มาตรฐานทางจริยธรรมของคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์

 หน้าที่และความรับผิดชอบของบรรณาธิการ

  • บรรณาธิการและบรรณาธิการประจำฉบับ  ควรต้องรับผิดชอบต่อทุกสิ่งที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร พยาบาลในความรับผิดชอบของตน ดังนี้:

    • ดำเนินการให้ตรงตามจุดประสงค์ของวารสารพยาบาล
    • ปรับปรุงคุณภาพวารสารให้ได้ตามมาตรฐานของวารสารวิชาการอย่างสม่ำเสมอ
    • คงไว้ซึ่งความถูกต้องของผลงานทางวิชาการ
    • เต็มใจที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดจากการตีพิมพ์

    หน้าที่ของบรรณาธิการต่อผู้อ่าน

    • ผู้อ่านจะทราบแหล่งของผู้ให้ทุนสนับสนุนงานวิจัยโดยการระบุที่เชิงอรรถในท้ายหน้าแรกของบทความ

     หน้าที่ของบรรณาธิการต่อผู้นิพนธ์

    • บรรณาธิการควรดำเนินการทุกอย่างเพื่อให้มั่นใจในคุณภาพของบทความที่ตีพิมพ์เพื่อรับรองคุณภาพของงานวิจัยที่ตีพิมพ์
    • การตัดสินใจของบรรณาธิการต่อการยอมรับหรือปฏิเสธบทความวิจัยเพื่อการตีพิมพ์ ควรขึ้นอยู่กับความสำคัญ ความใหม่ ความถูกต้องและความชัดเจนของบทความวิจัย ภายในขอบเขตของวารสาร และการปฏิบัติตามจรรยาบรรณของนักวิจัย
    • ควรให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบประเมินบทความ (peer review)
    • บรรณาธิการให้คำแนะนำแก่ผู้นิพนธ์ในทุกประเด็นที่บรรณาธิการคาดหวัง และในทุกเรื่องที่ผู้นิพนธ์ควรรับทราบ

    หน้าที่ของบรรณาธิการต่อผู้พิชญพิจารณ์   (Peer  Reviewer)

    • บรรณาธิการควรจัดพิมพ์คำแนะนำแก่ผู้พิชญพิจารณ์ในทุกประเด็นที่บรรณาธิการคาดหวัง และควรมีการปรับปรุงคำแนะนำให้ทันสมัยอยู่เสมอ
    • บรรณาธิการจะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของผู้พิชญพิจารณ์

    สนับสนุนความถูกต้องทางวิชาการ

    • บรรณาธิการควรทำให้เกิดความมั่นใจว่ารายละเอียดทุกส่วนในบทความวิจัยที่มีการตีพิมพ์ในวารสาร ต้องเป็นไปตามหลักจริยธรรมสากลที่ได้รับการยอมรับ
    • งานวิจัยทุกชิ้นที่จะตีพิมพ์ต้องได้รับการอนุมัติและเห็นชอบโดยคณะบุคคลที่มีอำนาจ (เช่น คณะกรรมการทางจริยธรรมด้านงานวิจัย คณะกรรมการพิจารณาบทความวิจัยของสถาบัน เป็นต้น)โดยระบุเลขที่หนังสือที่ได้รับการอนุมัติไว้ในการพิทักษ์สิทธิ์ของกลุ่มตัวอย่าง

    การรับรองความถูกต้องของผลงานทางวิชาการ

    • เมื่อมีการรับรู้ว่ามีความไม่ถูกต้องเกิดขึ้นกับบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ไปแล้ว รวมถึงมีประโยคที่นำไปสู่ความเข้าใจผิด หรือเป็นรายงานที่บิดเบือนข้อเท็จจริง บรรณาธิการต้องแก้ไขทันทีและด้วยความชัดเจน

     การร้องเรียน

    • หากมีผู้ร้องเรียนเกี่ยวกับจริยธรรมการทำวิจัย จรรยาบรรณของนักวิจัยหรือผู้แต่ง  และจริยธรรมในการตีพิมพ์  ให้ยื่นเรื่องร้องเรียนเป็นลายลักษณ์อักษรไปยังบรรณาธิการเพื่อได้ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่อไป

    ปรับจาก https://www.publicationethics.org/files/2008%20Code%20of%20Conduct.pdf   ของ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journal Citation Index Centre)