การเกิดแผลที่เท้าและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดแผลที่เท้าของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2

Authors

  • อำภาพร นามวงศ์พรหม
  • น้ำอ้อย ภักดีวงศ์

Abstract

การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ของการเกิดแผลที่เท้าและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดแผลที่เท้าของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เป็นเบาหวานที่มาใช้บริการแผนกผู้ป่วย โรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 4 แห่ง จำนวน 1,291 ราย  ประกอบด้วย ผู้ที่เคยมีแผลมาก่อน จำนวน 439 ราย และผู้ไม่เคยมีแผลมาก่อน จำนวน 852 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วยบุคคลและการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน แบบสัมภาษณ์ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและการปฏิบัติตัว แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการดูแลเท้า และแบบบันทึกการไหลเวียนของเลือดและการรับความรู้สึกของประสาทส่วนปลาย วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับการเกิดแผลที่เท้าโดยใช้สถิติไค-สแควร์

ผลการวิจัย พบว่า ผู้เป็นเบาหวานที่เคยเป็นแผลที่เท้าจำนวน 439 ราย ร้อยละ 58.8 เกิดแผลเมื่อเป็นเบาหวานในระยะ 5 ปีแรก ร้อยละ 57.2 เกิดแผลที่เท้าในรอบปีที่ผ่านมา ตำแหน่งที่เกิดแผลมากที่สุดคือนิ้วเท้าและง่ามนิ้วเท้า รองลงมาคือ หลังเท้าและฝ่าเท้าตามลำดับ สาเหตุของการเกิดแผลที่เท้า 3 อันดับแรกได้แก่ อุบัติเหตุ พุพองเองและเล็บขบ วิธีการดูแลแผลที่ผู้เป็นเบาหวานทำมากที่สุด 3 อันดับแรก คือทำแผลเองไปโรงพยาบาลทันที และปล่อยให้แผลหายเอง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดแผลที่เท้าอย่างมีนัยสำคัญได้แก่ภาวะโภชนาการ (p =.014) การสูบบุหรี่ (p=.010) ลักษณะและสภาพเท้า ( p =.010)

ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้เป็นเบาหวานทุกรายควรได้รับการตรวจเท้าเป็นประจำ อย่างน้อยปีละครั้งและควรมีการประเมินปัจจัยเสี่ยงและให้คำแนะนำเพื่อป้องกันการเกิดแผลที่เท้าให้เหมาะสมกับบริบทและวิถีชีวิตของผู้ป่วยแต่ละราย

คำสำคัญ : การเกิดแผลที่เท้า ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2

Downloads

Published

2012-09-11

How to Cite

1.
นามวงศ์พรหม อ, ภักดีวงศ์ น. การเกิดแผลที่เท้าและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดแผลที่เท้าของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2012 Sep. 11 [cited 2024 Mar. 29];25(3):51. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2622