ความสัมพันธ์ระหว่างอายุ ความรู้สึกเป็นภาระในการดูแล กับอาการซึมเศร้าในปู่ย่าตายายที่ดูแลหลาน

Authors

  • ดวงหทัย ยอดทอง
  • อัจฉราพร สี่หิรัญวงศ์
  • วรรณา คงสุริยะนาวิน
  • อทิตยา พรชัยเกตุ โอว ยอง

Keywords:

อาการซึมเศร้า ปู่ย่าตายายที่ดูแลหลาน ความรู้สึกเป็นภาระในการดูแล depressive symptoms, grandparents caring for grandchildren, caregiving burden

Abstract

บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์การวิจัย:เพื่อศึกษาอาการซึมเศร้า และความสัมพันธ์ระหว่างอายุ ความรู้สึกเป็นภาระในการดูแลกับอาการซึมเศร้า ของปู่ย่าตายาย ที่ดูแลหลาน

การออกแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงบรรยาย

วิธีการดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นปู่ย่าตายาย ที่เป็นผู้ดูแลหลัก ในการดูแลหลานอายุระหว่าง 0-5 ปีในจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 100 ราย เก็บข้อมูลระหว่างเดือน เมษายน – มิถุนายนพ.ศ.2555 โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการตอบสนองของผู้ดูแล และแบบทดสอบภาวะซึมเศร้า เก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างมีอาการซึมเศร้า ร้อยละ 33  อายุ มีความสัมพันธ์กับอาการซึมเศร้าของปู่ย่าตายายที่ดูแลหลานอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .041, p =.685) ความรู้สึกเป็นภาระในการดูแลด้านความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองมีความสัมพันธ์ทางลบกับอาการซึมเศร้าในปู่ย่าตายายที่ดูแลหลานในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.237, p<.05) ส่วนความรู้สึกเป็นภาระในการดูแลด้านการขาดการสนับสนุนจากครอบครัว ด้านผลกระทบต่อการเงินด้านผลกระทบต่อกิจวัตรประจำวัน และด้านผลกระทบต่อสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับอาการซึมเศร้าในปู่ย่าตายายที่ดูแลหลานในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .459, p< .001; r = .427, p< .001; r = .299, p< .01 และ r = .352, p< .001 ตามลำดับ)

ข้อเสนอแนะ : ควรคัดกรองอาการซึมเศร้าในปู่ย่าตายายที่เป็นผู้ดูแลหลักในการดูแลหลานอายุระหว่าง 0 -5 ปีและพัฒนาโปรแกรมเพิ่มการสนับสนุนช่วยเหลือจากครอบครัว ชุมชน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง

Abstract: Objectives: To investigate depressive symptoms and relationship between age and caregiving burden and depressive symptoms of grandparents caring for grandchildren.

Design: Descriptive correlation research.

Implementation: Subjects were 100 grandparents who were primary caregivers caring for their very young grandchildren in the age range of 0 – 5 years old in Petchaburi Province. Data were collected using the Center for Epidemiologic Studies Depression Scale (CES-D) and the Caregiver Reaction Assessment (CRA).

Results: The results showed that one-third (33 %) of the participants had depressive symptoms. There was no significant relationship between age and depressive symptoms of grandparents caring for grandchildren (r = .041, p = .685). There was a small, significant negative relationship between caregiving burden, in terms of self-esteem, and depressive symptoms (r = -.237, p < .05). There were significantly positive relationships between caregiving burden in terms of lacking family support, financial impact, impact on schedule, and health impact, and  depressive symptoms    (r = .459, p < .001; r = .427, p<.001; r = .299, p<.01; r = .352, p<.001,respectively).

Recommendations: There should be a screening for depressive symptoms in grandparents who are the primary caregivers of grandchildren age 0 – 5 years old. A program should also be developed to promote support from their families, communities, and relevant agencies.

Downloads

How to Cite

1.
ยอดทอง ด, สี่หิรัญวงศ์ อ, คงสุริยะนาวิน ว, พรชัยเกตุ โอว ยอง อ. ความสัมพันธ์ระหว่างอายุ ความรู้สึกเป็นภาระในการดูแล กับอาการซึมเศร้าในปู่ย่าตายายที่ดูแลหลาน. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2014 Mar. 31 [cited 2024 Apr. 18];29(1):108-21. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/18625