การรับรู้ภาวะสุขภาพในผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ และผู้มีสุขภาพดี

Authors

  • สุพร ดนัยดุษฎีกุล
  • อรพรรณ โตสิงห์
  • อติพร สำราญบัว
  • อรุณ นุรักษ์เข

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารับรู้ภาวะสุขภาพในผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ และผู้มีสุขภาพดี กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ 197 ราย ผู้พิการที่ได้รับการตัดแขนและหรือขา 85 ราย และพยาบาลวิชาชีพ 75 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากโรงพยาบาลของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร 6 แห่ง และศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ 2 แห่ง ในเขตปริมณฑล และจากพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลของรัฐและเอกชนทั่วไปประเทศ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามส่วนบุคคล และแบบสอบถามการรับรู้ภาวะสุขภาพ

ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (56.5%) มีอายุระหว่าง 17-78 ปี (X=40, S.D.=12.19) การศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาตอนต้นมากที่สุด (40.7%) และมีจำนวน มากถึง 30.4% ที่ไม่ได้ประกอบอาชีพ เมื่อเปรียบเทียบการรับรู้ภาวะสุขภาพโดยรวม และการรับรู้ สุขภาพด้านปราศจากอาการและอาการแสดงของความเจ็บป่วยระหว่างผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการและผู้มีสุขภาพดี  พบว่ามีความแตกต่างกันทั้งสามกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < .05) โดยที่การรับรู้ภาวะสุขภาพด้านการดำรงบทบาทหน้าที่ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างผู้พิการและผู้ป่วยเรื้อรัง ( P > .05) แต่แตกต่างกันระหว่าง ผู้มีสุขภาพดีกับผู้ป่วยเรื้อรัง (P < .05)

ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการที่จะส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเรื้อรังและผู้พิการนั้น สิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงคือภาวะสุขภาพด้านร่างกาย ด้วยเหตุผลที่ว่าเมื่อภาวะสุขภาพทางกายดีแล้วนั้น บุคคลจะสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม กลับไปดำรงบทบาทหน้าที่ในสังคมและจะนำไปสู่การดำรงความผาสุกในชีวิตได้ในที่สุด

คำสำคัญ : การรับรู้ภาวะสุขภาพ,ผู้ป่วยเรื้อรัง,ผู้พิการ,ผู้มีสุขภาพดี

Downloads

How to Cite

1.
ดนัยดุษฎีกุล ส, โตสิงห์ อ, สำราญบัว อ, นุรักษ์เข อ. การรับรู้ภาวะสุขภาพในผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ และผู้มีสุขภาพดี. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2012 Aug. 25 [cited 2024 Mar. 28];16(2):69. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2334