ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความจำต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ด้านความจำในผู้สูงอายุ

Authors

  • ตระการกุล ฉัตรวงศ์วิวัฒน์
  • วิภาวี คงอินทร์
  • เพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์

Keywords:

ผู้สูงอายุ, สมรรถนะแห่งตนด้านความจำ, โปรแกรมส่งเสริมความจำ, elderly, Memory self-efficacy, memory-promoting program

Abstract

วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมความจำต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนด้านความจำในผู้สูงอายุการออกแบบวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลองการดำเนินการวิจัย: คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจากศูนย์ส่งเสริมสุขภาพและฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 50 ราย เครื่องมือดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมการส่งเสริมความจำของเวสต์แบคเวลล์และดากค์-ฟรอยแมน ซึ่งพัฒนามาจากทฤษฎีสมรรถนะแห่งตนของแบนดูรา (1997) 2) สื่อนำเสนอภาพนิ่ง และ 3) เอกสารประกอบการสอน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามสมรรถนะแห่งตนด้านความจำ และแบบสอบถามสติปัญญาเกี่ยวกับความจำ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติ Mann-Whitney U Test, Wilcoxon Signed Ranks test, independent t-test, and pairedt-testผลการวิจัย: กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยลำดับที่ของคะแนนสมรรถนะแห่งตนด้านความจำหลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในสัปดาห์ที่ 5 และ 9 (p = .04, p = .04,ตามลำดับ)แต่ค่าเฉลี่ยของคะแนนสติปัญญาเกี่ยวกับความจำ 3 หมวดย่อยของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน (p> .05)

ข้อเสนอแนะ: โปรแกรมการส่งเสริมความจำที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาการรับรู้สมรรถนะแห่งตนด้านความจำในผู้สูงอายุได้

คำสำคัญ : ผู้สูงอายุ สมรรถนะแห่งตนด้านความจำ โปรแกรมส่งเสริมความจำ

Downloads

How to Cite

1.
ฉัตรวงศ์วิวัฒน์ ต, คงอินทร์ ว, ฐานิวัฒนานนท์ เ. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความจำต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ด้านความจำในผู้สูงอายุ. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2013 Sep. 30 [cited 2024 Apr. 17];28(2):98-108. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/11647