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียฟันของผู้สูงอายุที่มีอายุช่วง 60-74 ปี ในเขตและนอกเขตเทศบาลนครขอนแก่นอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

กนกอร โพธิ์ศรี
เกรียงศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์

บทคัดย่อ

          การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียฟันและเปรียบเทียบความชุกของการสูญเสียฟันระหว่างผู้สูงอายุที่มีอายุ60-74 ปี ที่อาศัยอยู่ในเขตและนอกเขตเทศบาลนครขอนแก่นอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่นประชากรที่ศึกษาคือผู้สูงอายุ60-74 ปี ที่อาศัยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยแบ่งกลุ่มศึกษาเป็นผู้สูงอายุในเขตและนอกเขตเทศบาลนครขอนแก่นกลุ่มละ 250 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่มเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามวิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียฟันด้วยสมการถดถอยพหุคูณลอจิสติก (Multiple Logistic Regression) นำเสนอผลการวิเคราะห์ด้วย Adjusted Odds Ratio(OR)คู่กับค่าช่วงเชื่อมั่น 95%และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างความชุกของการสูญเสียฟัน โดยการทดสอบ Z- test นำเสนอผลการวิเคราะห์ด้วย ค่าช่วงเชื่อมั่น 95% ที่ระดับนัยสำคัญเท่ากับ 0.05


          ผลการวิจัยพบความชุกของสูญเสียฟันของผู้สูงอายุในเขตและนอกเทศบาลนครขอนแก่น เท่ากับร้อยละ 95.6 และ 95.2โดยมีความแตกต่างของการสูญเสียฟันระหว่างผู้สูงอายุทั้งสองกลุ่มอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ(p=0.83, 95%CI[-0.033,0.041])และมีผู้สูงอายุที่ไม่มีฟันทั้งปาก ร้อยละ 3.6 และ 8.4 ตามลำดับ พบผู้สูงอายุที่อาศัยนอกเขตเทศบาลนครขอนแก่นมีการสูญเสียฟันทั้งปากมากกว่ากลุ่มผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครขอนแก่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p=0.024,95%CI[-0.089, -0.007])ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียฟันในผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครขอนแก่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ รายได้(ORadj=0.1,95%CI[0.01,0.78]),แหล่งที่มาของรายได้(ORadj=13.8,95%CI[1.96,96.40]),การมีรอยโรคในช่องปาก(ORadj=5.52,95%CI[1.26,24.20]),การทำความสะอาดซอกฟัน(ORadj=6.21,95%CI[1.02,37.85])และการรับประทานอาหารหวาน (ORadj=8.40,95%CI[1.66,42.23])ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียฟันในผู้สูงอายุที่อาศัยนอกเขตเทศบาลนครขอนแก่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่สิทธิในการรักษาทางทันตกรรม (ORadj=0.07,95%CI[0.00,0.93]) และการทำความสะอาดซอกฟัน(ORadj=3.70,95%CI[1.01,13.40])ความชุกของการสูญเสียฟันยังพบได้สูงในผู้สูงอายุ  มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย จึงควรมีการส่งเสริมให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก เพิ่มทักษะในการแปรงฟันและการทำความสะอาดซอกฟันและควรไปพบทันตแพทย์เป็นประจำ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

1. ธิดา รัตนวิไลศักดิ์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการใช้บริการทันตกรรมของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์[วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสร้างเสริมสุขภาพ].กรุงเทพฯ:บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์;2554.

2. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สรุปผลที่สำคัญ ประชากรสูงอายุในประเทศไทยพ.ศ. 2554 [ออนไลน์] 2557 [อ้างเมื่อ 10 ตุลาคม 2557]. จาก: https://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/files/older_work.pdf

3. UnitedNations.World population ageing 2013 [online] 2014 [cited 2014 Sep 13]. Available from:
https://www.un.org/en/development/desa/population/publications/pdf/ageing/WorldPopulationAgeing2013.pdf

4. รัชฎา น้อยสมบัติ. สถานภาพในช่องปากและผลกระทบของสถานภาพในช่องปากต่อสมรรถภาพในชีวิตประจำวันของผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ เขตเทศบาลนครขอนแก่น [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาทันตสาธารณสุข]. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2545.

5. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2555.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก;2556.

6. Green LW, Kreuter, MW. Health promotion planning: An educational and environmental approach.3rd ed. Mountain View, CA: Mayfield Publishing;1999.

7. Adams C, Slack-Smith L, Larson A, O’Grady M. Dental visits in older Western Australians: a Comparisonof urban, rural and remote residents. Aust J Rural Health 2004 Aug;12(4):143–9.

8. De Oliveira TC, da Silva DA, Leite de Freitas YN, da Silva RL, Pegado CP de C, de Lima KC. Socio-
demographic factors and oral health conditions in the elderly: a population-based study. Arch Gerontol Geriatr 2013 Dec; 57(3): 389–97.

9. Jiang Y, Okoro CA, Oh J, Fuller DL. Sociodemographic and health-related risk factors associated with
tooth loss among adults in Rhode Island. Preventing Chronic Disease. 2013;10:E45–E45.

10. Musacchio E, Perissinotto E, Binotto P, Sartori L, Silva-Netto F, Zambon S, et al. Tooth loss in the elderlyand its association with nutritional status, socio-economic and lifestyle factors. ActaOdontolScand .2007;65(2):78–86.

11. Gonda T, MacEntee MI, Kiyak HA, Persson GR, Persson RE, Wyatt C. Predictors of multiple tooth loss Amongsocioculturally diverse elderly subjects. Int J Prosthodont 2013; 26(2): 127–34.

12. ปริญญา โตมานะและระวิวรรณ ศรีสุชาติ. ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุและปัจจัยเกื้อหนุนอื่นๆ. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย.2548;13(1): 28–37.

13. Chatrchaiwiwatana S. Factors affecting tooth loss among rural KhonKaen adults: analysis of two data
sets. Public Health 2007 Feb; 121(2): 106–12.

14. Hirotomi T, Yoshihara A, Ogawa H, Miyazaki H. Tooth-related risk factors for periodontal disease In
community-dwelling elderly people. J Clin Periodontol 2010; 37(6):494–500.

15. วิลาวัลย์ วีระอาชากุล. ปัจจัยบ่งชี้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุที่รากฟันในประชากรผู้สูงอายุจังหวัดขอนแก่น.ขอนแก่นเวชสาร.2550;31(3): 241–8.