ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในองค์การของพยาบาลวิชาชีพกลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ

Authors

  • สุธิดา โตพันธานนท์
  • กัญญดา ประจุศิลปะ

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความมั่นใจในการคงอยู่ในองค์การของพยาบาลวิชาชีพกลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัย และศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในองค์การของพยาบาลวิชาชีพกลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัย ในโรงพยาบาลมหาวิทยาของรัฐ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพกลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัย จำนวน 356 คน โดยใช้วีการสุ่มแบบง่ายจากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ 7 แห่ง ที่มีประสบการณ์การทำงานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามระดับความมั่นใจการคงอยู่ในองค์การ และแบบสอบถามปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในองค์การ โดยให้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้รายงานตนเอง เครื่องมือผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และหาความเที่ยงโดยคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที และวิเคราะห์ ถดถอยโลจิสติค

ผลการวิจัยพบว่า ระดับความมั่นใจในการคงอยู่ในองค์การของพยาบาลวิชาชีพกลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัยโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ กลุ่มที่มีมากที่สุดคือ กลุ่มที่มีความมั่นใจในการคงอยู่ในองค์การระดับมากร้อยละ 42.98 รองลงมาคือกลุ่มที่มีความมั่นใจในการคงอยู่ในองค์การระดับปานกลางร้อยละ 35.39 และกลุ่มที่ไม่มีความมั่นใจในการคงอยู่ในองค์การร้อยละ 21.63 และพบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในองค์การของพยาบาลวิชาชีพกลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ วัฒนธรรมและค่านิยมองค์การ ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลในการส่งเสริมปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในองค์การของพยาบาลวิชาชีพกลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัย และธำรงรักษาบุคลากรให้คงอยู่ในองค์การเพิ่มมากขึ้น

คำสำคัญ : การคงอยู่ในองค์การพยาบาลวิชาชีพกลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ

Downloads

How to Cite

1.
โตพันธานนท์ ส, ประจุศิลปะ ก. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในองค์การของพยาบาลวิชาชีพกลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2012 Sep. 5 [cited 2024 Apr. 24];22(4):101. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2465