บทบาทสำคัญของพยาบาลในห้องคลอด : การประเมินสภาวะสุขภาพทารกแรกเกิด

Authors

  • ยุวดี วัฒนานนท์

Abstract

บทบาทที่สำคัญอีกบทบาทหนึ่งของพยาบาลในหน่วยห้องคลอด คือ การประเมินสุขภาพทารกแรกเกิด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาพทั่วไปของทารก การบาดเจ็บของทารกที่มีสาเหตุจากการคลอด ความสามารถในการปรับตัวของทารกแรกเกิดต่อสิ่งแวดล้อมภายนอกมดลูกและความผิดปกติแต่กำเนิดตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า ทั้งนี้เพื่อจะให้การช่วยเหลือทารกตั้งแต่แรกคลอดได้อย่างทันท่วงที อันจะช่วยลดความรุนแรงของปัญหา และทารกได้รับความปลอดภัย พยาบาลผู้ตรวจต้องมีความรู้เกี่ยวกับสภาวะสุขภาพที่เป็นปกติของทารกเสียก่อน จึงจะสามารถวินิจฉัยได้ว่า ทารกคนใดมีความผิดปกติเกิดขึ้น นอกจากนั้นพยาบาลจะต้องมีการฝึกฝนให้เกิดทักษะในการตรวจร่างกายทารกแรกเกิดด้วย การตรวจร่างกายทารกแรกเกิด ต้องตรวจใน 2 ขั้นตอนโดยขั้นแรกพยาบาลผู้ตรวจจะประเมินร่างกายทั่วไปของทารกแรกเกิดเสียก่อน โดยใช้ระบบ APGAR Score ลักษณะโดยทั่วไป สัญญาณชีพ และการเจริญเติบโตตามลำดับ หลังจากนั้นจึงตรวจร่างกายในแต่ละระบบโดยเริ่มตรวจจากศีรษะไปหาปลายเท้า  ได้แก่ผิวหนัง ศีรษะ อวัยวะบนใบหน้า ทรวงอก ปอด หัวใจ อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก แขนขา และหลังตามลำดับ การประเมินสภาพร่างกายทารกแรกเกิดขึ้น พยาบาลผู้ตรวจจะต้องอาศัยทั้งความรู้และทักษะต่างๆ ในการตรวจ จึงจะสามารถทำการประเมินได้อย่างครบถ้วนถูกต้อง ทารกจึงจะได้รับการพยาบาลที่ถูกต้องและเหมาะสม

คำสำคัญ : การประเมินสภาวะสุขภาพ,ทารกแรกเกิด,พยาบาลในห้องคลอด

Downloads

Published

2012-08-25

How to Cite

1.
วัฒนานนท์ ย. บทบาทสำคัญของพยาบาลในห้องคลอด : การประเมินสภาวะสุขภาพทารกแรกเกิด. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2012 Aug. 25 [cited 2024 Apr. 19];15(4):51. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2316