วารสารภาษาและวรรณคดีไทย

       วารสารภาษาและวรรณคดีไทย เป็นวารสารวิชาการด้านมนุษยศาสตร์ของศูนย์วิจัยภาษาและวรรณคดีไทย ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกตีพิมพ์เผยแพร่มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านภาษาไทย วรรณคดีไทย วรรณกรรมไทย คติชนวิทยา รวมทั้งศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ภาษาศาสตร์ มานุษยวิทยา การเรียนการสอนภาษาไทย และภาษาต่างประเทศที่สัมพันธ์กับภาษาไทย

      วารสารภาษาและวรรณคดีไทย เป็นวารสารราย 6 เดือน เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ (ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม)  กองบรรณาธิการวารสารภาษาและวรรณคดีไทย ยินดีรับพิจารณาต้นฉบับผลงานวิชาการในศาสตร์สาขาดังกล่าวข้างต้น ที่เป็นบทความวิจัย บทความวิชาการ  บทความปริทัศน์ และบทปริทัศน์หนังสือ ซึ่งเขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ผลงานที่ส่งมาให้วารสารพิจารณาตีพิมพ์ต้องไม่เคยพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการฉบับใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น

      บทความที่ส่งมาให้วารสารพิจารณาตีพิมพ์ จะได้รับการกลั่นกรองคุณภาพแบบไม่เปิดเผยตัวตนสองทาง (double-blind peer review) โดยผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 คน ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขานั้นหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง ผลการพิจารณาจากกองบรรณาธิการถือเป็นที่สุด

    วารสารภาษาและวรรณคดีไทยไม่มีนโยบายเก็บค่าธรรมเนียมใด ๆ จากผู้เขียนบทความในทุกขั้นตอนของกระบวนการพิจารณาและตีพิมพ์เผยแพร่

      ผู้สนใจส่งบทความ โปรดส่งต้นฉบับบทความตามช่องทางและรูปแบบที่กำหนดไว้ในข้อแนะนำการส่งบทความ ซึ่งดูรายละเอียดได้ที่ท้ายเล่มวารสาร หรือเว็บไซต์ของวารสาร https://so04.tci-thaijo.org/index.php/THlanglit

      เนื้อหาและข้อคิดเห็นในบทความเป็นความคิดเห็นของผู้เขียน ไม่ถือเป็นความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

       ลิขสิทธิ์ของบทความเป็นของผู้เขียนและของคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนและกองบรรณาธิการวารสารภาษาและวรรณคดีไทยเป็นลายลักษณ์อักษร

 

มาตรฐานทางจริยธรรมของวารสารภาษาและวรรณคดีไทย

วารสารภาษาและวรรณคดีไทย มีมาตรฐานทางจริยธรรม​ในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงาน​ ดังนี้

  • บทบาทหน้าที่ของบรรณาธิการ(Editor)
  1. ประกาศแนวทางในการจัดเตรียมต้นฉบับบทความที่ผู้เขียนต้องปฏิบัติตามให้ผู้สนใจส่งบทความตีพิมพ์และสาธารณชนรับทราบ
  2. มีการตรวจสอบการคัดลอกผลงานวิชาการในบทความและการพิมพ์ซ้ำซ้อนในวารสารอื่น หากตรวจสอบพบการคัดลอกผลงานของผู้อื่น​หรือการพิมพ์ซ้ำซ้อน บรรณาธิการ​ต้องระงับกระบวนการประเมิน​คุณภาพ​ผลงาน และติดต่อขอคำชี้แจงจากผู้เขียนหลักทันที เพื่อนำมาพิจารณาตอบรับหรือปฏิเสธการตีพิมพ์​เผยแพร่​บทความนั้น
  3. ดำเนินการให้มีกระบวนการประเมินคุณภาพบทความที่เป็นธรรม ปราศจากอคติ และไม่ล่าช้า โดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขานั้น ๆ
  4. ต้องไม่เปิดเผยข้อมูลผู้เขียนและผู้ประเมินบทความแก่ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องในระยะเวลาที่การประเมินบทความยังดำเนินอยู่จนกว่าบทความได้รับการตีพิมพ์​เผยแพร่ และไม่เปิดเผยเนื้อหาหรือข้อมูลในบทความในระหว่างที่บทความนั้นยังไม่ได้รับการตีพิมพ์
  5. คัดเลือกบทความเพื่อมาตีพิมพ์ตามคุณภาพหลังจากผ่านกระบวนการ​ประเมินคุณภาพของบทความจากผู้ประเมินแล้ว บรรณาธิการ​ต้องไม่มีผลประโยชน์​ทับ​ซ้อน​กับผู้เขียน​และผู้ประเมินบทความ​ และ​ไม่รับตีพิมพ์บทความเพื่อผลประโยชน์ของผู้เขียนหรือวารสาร
  6. หากสงสัยว่าบทความมีการกระทำผิดจรรยาบรรณ ต้องตรวจสอบหาหลักฐานให้แน่ชัด และแจ้งให้ผู้เขียนชี้แจงก่อนปฏิเสธบทความนั้น
  7. ไม่เพิกเฉยเมื่อพบการประพฤติผิดจริยธรรมการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร และมีการถอดบทความที่พบว่าละเมิดหรือผิดจริยธรรมการวิจัย
  • บทบาทหน้าที่ของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ (Reviewer)
  1. ​ต้องไม่เปิดเผย​ข้อมูลในบทความ​ในระหว่างที่บทความนั้นยังไม่ได้รับการตีพิมพ์
  2. ประเมินบทความในสาขาวิชาที่มีความเชี่ยวชาญด้วยความเป็นกลาง และปราศจากอคติ
  3. หากมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนบทความที่ประเมิน เช่น​ เป็นผู้ร่วมโครงการ​ หรือรู้จักผู้เขียนเป็นการส่วนตัว​ หรือเหตุผลอื่น ๆ​ ที่ทำให้ไม่สามารถให้ข้อเสนอแนะ​อย่างอิสระได้ ​ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้กองบรรณาธิการทราบและปฏิเสธการประเมิน​บทความ​นั้น
  4. ส่งผลการประเมินตามกำหนดเวลา
  5. ​ต้องแจ้งให้บรรณาธิการ​ทราบหากพบว่าผู้เขียนบทความกระทำผิดจรรยาบรรณ เช่น ลอกเลียนผลงานวิชาการ ตีพิมพ์ซ้ำซ้อน บิดเบือนผลการวิจัย
  • บทบาทหน้าที่ของผู้เขียน (Author)
  1. ผลงานที่ส่งมาพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารต้องเป็นผลงานที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อนและไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการอื่น
  2. ไม่ลอกเลียนผลงานวิชาการทั้งของตนเองและผู้อื่น ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์​หรือสิทธิ​บัตรใด ๆ และอ้างอิงผลงานอย่างถูกต้องและครบถ้วน
  3. ต้องเขียนบทความวิจัยหรือบทความ​วิชาการ​ให้ถูกต้องตามรูปแบบที่วารสารกำหนด
  4. ไม่บิดเบือนข้อมูลหรือให้ข้อมูลเท็จในการรายงานผลการวิจัย
  5. ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยและระบุผลประโยชน์​ทับ​ซ้อน​ (หากมี)​
  6. หากมีผู้เขียนหลายคน ผู้เขียนทุกคนจะต้องเห็นชอบกับการส่งต้นฉบับบทความนั้นให้วารสารพิจารณาตีพิมพ์
  7. ผู้เขียนร่วมที่มีชื่อปรากฏในบทความจะต้องมีส่วนร่วมในการดำเนินการเขียนบทความจริง